วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มือใหม่วิจัย 5 บท

แนวทางสู่การเขียนรายงานการวิจัย

ข้อควรปฏิบัติ และรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนหัวข้อและองค์ประกอบในการจัดทำรายงานการวิจัย
1. การกำหนดองค์ประกอบเบื้องต้น
1.1 การกำหนดขอบเขตหน้ากระดาษ (ขอบเขตสำหรับใช้ในการพิมพ์งาน)
1.1.1 ด้านบน 1.5 นิ้ว หรือ 3.17 เซนติเมตร
1.1.2 ด้านซ้าย 1.5 นิ้ว หรือ 3.17 เซนติเมตร
1.1.3 ด้านขวา 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
1.1.4 ด้านล่าง 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร
1.2 รูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ผลงานวิชาการ คือ แบบอักษรใช้ “อังสนา” สำหรับหัวข้อหลัก ชื่อบท ใช้ขนาด “18 ตัวหนา” ข้อความสำคัญ ใช้ขนาด “16 ตัวหนา” ข้อความทั่วไปใช้ขนาด “16 ตัวปกติ”
1.3 การกั้นหน้า กั้นหลัง เป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการ โดยที่เมนูบาร์เลือก “ลักษณะและการจัดรูปแบบ” เลือก “กระจาย”
1.4 การจัดความสมดุลของตัวอักษร ทำได้โดยการกำหนดขอบเขตพื้นที่การทำงานแล้วใช้คำสั่งที่เมนูบาร์ เลือก “รูปแบบ” เลือก “แบบอักษร” เลือก “ระยะห่างตัวอักษร” เลือกคำสั่งตามความต้องการ เช่น บีบ ขยาย ปกติ โปรแกรมจะจัดความสมดุลของระยะห่างระหว่างตัวอักษรที่เป็นผลทำให้การเว้นวรรคไม่กว้างหรือแคบเกินไปโดยอัตโนมัติ
1.5 การจัดรูปคำให้เหมาะสมและไม่ให้คำแยกออกจากกันซึ่งอาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ให้กำหนดขอบเขตที่จะจัดทำการบีบหรือขยาย ให้ใช้คำสั่ง “รูปแบบ” บนเมนูบาร์ ใช้ “แบบอักษร” ใช้ระยะห่างตัวอักขระ แล้วกำหนดระยะห่าง ด้วยการบีบหรือขยายตามความต้องการ ในกรณีเกิดคำแยกให้อยู่ในดุลยพินิจว่าจะขยายให้ขึ้นบรรทัดใหม่ หรือ บีบให้ขึ้นไปอยู่บรรทัดเดียวกัน (ต้องศึกษาระบบการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ)
1.6 การเขียนปกนอก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.6.1 ส่วนที่ 1 หัวข้อเรื่องรายงานการวิจัย
1.6.2 ส่วนที่ 2 ชื่อผู้วิจัย (ไม่ต้องมีคำนำหน้านาม)
1.6.3 ส่วนที่ 3 ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
ทั้ง 3 ส่วน จัดให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง รูปแบบและขนาดตัวอักษรใช้ “อังสนา ขนาด 18 ตัวหนา” ดังตัวอย่าง









ส่วนที่ 1 ชื่อเรื่อง
รายงานการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่สื่อ






ส่วนที่ 2 ชื่อผู้รายงาน.............................................(ไม่ใส่คำนำหน้านาม)





ส่วนที่ 3 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่นี้ เป็นส่วนหนึ่งในการเสนอขอรับการประเมินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ........................สาขาวิชา.............
กลุ่มสาระการเรียนรู้................ โรงเรียน...........................................
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา...................... เขต.....
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
25...
ISBN..........(ถ้ามี)
ลิขสิทธิ์ของ................................(ถ้ามี)

รายงานการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่
สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สำหรับจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง
หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี





ธนาคาร แพทย์วงษ์




รายงานการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่นี้ เป็นส่วนหนึ่งในการเสนอขอรับการประเมิน
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ สาขาวิชาดนตรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2549
ISBN 339-339-339-9
ลิขสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
1.7 กระดาษรองปกหน้า รองปกหลัง เป็นกระดาษเปล่า
1.8 ปกใน เขียนเช่นเดียวกับปกนอก
1.9 คณะที่ปรึกษา (ถ้ามี)
1.10 คณะกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี)
1.11 บทคัดย่อภาษาไทย (ถ้ามี)
1.12 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
1.13 คำนิยม (ถ้ามี)
1.14 คำนำ (วิทยานิพนธ์ใช้กิตติกรรมประกาศ) ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน 3 ย่อหน้า ซึ่งจะกล่าวถึง เหตุแห่งการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการขอบคุณผู้เกี่ยวข้อง
1.15 สารบัญ
1.16 สารบัญตาราง (ถ้ามี)
1.17 สารบัญภาพ (ถ้ามี)
1.18 สารบัญแผนภาพ (ถ้ามี)
1.19 สารบัญแผนภูมิ (ถ้ามี)
1.20 บทที่ 1 บทนำ
1.21 บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ในในการวิจัย
1.22 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1.23 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1.24 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
1.25 บรรณานุกรม
1.26 ภาคผนวก
1.27 ประวัติผู้วิจัย
2. การกำหนดตำแหน่งการพิมพ์ และการกำหนดหน้าเอกสาร
2.1 การกำหนดตำแหน่งการพิมพ์ ตั้งแต่หัวข้อที่ 1.13 ถึงข้อที่ 1.27
2.1.1 การวางตำแหน่ง “หัวข้อหลัก” คือ คำนำ สารบัญ คำนิยม บทที่ ประวัติผู้วิจัย ให้เว้นวรรคจากพื้นที่ขอบที่กำหนด 1 บรรทัด บรรณานุกรม และภาคผนวก ควรวางตำแหน่งให้อยู่ตำแหน่งศูนย์กลางของหน้ากระดาษ
2.1.2 “ชื่อบท” เช่น บทนำ แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ให้เว้นบรรทัดจากบทที่ 1 บรรทัด
2.1.3 “หัวข้อสำคัญ” ให้เว้นบรรทัดจากชื่อบท 1 บรรทัด
2.1.4 ข้อความอื่นๆที่ต่อจาก “หัวข้อสำคัญ” ไม่ต้องเว้นบรรทัด

ตัวอย่าง บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาของปัญหา
จากการ.........................................................................................



2.2 การกำหนดเครื่องหมายกำกับหน้าเอกสารใช้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์อื่นที่เหมาะสมและเป็นที่นิยม เช่น ก ข ค ง หรือ จ เป็นต้น สำหรับหน้าเอกสารตั้งแต่ข้อที่ 1.9 ถึงข้อที่ 1.17 และ ใช้ตัวเลขสำหรับบทที่ 1 – 5 บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้วิจัย
2.3 การใส่สัญลักษณ์หรือตัวเลขในหน้าเอกสารที่มีมากกว่า 1 หน้า เช่น คำนิยม สารบัญต่างๆ บทที่ บรรณานุกรม ภาคผนวก หน้าแรกไม่ต้องใส่สัญลักษณ์หรือตัวเลขกำกับหน้า แต่ต้องมีกำหนดในหน้าสารบัญ
2.4 การใส่สัญลักษณ์หรือตัวเลขในหน้าเอกสารที่มีหน้าเดียว ในเอกสารแต่ละประเภทไม่ต้องเขียนสัญลักษณ์หรือหมายเลขกำกับหน้า เช่น คำนำ ประวัติผู้วิจัย ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าเดียว เป็นต้น
3. การกำหนดสัญลักษณ์และหมายเลขกำกับหน้าในหน้าสารบัญ ตั้งแต่ข้อที่ 1.9 ถึงข้อที่ 1.27 ต้องกำหนดสัญลักษณ์หรือหมายเลขหน้าให้ชัดเจน หากมีหัวข้อ9 – 12 ไม่ต้องกำหนดในหน้าสารบัญ และไม่ต้องกำหนดในหน้าชิ้นงาน แต่ให้นับเริ่มตั้งแต่คณะที่ปรึกษาเป็นหน้า ก คณะกรรมการตรวจสอบ หน้า ข บทคัดย่อภาษาไทย หน้า ค บทคัดย่อภาษาอังกฤษ หน้า ง ดังนั้น คำนิยม จึงเริ่มต้นด้วย หน้า จ และ ฉ ซึ่งหน้าต่างๆที่กล่าวมาจะไม่ปรากฏในสารบัญ และหน้าชิ้นงาน ดังนั้นในหน้าสารบัญจึงเริ่มด้วย คำนำ หน้า ช สารบัญ หน้า ซ ดังตัวอย่าง




สารบัญ

หน้า
คำนำ..................................................................................................... ช
สารบัญ................................................................................................. ซ
สารบัญตาราง....................................................................................... ฌ
สารบัญภาพ.......................................................................................... ญ
บทที่ 1 บทนำ....................................................................................... 1
1.1 ที่มาของปัญหา....................................................................
1.2 ............................................................................................
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ในในการ.................................................. 1
5
20
คำชี้แจง เพื่อความเข้าใจในการเขียนสัญลักษณ์หรือหมายเลขกำกับหน้า ดังนี้
1. ตั้งแต่หัวข้อคณะที่ปรึกษา หน้า ก ถึง คำนิยม หน้า ฉ ไม่ต้องใส่ ตัวอักษรในหน้าสารบัญ และอักษรกำกับหน้า
2. คำนำ หน้า ช ใส่หน้าสารบัญ แต่ไม่ต้องใส่ ช กำกับหน้า
3. สารบัญ หน้า ซ ใส่หน้าสารบัญ แต่ไม่ต้องใส่ ซ กำกับหน้า
4. สารบัญตาราง หน้า ฌ ใส่หน้าสารบัญ แต่ไม่ต้องใส่ ฌ กำกับหน้า
5. สารบัญภาพ หน้า ญ ใส่หน้าสารบัญ แต่ไม่ต้องใส่ ญ กำกับหน้า
6. การกำหนดหน้าของบทที่ และหัวข้อสำคัญในหน้าสารบัญ
เขียนบทที่ 1 บทนำต้องกำหนดหมายเลขกำกับหน้าด้วย คือ หมายเลข 1 เรื่องต่อมา คือ 1.1 ที่มาของปัญหาให้สังเกตว่าต้องวางข้อความให้ตรงกับคำบทนำ และข้ออื่นๆให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน บทที่ 2 ต้องกำหนดให้ตรงกับ บทที่ 1 ส่วนข้อย่อยให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ข้อสังเกตในการเขียนหมายเลขหน้าต้องคำนึงถึงความถูกต้องในหลักการเขียนตัวเลขทางคณิตศาสตร์โดยยึดหลักหน่วย หลักสิบ หรือหลักร้อยในการเขียนเป็นสำคัญ นอกจากเป็นการปฏิบัติถูกต้องแล้วยังเกิดความเรียบร้อยและสวยงามอีกด้วย
2. รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย
2.1 การกำหนดหัวข้อการวิจัย กรณีตัวอย่างเป็นการวิจัยการใช้สื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในหัวข้อ “รายงานการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่ สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี”
2.2 องค์ประกอบในรายงานการวิจัย ประกอบด้วย
1. บทที่ 1 บทนำ
2. บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
3. บทที่ 3 การดำเนินการวิจัย
4. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
5. บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
รายละเอียดของเนื้อหาทั้ง 5 บท ประกอบด้วย
1. บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความสำคัญและที่มาของการวิจัย สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
**การเขียนความสำคัญและที่มาของการวิจัย คือ การกล่าวถึงสาเหตุที่เกิดปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหา โดยต้องเขียนให้ชัดเจนตรงประเด็นที่จะเขียน และให้เกิดแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้อื่นสนใจในวิธีการของเรา**
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
**การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต้องเขียนให้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหัวข้อการวิจัย ในที่นี้ได้กำหนดเป็น 3 หัวข้อ คือ**
1.2.1 เพื่อจัดทำสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้สาระด้านความรู้ สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
1.2.2 เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
1.2.3 เพื่อเผยแพร่ให้โรงเรียนต่างๆได้ใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ และเกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้
1.3 สมมติฐานของการวิจัย
**การเขียนสมมติฐานของการวิจัยต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และมีจำนวนข้อเท่ากัน ดังนี้**
1.3.1 มีสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้สาระด้านทฤษฎี ในการจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
1.3.2 สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง ที่เรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.3.3 ครูจากโรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่และใช้สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความพึงพอใจจากการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้
1.4 นิยามศัพท์ในการศึกษา
**การเขียนนิยามศัพท์ทางการศึกษา คือ การกำหนดขอบเขตในการให้ความหมายคำศัพท์ที่สำคัญเพื่อทำความเข้าใจหรือเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ทำวิจัยกับผู้ศึกษางานวิจัย**
1.4.1 สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ทางดนตรีโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้สาระความรู้มีขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนรู้จนถึงขั้นตอนการวัดและประเมินผล ส่วนการเรียนรู้ด้านทฤษฎีและเทคนิคการปฏิบัติเครื่องดนตรีจะดำเนินการไปพร้อมๆกันโดยมีครูเป็นผู้สังเกตการณ์ปฏิบัติ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อเกิดองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสื่อการเรียนรู้
1.4.2 สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง หมายถึง สาระที่โรงเรียนกำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา นอกเหนือจากสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ ที่เน้นการเรียนรู้ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลตามความถนัดของนักเรียน
1.4.3 นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 หมายถึง นักเรียนที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ กำหนดแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้นๆละ 3 ปี นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 คือ ปีแรกของระดับช่วงชั้น เปรียบเทียบได้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)
1.4.4 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ตั้ง ถนนบันไดอิฐ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
1.5 ขอบเขตของการศึกษา โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1.5.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่เลือกเรียนสาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง ช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 คน โดยไม่มีการสุ่ม
1.5.2 ครูผู้จัดการเรียนรู้ จาก 30 โรงเรียนที่ใช้สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.6 วิธีการจัดทำสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (อธิบายให้ผู้ศึกษาได้รู้วิธีการจัดทำโดยสังเขป)
1.7 ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนสาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง ใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง เนื้อหาประกอบด้วย
1.7.1 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (String Instruments)
1.7.2 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)
1.7.3 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง (Brass Instruments)
1.7.4 เครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
1.7.5 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ (Percussion Instruments)
1.8 ตัวแปรที่ศึกษา
1.8.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สื่อเทคโนโลยี ประกอบการเรียนรู้สาระด้านความรู้
1.8.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ และความคิดเห็นของครูผู้จัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยที่ 3 เครื่องดนตรีสื่อเสนาะเพราะเสียงเพลง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
2. บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
**แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัย คือ การเขียนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัย โดยการเขียนควรอ้างอิงข้อมูลที่นักการศึกษาได้เขียนไว้ หลักการ คือ “นำเสนอความรู้ที่ตนเองมี อ้างอิงผู้รู้เพื่อสนับสนุนข้อมูลของผู้วิจัยให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่”**ดังนั้นข้อมูลในบทที่ 2 จึงประกอบด้วย



2.1 สื่อเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ
2.1.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน **การให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อธิบายกระบวนการจัดทำ การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน**
2.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งด้านความรู้ การปฏิบัติ และความพึงพอใจ **อธิบายความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ และอธิบายในความหมายของความพึงพอใจ**
2.1.3 รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของไทยและต่างประเทศ **การอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งสามารถอ้างอิงได้ในหลายๆสาระโดยเขียนให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน**
2.1.4 สรุปแนวคิดและทฤษฎีว่าสนับสนุนการทำวิจัยได้อย่างไร**การสรุปถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่แสดงให้เห็นถึงภูมิความรู้ในตัวเราว่ามีมากน้อยเพียงใด และที่สำคัญ คือ ไม่ควรอ้างอิงที่ไม่มีข้อสรุปโดยเด็ดขาดเพราะจะแสดงให้เห็นว่า “เรากำลังตัดแปะงานวิจัย” ซึ่งไม่เป็นผลดีการผู้วิจัยอย่างแน่นอน**
2.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย ประกอบด้วย
2.2.1 หลักการและแนวคิดในการสร้างสื่อ
2.2.1.1 หลักการออกแบบ
2.2.1.2 กระบวนการออกแบบ
2.2.1.3 การสร้างบทเรียน
2.2.1.4 ขั้นตอนการจัดทำ
2.2.1.5 ขั้นตอนการใช้
2.2.1.6 ขั้นตอนการเผยแพร่
2.2.2 กรอบแนวคิดในสื่อว่ามีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างไร
3. บทที่ 3 การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย
3.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3.2 ขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยละเอียด ดังนี้
3.2.1 ขั้นตอนการศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้
3.2.2 การกำหนดขั้นตอนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
3.2.3 การสร้างเครื่องมือ (บอกวิธีการสร้างและหาประสิทธิภาพอย่างไร ได้ค่าประสิทธิภาพเท่าไร ส่วนวิธีการให้ใส่ไว้ในภาคผนวก) ประกอบด้วย
3.2.3.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3.2.3.2 สื่อการเรียนรู้
3.2.3.3 แบบทดสอบ
3.2.3.4 แบบสอบถาม
3.3.4 การทดลอง ได้ดำเนินการอย่างไรซึ่งประกอบด้วย
3.3.4.1 กลุ่มตัวอย่าง เป็นใครกี่คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมกี่คนกลุ่มทดลองกี่คน และใช้วิธีการคัดเลือกอย่างไร
3.3.4.2 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำอย่างไรอธิบายโดยละเอียด
3.3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการทดลอง (วัดทั้ง 3 ข้อตามวัตถุประสงค์) ประกอบด้วย
3.3.5.1 วิธีการการหาประสิทธิภาพสื่อ (E1/E2) โดยใช้เกณฑ์ 80/80 พร้อมทั้งอธิบายความหมายให้ชัดเจน
3.3.5.2 วิธีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ โดยกำหนดการใช้สถิติให้ชัดเจน
3.3.5.3 วิธีการศึกษาผลความพึงพอใจ กำหนดให้ชัดเจนว่าทำอย่างไร
4 บทที่ 4 ผลการวิจัย ประกอบด้วย
4.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำเสนอเป็น 3 ตอน ตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ ซึ่งประกอบด้วย
4.2.1.1 การหาประสิทธิภาพสื่อ (E1/E2)
4.2.1.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
4.2.1.3 การศึกษาผลความพึงพอใจ
5 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5.2 ขั้นตอนการจัดทำสื่อ
5.3 สรุปผลการวิจัย ประกอบด้วย
5.3.1 การหาประสิทธิภาพสื่อ (E1/E2)
5.3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
5.3.3 การศึกษาผลความพึงพอใจ
5.3.4 อภิปรายผล โดยการนำผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องตามสมมติฐานของการวิจัยที่กำหนดไว้ และสนองแนวคิดของนักการศึกษาอย่างไร
5.3.5 ข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอวิธีการนำไปใช้และวิธีการแก้ไขในกรณีที่อาจพบปัญหาในระหว่างการใช้สื่อ หรือการให้ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ครั้งต่อไป หรือการแนะนำให้ทำการวิจัยเพิ่มขึ้นที่นอกเหนือจากการวิจัยในครั้งนี้
บรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม คือ การอ้างอิงแหล่งความรู้ที่นำมาใช้ประกอบในการวิจัย ซึ่งมีมากมายหลายลักษณะในการเขียนให้ยึดหลักการเขียนของสถาบันใดๆก็ได้ที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการตามความสนใจของผู้วิจัย แต่ที่สำคัญ คือ ต้องให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทั้งหมด
ภาคผนวก
การลงรายการในภาคผนวกถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ โดยนำหลักฐานและวิธีการหาค่าทางสถิติต่างๆที่เกิดจากการทำวิจัยมาเขียนนำเสนอไว้ในส่วนนี้ทั้งหมด
เมื่อศึกษาจนเกิดความเข้าใจข้อควรปฏิบัติ และรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยที่ผ่านมาแล้วในเบื้องต้นก็คงได้แนวทางและมีความสามารถที่จะเป็น “มือใหม่วิจัย 5 บท” ได้ไม่ยากและหลังจากการเขียนเสร็จสิ้นจนถึงประวัติผู้วิจัยแล้วก็จะได้รายงานการวิจัย 1 เล่ม เพื่อนำส่งให้ กคศ. พิจารณาให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามความมุ่งหวัง ต่อไป
ข้อตกลงเบื้องต้น
1. การเขียนรายงานการวิจัยต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้
2. สามารถไปใช้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ตั้งแต่หน้าที่ 20 ถึงหน้า 131 คือ เนื้อหาที่ต้องดำเนินการจัดทำ ประกอบด้วย บทที่ 1 ถึงบทที่ 5 บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้วิจัย ให้ใส่ข้อมูลตามเนื้อหาที่ต้องการเติมลงใน...ที่เว้นไว้
4. สูตรหาค่าทางสถิติได้กำหนดมาให้ที่สามารถเติมข้อมูลลงไป แล้วคิดหาค่าตามที่กำหนดในแต่ละสูตร
5. เมื่อเสร็จสิ้นการเขียนจะได้รายงานการวิจัย หรือรายงานการจัดทำ... หรือ รายงานการศึกษา... หรือ รายงานผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน...และอีกหลายๆชื่อ จำนวน 1 เล่ม รวมกับนวัตกรรมต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ก็สามารถส่งเป็นผลงานได้เลย
6. เมื่อพร้อมก็เริ่มจรดปากกา หรือคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่ต้องไม่ลืมในการตั้งค่าหน้ากระดาษและวิธีการต่างๆที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น



บทที่ 1

บทนำ

1. ความสำคัญและที่มาของการวิจัยสื่อ...(อะไร) สาเหตุของปัญหา...(คืออะไร) แนวทางการแก้ปัญหา...(ทำอย่างไร)
**ในหัวข้อนี้ต้องเขียนให้ชัดเจนและให้เกิดแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้อื่นสนใจในวิธีการของเรา หากมีการอ้างอิงประกอบจะทำให้ข้อมูลที่อ้างมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ดูแบบการอ้างอิงในบทที่ 2
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ต้องเขียนให้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหัวข้อการวิจัย ในที่นี้ได้กำหนดเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้)
2.1 เพื่อจัดทำสื่อ...(อะไร) สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้สาระ...(พื้นฐาน หรือเพิ่มเติม) หน่วยที่...(เท่าไร ชื่อหน่วยอะไร) เรื่อง...(ชื่อเรื่อง) ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่ ...โรงเรียน...(ต้องระบุให้ชัดเจน)
2.2 เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่... ปีที่...โรงเรียน...
2.3 เพื่อเผยแพร่ให้โรงเรียนต่างๆได้ใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ และเกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้
3. สมมติฐานของการวิจัย (การเขียนสมมติฐานของการวิจัยต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และให้มีจำนวนข้อเท่ากับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้)
3.1 มีสื่อ...เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้สาระ...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...โรงเรียน...
3.2 สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...ที่เรียนรู้ด้วยสื่อ...
3.3 ครูจากโรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่และใช้สื่อ...มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...ที่เรียนรู้ด้วยสื่อ...
4. นิยามศัพท์ในการวิจัย(มาจากหัวข้อของการวิจัยที่ครอบคลุมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยรวมไปถึงสมมติฐานของการวิจัย ถ้าลืมให้พลิกกลับไปดูตัวอย่างที่ให้ไว้ในหน้าที่ 11)
4.1 ...
4.2 ...
4.3 ...
5. ขอบเขตของการวิจัยประกอบด้วย
5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
5.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ...(นักเรียนช่วงชั้นที่ ปีที่ โรงเรียน และจำนวนกี่คนระบุให้ชัดเจน)
5.1.2 ครูผู้จัดการเรียนรู้ จาก...โรงเรียน (จำนวนโรงเรียนที่เผยแพร่)ที่ใช้สื่อ...
5.1.3 วิธีการจัดทำสื่อ...(บอกวิธีการจัดทำพอสังเขป และประชากรที่นำไปใช้เพื่อหาค่าทางสถิติ)
5.1.4 ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สื่อ...จำนวน...ชั่วโมง เนื้อหาประกอบด้วย...(บอกชื่อสื่อ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และเนื้อหาโดยย่อ)
5.1.5 ตัวแปรที่ศึกษา
5.1.5.1 ตัวแปรต้น (มาจากชื่อเรื่องที่จัดทำ) ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ...ได้แก่ สื่อ...
5.1.5.2 ตัวแปรตาม (มาจากชื่อเรื่องที่จัดทำ)ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อ...ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ และความคิดเห็นของครูผู้จัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...
5.1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ (มีก็ได้ไม่มีก็ได้)
**การนำเสนอในส่วนนี้ประมาณ 4 – 5 หน้า ทังนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลการนำเสนอ***






บทที่ 2

แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย

2.1 แนวคิดในการวิจัย...(กล่าวถึงแนวคิดของผู้วิจัยที่เลือกเรื่องหรือรูปแบบในการวิจัย และให้สอดคล้องกับแนวคิดของนักการศึกษา มีการอ้างอิงที่เชื่อถือได้)
2.2 ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย และสมมติฐานของการวิจัย (ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน) มาเขียนเป็นองค์ความรู้โดยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างการนำเสนอเนื้อหาต้องมีการอ้างอิงแนวคิดและทฤษฎีควบคู่กันไป และมีการสรุปเป็นข้อมูลของผู้วิจัย เป็นระยะ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องซึ่งกันและกันระหว่างเนื้อหา แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ ข้อความที่ใช้ในส่วนนี้ ประกอบด้วย จากการศึกษาพบว่า...(เนื้อหาที่เป็นประสบการณ์ของผู้วิจัย) สอดคล้องกับทฤษฎีหรือแนวคิดของ...(ข้อมูลของนักการศึกษา) จึงสรุปได้ว่า...(สรุปจากเนื้อหาที่เป็นประสบการณ์ของผู้วิจัย และทฤษฎีหรือแนวคิดของนักการศึกษา)
**การเขียนอ้างอิงข้อมูลมี 2 ประเภท คือ การอ้างอิงควบคู่กับการนำเสนอเนื้อหา และการอ้างอิงที่เป็นเชิงอรรถ การอ้างอิงควบคู่กับการนำเสนอเนื้อหา ส่วนใหญ่ใช้ 2 ลักษณะ เช่น ถนอมพร เลหจรัสแสง (2541: 7-8) ได้กล่าวถึง...พอสรุปได้ว่า....หรือ ธีรชัย (2537: 6) อ้างถึงในทวีศักดิ์ ภวนานันท์ (2545: 4) หากเป็นการอ้างอิงผู้แต่งชาวต่างชาติให้เขียนชื่อภาษาไทย และเขียนกำกับเป็นภาษาต่างชาติในวงเล็บ เช่น เบลแลนด์ (Belland, 1985: 186) อ้างถึงในทวีศักดิ์ ภวนานันท์ (2545: 5) เป็นต้น (หรือจะใช้รูปแบบอื่นก็ไม่ผิด แต่ต้องเป็นที่ยอมรับของนักการศึกษา สิ่งที่ควรระวัง คือ การอ้างอิงตามแบบของสำนักพิมพ์เอกชนซึ่งมักใช้ไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้ต้องระวังให้ดีในจุดเล็กๆเหล่านี้ แต่สำคัญมากถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น)
นอกจากนี้รายละเอียดการอ้างอิงได้กำหนดรูปแบบปลีกย่อยได้ ดังนี้
1) ถ้าการอ้างอิงคัดลอกข้อความมาไม่ถึง 3 บรรทัด ให้ใส่ข้อความไว้ในเครื่องหมายคำพูด “.....”
2) ถ้าข้อความที่อ้างอิงเกิน 3 บรรทัด การเขียนให้เริ่มที่ย่อหน้า การย่อหน้าให้เริ่มที่อักษรตัวที่ 5 แต่ถ้ามีการย่อหน้าใหม่ในเรื่องเดียวกัน การย่อหน้าให้เริ่มที่อักษรตัวที่ 7 เป็นต้น
3) การอ้างอิงที่เป็นเชิงอรรถ คือ การอ้างอิงที่เขียนอธิบายความหมายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใส่ตัวเลขกำกับไว้เหนือข้อความที่ต้องการอ้างอิง แล้วเขียนข้อความเป็นเชิงอรรถไว้ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษ (วิธีการนี้มักไม่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน)
4) สิ่งที่ไม่ควรลืมเป็นอย่างยิ่ง คือ การอ้างอิงที่กล่าวมาต้องมีปรากฏในบรรณานุกรม (ถ้าไม่มีถือว่าขาดความถูกต้องในการจัดทำ และอาจเป็นเหตุแห่งการไม่ผ่านในการพิจารณาของคณะกรรมการอย่างน่าเสียดาย)

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

3.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (นำมาจากบทที่ 1)
3.2 กระบวนการจัดทำ (บอกรายละเอียดตามขั้นตอนการจัดทำสื่ออย่างละเอียด)
3.3 กระบวนการนำสื่อไปใช้ ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
3.1 การหาประสิทธิภาพสื่อ...(อธิบายขั้นตอนและวิธีดำเนินการที่ยังไม่ต้องเสนอผลที่ได้) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง จำนวน 3 ครั้ง กับนักเรียนที่ยังไม่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในสื่อที่จัดทำ ทั้ง 3 ครั้ง ให้เสนอแนวดำเนินการและผลการทดลองในภาพรวม ไม่ต้องใช้ค่าสถิติใดๆ
3.2 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ (อธิบายวิธีดำเนินการ ในขอบเขตและข้อตกลง)
3.3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน (บอกเกี่ยวกับแนวทางในการประเมิน และการกำหนดค่าระดับการประเมิน)
3.4 การเผยแพร่ผลงาน (กล่าวถึงวิธีการในการเผยแพร่ จำนวน และชื่อโรงเรียนที่เผยแพร่)

4 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
4.1 การสร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อ...(สื่ออะไร)โดยใช้วิธีการของ...(อย่างไร) ได้การนำข้อมูล...(ได้มาวิธีไหน) เพื่อการวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตร ดังนี้
=
=
4.2 การจัดทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีแนวดำเนินการ ประกอบด้วย
4.2.1 ศึกษาการจัดทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากแหล่งความรู้ต่างๆแล้วนำมาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลในการจัดทำ
4.2.2 วิเคราะห์เนื้อหา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
4.2.3 จัดทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ เป็นแบบทดสอบเดียวกันชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก โดยกำหนดเกณฑ์ให้คะแนน ดังนี้ ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน ถ้าตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน ให้ตรงตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จำนวน 20 ข้อ
4.2.4 หาค่าประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก พิจารณาจากดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน...ท่าน ให้ความเห็นโดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพ 5 ประการ ประกอบด้วย
4.2.4.1 การตรวจสอบค่าความตรง (Validity) โดยกำหนดค่าคะแนน ดังนี้
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
บันทึกผลการพิจารณาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อ แล้วนำไปหาดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective Congruence) คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
หมายถึง ค่าความตรง
หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด (3 หรือ 5 ท่าน)
ค่าดัชนีความสอดคล้อง ( ) ที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้


ตารางที่ 1 การตรวจสอบความตรงของแบบทดสอบ

ข้อ
คำถามที่ ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 3


1
2

เมื่อพิจารณาแล้วปรากฏว่าได้แบบทดสอบที่มีค่าความตรง จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( ) ระหว่าง ...

4.2.5 การตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยกำหนดค่าคะแนน ดังนี้
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นำคะแนนที่ได้คำนวณหาค่า (Index of item objective congruence) คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
หมายถึง ค่าความตรง
หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
ค่าดัชนีความสอดคล้อง ( ) ที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ตารางที่ 2 การตรวจสอบความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ

ข้อ
คำถามที่ ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 3


1
2

เมื่อพิจารณาแล้วปรากฏว่าได้แบบทดสอบที่มีความเป็นปรนัย จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( ) ระหว่าง...
4.2.6 นำแบบทดสอบที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน10 คน เพื่อตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ใช้วิธีสอบซ้ำ (Test – Retest) โดยนำแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มเดียวกัน จำนวน 10 คน โดยกำหนดให้ระยะการทดสอบห่างกัน 15 วัน แล้วนำผลที่ได้จากการทดสอบทั้งสองครั้งคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น โดยกำหนดให้การทดสอบ ครั้งที่ 1 เป็นคะแนนในช่อง X คะแนนรวมจากการทดสอบ ครั้งที่ 2 เป็นคะแนนในช่อง Y กำหนดค่าความเชื่อมั่น (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์) มีค่าไม่น้อยกว่า 0.80 โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบซ้ำ

คนที่ สอบครั้งที่ 1
X X2 สอบครั้งที่ 2
Y Y2 XY
1
2
N = X = X2 =  Y = Y2 = XY =

การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ใช้วิธีของ Pearson Product Moment Correlation คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
r =
4.2.7 นำแบบทดสอบที่ตรวจสอบความเชื่อมั่นแล้วไปใช้กับนักเรียน เพื่อวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบในการจัดการเรียนรู้ เป็นการจำแนกข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ใช้การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก 27 % จากนักเรียน จำนวน 30 คน ได้นักเรียนที่นำมาวิเคราะห์ข้อสอบ จำนวน 16 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มสูง 8 คน นักเรียนกลุ่มต่ำ 8 คน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน สูตร KR-21 อ้างถึงใน กาญจนา วัฒายุ (2548: 221-222) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ตารางที่ 4 วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก กลุ่มสูง

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มสูง
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข ค* ง ว ก* ข ค ง ว
สูง
สูง คนที่ 1
คนที่ 2
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม


ตารางที่ 5 วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก กลุ่มต่ำ

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มต่ำ
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข ค* ง ว ก* ข ค ง ว
ต่ำ
ต่ำ คนที่ 1
คนที่ 2
รวมกลุ่มต่ำ

ข้อสอบข้อที่ 1 ค่าความยากง่าย = % ค่าอำนาจจำแนก =
ข้อสอบข้อที่ 2 ค่าความยากง่าย = % ค่าอำนาจจำแนก =
การคำนวณค่าอำนาจจำแนก ผู้วิจัยตรวจสอบโดยใช้สูตรของ สมบุญ ภู่นวล (2525) อ้างถึงในกาญจนา วัฒายุ (2548: 222) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้

กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น 0.20 – 0.80
เมื่อพิจารณาแล้วปรากฏว่าได้แบบทดสอบที่มีค่าอำนาจจำแนก...– ...ถือเป็นข้อสอบที่ยอมรับได้และอยู่ในเกณฑ์เกือบดีเป็นส่วนใหญ่
4.2.8 นำผลคะแนนที่ได้วิเคราะห์ค่าความยากง่ายของข้อสอบ (Difficulty) ที่ใช้จัดการเรียนรู้ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวงรูปแบบปกติ และการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล และคำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้

ตารางที่ 6 วิเคราะห์ความยากง่ายของข้อสอบ

ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข ค* ง ว ก* ข ค ง ว
คนที่ 1
คนที่ 2
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม

4.2.9 การจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจ
4.2.9.1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดความพึงพอใจ
4.2.9.2 ศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการสร้างแบบวัดความพึงพอใจ
4.2.9.3 ข้อความในแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการเรียน

4.3 การดำเนินการทดลอง
4.3.1 ประชากรที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย...
4.3.2 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยแนะนำและควบคุมดูแลการจัดการเรียนรู้สาระ...และได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
4.3.2.1 การตรวจสอบค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระ... โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
4.3.2.2 วิธีการเรียนรู้ ผู้จัดทำชี้แจงและอธิบายวิธีการเรียนรู้สาระ...ให้นักเรียนเข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้จากสื่อ...
4.3.2.3 กระบวนการเรียนรู้นักเรียนจะเรียนรู้ไปพร้อมกับการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยด้วยสื่อ...โดยใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระ...
4.3.2.4 การทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ เป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ ชนิด 4 ตัวเลือก ซึ่งเป็นข้อคำถามและคำตอบเดียวกัน ที่ผู้วิจัยจัดทำในรูปแบบ...และผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
4.3.2.5 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผู้วิจัยจัดทำและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดลอง
4.4.1 การหาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระ...โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ดังนี้
4.4.1.1 ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ... หมายถึง ตัวเลขคิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทดสอบระหว่างการเรียนรู้สาระ...โดยกำหนดให้ (80 แรก) หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ... คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
4.4.1.2 ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...หมายถึง ตัวเลขคิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้สาระ...โดยกำหนดให้ (80 หลัง) หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ในการเรียนรู้สาระ... คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
4.4.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระ... ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ใช้การทดสอบค่าที และหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ( ) ในการประเมินความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรหาค่าเฉลี่ย ( )
=

สูตรหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
=
สูตรในการทดสอบค่าที
=
สูตรหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ( )
=
4.4.3 การประเมินระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้สาระ...โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) ที่ครูสร้างขึ้นด้วยวิธีการของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) กำหนดค่าเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด และกำหนดค่าระดับคะแนนเป็นตัวเลข 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ แล้วนำผลการแจงนับหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( )
=
สูตรหาค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน( )
=
หมายเหตุ ในการนำเสนอส่วนนี้เป็นเพียงการนำเสนอให้รู้วิธีการดำเนินการ แต่มีส่วนหนึ่งที่ควรนำเสนอในผลที่ได้ คือ การหาค่าประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ โดยท่านผู้เชี่ยวชาญ 3 หรือ 5 ท่าน เพื่อจะนำไปใช้ในบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ต่อไป














บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (นำมาจากบทที่ 1)
4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำ การใช้ และการเผยแพร่ ครั้งนี้ขอนำเสนอข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
4.2.1 การจัดทำสื่อ...
4.2.2 การใช้สื่อ...
4.2.3 การเผยแพร่สื่อ...
ตอนที่ 1 การจัดทำสื่อ...(บอกรายละเอียดในขั้นตอนการจัดทำตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการตลอดจนวิธีการใช้สื่อ...ให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อไม่ต้องแยกเล่มเป็นคู่มือการจัดทำอีก 1 เล่ม)
ตอนที่ 2 การใช้สื่อ...
ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อ...
1. การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพสื่อ...หลังจากได้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดทำ การหาประสิทธิภาพ การทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง การปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่พบ แล้วจึงได้นำสื่อดังกล่าวไปใช้จริงกับ...ที่เรียนสาระ...จำนวน...คน และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน แล้วจึงนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...เรื่อง...ที่ผู้วิจัยจัดทำ โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ดังนี้
1.1 ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...หมายถึง ตัวเลขคิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดวัดความรู้ระหว่างการดำเนินการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดให้ เป็นค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
กำหนดให้ แทนค่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...
แทนค่า ผลรวมของคะแนนแบบฝึกหัดที่นักเรียนทำได้
แทนค่า จำนวนนักเรียน
แทนค่า คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด







ตารางที่ 7
คะแนนแบบฝึกหัดระหว่างการจัดการเรียนรู้ และคะแนนทดสอบหลังการเรียนรู้
โดยจัดการเรียนรู้ด้วย...หน่วยที่...เรื่อง...

นักเรียนคนที่ แบบฝึกหัด 20 คะแนน แบบทดสอบ 20 คะแนน












=
=
=
=
=
=


จากสูตร =
แทนค่าสูตร =
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ...คิดเป็นร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดในระหว่างการเรียนรู้
1.2 ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากการจัดการเรียนรู้สาระ...หมายถึง ตัวเลขคิดเป็นร้อยละของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดความรู้หลังการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดให้ เป็นค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากการจัดการเรียนรู้สาระ... คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
กำหนดให้ แทนค่า ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้สาระ...
แทนค่า ผลรวมของคะแนนทดสอบที่นักเรียนทำได้
แทนค่า จำนวนนักเรียน
แทนค่า คะแนนเต็มของแบบทดสอบ
แทนค่าสูตร = ...
= ...

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้สาระ...คิดเป็นร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สื่อ...ที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...มีประสิทธิภาพ...สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สาระ....คิดเป็นร้อยละ...จากที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดในระหว่างการเรียนรู้ ส่วนประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้สาระ...คิดเป็นร้อยละ...จากที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้



2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...โดยการทดสอบก่อนการเรียนรู้และการทดสอบหลังการเรียนรู้ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าที ( ) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (Co-Efficient Variation) โดยใช้สัญลักษณ์ ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
ตารางที่ 8
การแสดงผลคะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้ และหลังการเรียนรู้
ในการเรียนรู้...ช่วงชั้นที่...ปีที่...
หน่วยที่...เรื่อง...
นักเรียนคนที่ คะแนนการทดสอบก่อนเรียนรู้
คะแนนเต็ม 20 คะแนน คะแนนการทดสอบหลังเรียนรู้
คะแนนเต็ม 20 คะแนน





1
2
=
=
=
=
=
=
=
=
=

กำหนดให้ X1 แทนค่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนรู้
X12 แทนค่า คะแนนทดสอบก่อนเรียนรู้ยกกำลังสอง
X2 แทนค่า คะแนนทดสอบหลังเรียนรู้
X22 แทนค่า คะแนนทดสอบหลังเรียนรู้ยกกำลังสอง
2.1 การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ของข้อมูลผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...จากตารางที่...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรคำนวณหาค่าเฉลี่ย =
แทนค่าสูตร =
=
2.2 การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ของข้อมูลผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...จากตารางที่...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรคำนวณหาค่าเฉลี่ย =
แทนค่าสูตร =
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย พบว่า คะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...ปีที่...มีค่าเฉลี่ย...ส่วนการทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วย...มีค่าเฉลี่ย...เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีความแตกต่างกัน จึงกล่าวได้ว่า ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้
2.3 การวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ของข้อมูลผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...จากตารางที่...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้

สูตรคำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
=

แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
2.4 การวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ของข้อมูลผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...จากตารางที่...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
สูตรคำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
=
แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่าคะแนนสอบก่อนการเรียนรู้สาระ...ช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...ส่วนคะแนนสอบหลังการเรียนรู้...ช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...ด้วยสื่อ...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...
2.5 การวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...ใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้








ตารางที่ 9
ความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้สาระ...
ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...
หน่วยที่...เรื่อง...
นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนเรียนรู้
คะแนนเต็ม 20 คะแนน คะแนนหลังเรียนรู้
คะแนนเต็ม 20 คะแนน












=
=
=
=
=


หมายถึง ความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้
หมายถึง ความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ยกกำลังสอง
หมายถึง ผลรวมของคะแนนดิบ
หมายถึง ผลรวมของคะแนนความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้
หมายถึง ผลรวมของคะแนนความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ยกกำลังสอง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระ...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...มีค่า...และผลรวมของความแตกต่างยกกำลังสองของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้สาระ...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...หน่วยที่...เรื่อง...มีค่า...
2.6 การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง คะแนนสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้สาระ...โดยการทดสอบค่าที คำนวณโดยใช้สูตรสำหรับกลุ่มประชากรที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ดังนี้

แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
=

ตารางที่ 10
การเปรียบเทียบความแตกต่างของการสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้สาระ... ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...

การทดสอบ




การทดสอบหลังการเรียนรู้รูปแบบปกติ
การทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ... **
df = =
**มีนัยสำคัญที่ระดับ...
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่..พบว่า เมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยค่าที ( ) พบค่า = ...ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ...จึงกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง...% นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้
2.7 การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ( ) ในการประเมินความสามารถของครูผู้จัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
=
แทนค่าสูตร =
=
โดยกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน ดังนี้
ค่า ต่ำกว่า 10 % หมายถึง ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ดี
ค่า ระหว่าง 10 – 15 % หมายถึง ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ปานกลาง
ค่า สูงกว่า 15% หมายถึง ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ต้องปรับปรุง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ในการประเมินความสามารถของครูผู้จัดการเรียนรู้สาระ...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงกล่าวได้ว่า ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้จัดการเรียนรู้สาระ...มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ดี
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยการทดสอบก่อนการเรียนรู้และการทดสอบหลังการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...ปีที่...ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าที ( ) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ พบว่า คะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...ส่วนการทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...เมื่อวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า...และผลรวมของความแตกต่างยกกำลังสองของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า...เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยค่าที ( ) พบค่า =...ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ...เป็นที่น่าสังเกตว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง...% ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสื่อ...ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ และเมื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ในการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้จัดการเรียนรู้สาระ...มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพ. ..
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีความแตกต่างกัน กล่าวคือการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ที่มีผลต่างของค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของทั้งสองกลุ่มสูงกว่า ...เป็นผลให้คะแนนมีการกระจายมาก เมื่อตรวจสอบด้วยค่า t-test พบว่าค่าทีคำนวณ เท่ากับ...ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าทีตาราง df = ... ที่ ... = ... มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ... และจากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย... % แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพ...เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...กว่าเกณฑ์ที่กำหนด 10%
3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจ
การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...ดังนี้
การวิเคราะห์ความพึงพอใจรายข้อ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง ...โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยวิธีการของลิเคิร์ท (Likert scale) โดยกำหนดค่าเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด และกำหนดค่าระดับคะแนนเป็นตัวเลข 5 4 3 2 และ 1 ตามลำดับ แล้วนำผลการแจงนับหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า จากผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ ของนักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย... เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 3.50 – 4.49 คือ มีระดับความพึงพอใจมาก และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน 8 คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 4.50 – 5.00 คือ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด จึงสรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้สาระ...ในระดับมากถึงมากที่สุดส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า...แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา
3.1 การวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวมของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) จากตารางวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนสาระ...จำนวน...คน ประกอบด้วยข้อคำถาม...ข้อ นำค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อมารวมกัน ได้ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีระดับความพึงพอใจ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49
ผลรวมจากตารางที่...ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทุกระดับความพึงพอใจ ( ) ดังนี้
นักเรียนที่เลือกระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าคะแนนรวม เท่ากับ...
นักเรียนที่เลือกระดับความพึงพอใจมาก ค่าคะแนนรวม เท่ากับ...
นักเรียนที่เลือกระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าคะแนนรวม เท่ากับ...
นักเรียนที่เลือกระดับความพึงพอใจน้อย ค่าคะแนนรวม เท่ากับ...
นักเรียนที่เลือกระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ค่าคะแนนรวม เท่ากับ...
ตารางที่ 11
ผลการวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ในภาพรวม จำนวน...ฉบับ
ตามแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้
โดยใช้สื่อ...
ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น



5
4
3
2
1


ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น



=
=
=
=
f (Frequency) คือ ความถี่ หมายถึงจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละช่องระดับความพึงพอใจ
X หมายถึง ค่าคะแนน
N หมายถึง จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม หมายถึง ค่าคะแนนในช่องระดับความพึงพอใจยกกำลังสอง =


ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =
แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...แสดงให้เห็นถึงผู้ตอบมีความพึงพอใจ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
กล่าวได้ว่า จากการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนสาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ...จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น...คน มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีระดับความพึงพอใจในระดับ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00 ซึ่งมีความพึงพอใจคล้อยตามกัน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้...กว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...ที่เรียนรู้ด้วยสื่อ...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เมื่อวิเคราะห์จากค่าเฉลี่ยนักเรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้...ในระดับ...ถึง...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ...ส่วนความพึงพอใจในภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจ...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ...
ตอนที่ 3 การเผยแพร่สื่อ...
1. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของครู จำนวน...โรงเรียน ที่ผู้วิจัยได้เผยแพร่สื่อ...ที่จัดทำเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ที่หลักสูตรสถานศึกษานั้นๆกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร และความเหมาะสมตามสภาพความพร้อมของสถานศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้แนบแบบสอบถามเพื่อการวิเคราะห์หลังการเผยแพร่ และนำสิ่งต่างๆที่ได้ค้นพบในระหว่างการเผยแพร่ใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงให้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้น
1.1 การวิเคราะห์ความพึงพอใจรายข้อ ของครูผู้จัดการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ...โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยวิธีการของลิเคิร์ท (Likert scale) กำหนดค่าเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด และกำหนดค่าระดับคะแนนเป็นตัวเลข 5 4 3 2 และ 1 ตามลำดับ แล้วนำผลการแจงนับหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ โดยการแทนค่าสูตรด้วยเครื่องคิดเลข (FUJITEL FC-389)
ระดับค่าเฉลี่ย ( )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ในการประเมินความคิดเห็นของครูผู้จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...
ค่าเฉลี่ย บอกถึงระดับความคิดเห็นเฉลี่ยขอครูผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน...ท่าน โดยใช้ระดับความคิดเห็นที่เสนอแนะโดย John W. Best (1993) อ้างถึงใน กาญจนา วัฒายุ (2548: 166) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้
ค่าเฉลี่ย ( ) = 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย ( ) = 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นพอใช้
ค่าเฉลี่ย ( ) = 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นปานกลาง
ค่าเฉลี่ย ( ) = 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นดี
ค่าเฉลี่ย ( ) = 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นดีมาก
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) บอกความคิดเห็นที่คล้อยตามกันหรือแตกต่างกัน ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน... ท่าน โดยกำหนด ดังนี้
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่าตั้งแต่ 1.00 ขึ้นไป หมายถึง ผู้ตอบมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่าต่ำกว่า 1.00 ลงมา หมายถึง ผู้ตอบมีความคิดเห็นคล้อยตามกัน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่า 0 หมายถึง ผู้ตอบมีความคิดเห็นเหมือนกันทุกคน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ ปรากฏผลการวิเคราะห์ ดังนี้ ครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...เป็นที่น่าสังเกตว่า ครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย... จำนวน... ท่าน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 3.50 – 4.49 คือ มีระดับความคิดเห็นดี และครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย... จำนวน...ท่าน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 4.50 – 5.00 คือ มีระดับความคิดเห็นดีมาก จึงสรุปได้ว่าครูผู้จัดการเรียนรู้มีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้...ในระดับดีถึงดีมาก ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...แสดงให้เห็นว่าครูผู้จัดการเรียนรู้มีความพึงพอใจ... จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา
การวิเคราะห์ความคิดเห็นในภาพรวมของครูผู้จัดการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง ...โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( )แทนค่าสูตรด้วยเครื่องคิดเลข (FUJITEL FC-389)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน...ท่านประกอบด้วยข้อคำถาม...ข้อ นำค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อมารวมกัน ได้ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ ...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความคิดเห็นในอยู่ระดับ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49
ใช้ค่าความถี่ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละช่องระดับความคิดเห็น จากตารางที่...เพื่อวิเคราะห์หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้
ระดับความคิดเห็น 5 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 4 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 2 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 1 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 5 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ตารางที่ 12
ผลการวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )ในภาพรวม จำนวน... ฉบับ
ตามแบบประเมินความคิดเห็นของครูผู้จัดการเรียนรู้
โดยใช้สื่อ...

ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น



5
4
3
2
1


ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น



=
=
=
=
f (Frequency) คือ ความถี่ หมายถึงจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละช่องระดับความพึงพอใจ
X หมายถึง ค่าคะแนน
N หมายถึง จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม หมายถึง ค่าคะแนนในช่องระดับความพึงพอใจยกกำลังสอง =


ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =
แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตารางที่...พบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...แสดงให้เห็นถึงผู้ตอบมีความคิดเห็น...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่จัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...ในโรงเรียนที่ผู้วิจัยส่งผลงานเพื่อเผยแพร่ จำนวน...โรงเรียน มีความคิดเห็นคิดเป็นค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับ...จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ 3.50 – 4.49 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ค่าต่ำกว่า 1.00 จึงสรุปได้ว่า สื่อ...ที่เผยแพร่ไปยัง...โรงเรียน มีประสิทธิภาพ...ของผู้วิจัยและเหมาะที่จะนำไปใช้จัดการเรียนรู้สาระอื่นๆที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนั้นๆในการจัดสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง... เพื่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของโรงเรียน ต่อไป
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า ครูจากโรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่และใช้สื่อ...มีความ...จากการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ระดับความคิดเห็นรายข้อครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็น...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีความพึงพอใจ... ส่วนระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับ...และมีความคิดเห็น...



















บทที่ 5

สรุปผลการจัดทำ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (นำมาจากบทที่ 1)
5.2 ขั้นตอนการจัดทำสื่อ...
5.2.1 การจัดทำสื่อ...ได้ดำเนินการจากสาเหตุของปัญหาการจัดการเรียนรู้เป็นหลัก ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลายประการทั้งระดับปัจจัย ระดับกระบวนการ ระดับผลผลิต และระดับผลกระทบ จากสาเหตุของปัญหาจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรคาดหวัง จึงกำหนดวัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นตัวกำหนดเป้าหมายความสำเร็จในการจัดทำสื่อ...สำหรับใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ขึ้น เพื่อใช้...ให้เป็นการพัฒนาความรู้ที่ยั่งยืนตามที่หลักสูตรคาดหวังได้
5.2.1.1 ความสำเร็จในการจัดทำสื่อ...ให้เกิดคุณภาพได้ผู้วิจัยยึดหลัก 4 ประการ ประกอบด้วย
1) การเตรียมการที่ดี
2) การวางแผนอย่างเป็นระบบ
3) ยึดหลักการของทฤษฎีการจัดการเรียนรู้
4) ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
5.2.1.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ... ประกอบด้วย
1) ใช้แก้ปัญหาการสอนซ่อมเสริม
2) สามารถสนองความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้เมื่อต้องการเรียน เวลาใด หรือสถานที่ใดก็ได้
3) นักเรียนสามารถทบทวนกี่ครั้งก็ได้ โดยได้รับเนื้อหาความรู้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
4) สามารถป้องกันการแทรกซ้อนทางอารมณ์ของครูได้อย่างดี
5) สามารถสร้างคุณธรรม จริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบในตัวนักเรียนได้
5.2.1.3 หลักการที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำสื่อ...ซึ่งแนวคิดสำคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำประสบผลสำเร็จได้ มาจากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญของโครงการ Inotech ซึ่งแนวคิดนี้ให้คำนึงถึงพื้นฐานด้านจิตใจ วิทยาการในการเรียนรู้และการจูงใจ หลักการที่ใช้เป็นแนวคิดในการจัดทำสื่อ...
สื่อ...เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ เมื่อนำไปใช้กับนักเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียนไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้
5.2.1.4 ขั้นตอนในการจัดทำ ที่ทำให้สื่อ...ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย
1) การเตรียมการและวางแผนในการจัดทำ กำหนด ดังนี้
- กำหนดรูปแบบของงาน
- กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา
- กำหนดระยะเวลาในการจัดทำและการนำไปใช้
2) ขั้นตอนการจัดทำ
- ศึกษาหลักสูตร
- กำหนดโครงสร้างของงานที่จะทำ
3) ขั้นทดลองนำผลงานที่จัดทำไปใช้
- ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
- การวิจัยเพื่อพัฒนา
4) ขั้นนำผลงานไปใช้
5) ผลของการนำไปใช้
6) ขั้นเผยแพร่และสร้างการยอมรับ
5.2.2 วิธีดำเนินการจัดทำสื่อ...
5.2.2.1 ขั้นตอนการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการ ดังนี้
1) ศึกษาในเรื่องปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้
2) การพิจารณาถึงความจำเป็นและเนื้อหาที่จัดทำ
3) การเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสร้างเป็นสื่อ...
4) การกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จัดทำ
5.2.2.2 ขั้นตอนการวางแผน
5.2.2.3 การออกแบบส่วนต่างๆของบทเรียน
1) การนำเข้าสู่บทเรียน
2) การเสนอเนื้อหา
3) การกำหนดเส้นทางการเรียน
4) ขั้นตอนการใช้สื่อ...
5.2.2.4 ขั้นตอนการใช้สื่อ...และผลการวิเคราะห์ข้อมูล
5.2.2.5 การหาประสิทธิภาพสื่อ...ที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้สาระ...หน่วยที่...เรื่อง...โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ซึ่งเป็นนักเรียน...ที่ยังไม่ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำนวน30 คนโดยมีขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ดังนี้
การทดลอง ครั้งที่ 1
การทดลอง ครั้งที่ 1 เป็นการหาข้อบกพร่องของสื่อ...ในด้านต่างๆ เช่น ความถูกต้องด้านเนื้อหา ความชัดเจนของการนำเสนอเนื้อหา ความชัดเจนของภาษา ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. ทดลอง กับนักเรียน จำนวน 3 คน โดยใช้สื่อ...ประกอบการเรียนรู้
2. แนะนำการเรียนรู้ โดยผู้จัดทำเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามกระบวนการเรียนรู้ และการใช้สื่อเพื่อการทบทวนเนื้อหาหรือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพัฒนาการทางการเรียนรู้
3. นำสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...เรียนรู้ไปพร้อมๆกันในห้องเรียน และให้เรียนรู้การทบทวนเนื้อหาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทางการเรียนรู้ของนักเรียน
4. ผู้วิจัยสังเกต และสัมภาษณ์เกี่ยวกับสื่อที่ประกอบการเรียนรู้ในด้านต่างๆ จดบันทึกข้อมูลเก็บไว้เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไข
5. ปรับปรุงแก้ไขสื่อ...จากปัญหาที่พบในการทดลอง ครั้งที่ 1
การทดลอง ครั้งที่ 2
การทดลอง ครั้งที่ 2 เป็นการหาแนวโน้มประสิทธิภาพของสื่อ...และเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องด้านต่างๆ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยนำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่ 1 ไปทดลองกับนักเรียน จำนวน 15 คน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. นำสื่อ...ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากการทดลองครั้งที่ 1 ทดลองกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน
2. แนะนำการเรียนรู้ โดยผู้จัดทำเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามกระบวนการเรียนรู้ และการใช้สื่อเพื่อการทบทวนเนื้อหาหรือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพัฒนาการทางการเรียนรู้
3. นำสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...เรียนรู้ไปพร้อมๆกันในห้องเรียน และให้เรียนรู้เพื่อการทบทวนเนื้อหาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามระยะเวลาที่นักเรียนแต่ละคนมีความพร้อมในการเรียนรู้
4. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
5. นำผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน การทำแบบทดสอบหลังเรียน และคะแนนที่ได้จากการสังเกตการปฏิบัติเครื่องดนตรี จาการเรียนรู้หน่วยที่...เรื่อง...นำมาวิเคราะห์หาแนวโน้มประสิทธิภาพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข
6. ปรับปรุงแก้ไขสื่อ... จากปัญหาที่พบในการทดลอง ครั้งที่ 2
การทดลอง ครั้งที่ 3
การทดลองครั้งที่ 3 เป็นการหาประสิทธิภาพของสื่อ...ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจาการทดลอง ครั้งที่ 2 ทดลองกับนักเรียน จำนวน 30 คน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. นำสื่อ...ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจาการทดลอง ครั้งที่ 2 ทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์... เครื่อง ประกอบการเรียนรู้
2. แนะนำการเรียนรู้ โดยผู้จัดทำเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการใช้สื่อ...เพื่อการทบทวนเนื้อหาหรือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพัฒนาการทางการเรียนรู้
3. นำสื่อ... หน่วยที่...เรื่อง...เรียนรู้ไปพร้อมๆกันในห้องเรียน และให้เรียนรู้เพื่อ...หรือการเรียนรู้เพื่อ...ทางการเรียนรู้ ตามระยะเวลาที่นักเรียนแต่ละคนมีความพร้อมในการเรียนรู้
4. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
5. นำผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน การทำแบบทดสอบหลังเรียน และคะแนนที่ได้จากการ จาการเรียนรู้หน่วยที่...เรื่อง...นำมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ 80/80
5.2.2.6 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ เป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ที่จัดทำด้วยสื่อ...ประกอบด้วย...
การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...ลักษณะแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยกำหนดค่าระดับการประเมินแต่ละช่วงคะแนนและความหมาย ดังนี้
1. ระดับ 5 หมายถึง มากที่สุด
2. ระดับ 4 หมายถึง มาก
3. ระดับ 3 หมายถึง ปานกลาง
4. ระดับ 2 หมายถึง น้อย
5. ระดับ 1 หมายถึง ปรับปรุง
แบบประเมิน แบ่งการประเมินเป็น 5 รายการ ประกอบด้วย
1. ส่วนเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
3. การใช้ภาษาและภาพประกอบ
4. องค์ประกอบของเทคนิคการนำเสนอ
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพสื่อ...ได้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดทำ การหาประสิทธิภาพ การทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง การปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่พบ แล้วจึงได้นำสื่อดังกล่าวไปใช้จริงกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ที่เรียน...จำนวน...คน และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน แล้วจึงนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่ ... เรื่อง...ที่ผู้...จัดทำ โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สื่อ...ที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...ปีที่...มีประสิทธิภาพ...สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้...กว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้...ที่เรียนรู้ด้วยสื่อ...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้...คิดเป็นร้อยละ...จากที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ซึ่ง...กว่าเกณฑ์ร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดในระหว่างการเรียนรู้ ส่วนประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้...คิดเป็นร้อยละ...จากที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้น...ปีที่...โดยการทดสอบก่อนการเรียนรู้และการทดสอบหลังการเรียนรู้ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าที ( ) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (Co-Efficient Variation) โดยใช้สัญลักษณ์ ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยการทดสอบก่อนการเรียนรู้และการทดสอบหลังการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าที ( ) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ พบว่า คะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...ส่วนการทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...เมื่อวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า...และผลรวมของความแตกต่างยกกำลังสองของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า...เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยค่าที ( ) พบค่า = ...ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ...เป็นที่น่าสังเกตว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง...% ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสื่อ...ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ และเมื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ในการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้จัดการเรียนรู้...มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ดี
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้...ที่เรียนรู้ด้วยสื่อ...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีความแตกต่างกัน กล่าวคือการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้...กว่าก่อนการเรียนรู้ที่มีผลต่างของค่าเฉลี่ย... ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของทั้งสองกลุ่มสูงกว่า...เป็นผลให้คะแนนมีการกระจาย...เมื่อตรวจสอบด้วยค่า t-test พบว่าค่าทีคำนวณ เท่ากับ...ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าทีตาราง df = ...ที่ 0.01 = 2.39 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ...และจากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพ...เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...เกณฑ์ที่กำหนด 10%
3. การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้...
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
กล่าวได้ว่า จากการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนสาระ...หน่วยที่...เรื่อง...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ...จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น...คน มีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีระดับความพึงพอใจในระดับ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00 ซึ่งมีความพึงพอใจคล้อยตามกัน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า สื่อ...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์กำหนด 80/80 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้...
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เมื่อวิเคราะห์จากค่าเฉลี่ยนักเรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้...ในระดับ...ถึง...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ...ส่วนความพึงพอใจในภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจ...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจ...
5.3 ขั้นตอนการเผยแพรสื่อ...และการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูผู้ใช้
5.3.1 วิธีดำเนินการ ผู้จัดทำได้เผยแพร่สื่อ...ที่จัดทำเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ที่หลักสูตรสถานศึกษานั้นๆกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร และความเหมาะสมตามสภาพความพร้อมของสถานศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้แนบแบบสอบถามเพื่อการวิเคราะห์หลังการเผยแพร่ และนำสิ่งต่างๆที่ได้ค้นพบในระหว่างการเผยแพร่ใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงให้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้น มีครูผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนทั้งสิ้น...ฉบับ ดังนี้
5.3.1.1 โรงเรียน...จังหวัด...
5.3.1.2 โรงเรียน... จังหวัด...
5.3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำข้อมูลที่ได้ตอบกลับมาวิเคราะห์ความคิดเห็นรายข้อ และความคิดเห็นในภาพรวม เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลการจัดทำ และนำสิ่งต่างๆที่ค้นพบมาพัฒนาให้เป็นสื่อที่มีความผิดพลาดน้อยที่สุด อันจะนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลกับนักเรียนที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่จัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...ในโรงเรียน ที่ผู้วิจัยส่งผลงานเพื่อเผยแพร่ จำนวน...โรงเรียน มีความคิดเห็นคิดเป็นค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในระดับ...จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ 3.50 – 4.49 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ค่าต่ำกว่า 1.00 จึงสรุปได้ว่า สื่อ...ที่เผยแพร่ไปยัง...โรงเรียน มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพึงพอใจของผู้วิจัยและเหมาะที่จะนำไปใช้จัดการเรียนรู้สาระอื่นๆที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนั้นๆในการจัดสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง...เพื่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของโรงเรียน ต่อไป
จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ว่า...ครูจากโรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่และใช้สื่อ...มีความพึงพอใจจากการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ระดับความคิดเห็นรายข้อครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็น...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีความพึงพอใจ...ส่วนระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับ...และมีความคิดเห็น...
5.4 อภิปรายผล
5.4.1 การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ หลังจากได้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดทำ การหาประสิทธิภาพ การทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง การปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่พบ แล้วจึงได้นำสื่อดังกล่าวไปใช้จริงกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...ที่เรียน...จำนวน...คน และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน แล้วจึงนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้...คิดเป็นร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากแบบฝึกหัดในระหว่างการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้...คิดเป็นร้อยละ...ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนรู้
เป็นที่สังเกตว่า สื่อ...ที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...ปีที่...มีประสิทธิภาพ... สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นผลให้กระบวนการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ที่จัดทำมีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.4.2 การทดลองการใช้สื่อ
จากการศึกษาพบว่า การทดลองครั้งที่ 1 (นำเสนอปัญหาที่พบ) การทดลองครั้งที่ 2 (ดำเนินการแก้ไขและการพัฒนาเพิ่มเติม) การทดลองครั้งที่ 3 (ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่พบในการทดลองทั้งสองครั้ง) ส่วนปัญหาอื่นๆได้รับการแก้ไขจนสามารถใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ ต่อไป
เป็นที่สังเกตว่า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ...
5.4.3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...
จากการศึกษาพบว่า คะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนช่วงชั้นที่...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน... ส่วนการทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีค่าเฉลี่ย... ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...การวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้...ระดับช่วงชั้นที่...หน่วยที่...เรื่อง... ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...หน่วยหน่วยที่...เรื่อง... มีค่า...และผลรวมของความแตกต่างยกกำลังสองของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...หน่วยที่...เรื่อง...มีค่า...เมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยค่าที ( ) พบค่า = ... ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ...จึงกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง... %
เป็นที่สังเกตว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีความแตกต่างกัน คะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...ส่วนการทดสอบหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...เมื่อวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า...และผลรวมของความแตกต่างยกกำลังสองของคะแนนก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ มีค่า... เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยค่าที ( ) พบค่า = ...ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ... เป็นที่น่าสังเกตว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เชื่อมั่นได้ถึง...% ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสื่อ...ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ และเมื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ของการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย...% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้จัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง ด้วยสื่อ...มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ดี จึงสรุปได้ว่า ผลการวิเคราะห์ในทุกด้านแสดงให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบหลังการเรียนรู้ ที่ใช้สื่อ...มีผลสัมฤทธิ์...กว่าการทดสอบหลังการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้
5.4.4 การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้...
จากการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจรายข้อ นักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า...และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวม ค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...
เป็นที่สังเกตว่า ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจรายข้อนักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 3.50 – 4.49 คือ มีระดับความพึงพอใจมาก และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 4.50 – 5.00 คือ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน... แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความพึงพอใจคล้อยตามกัน จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา ส่วนการวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวม ค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีระดับความพึงพอใจมาก จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 – 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...แสดงให้เห็นถึงผู้ตอบมีความพึงพอใจคล้อยตามกัน จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00 ลงมา
5.4.5 การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของครูผู้จัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...จำนวน...ท่าน
จากการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นรายข้อของครูผู้จัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...ส่วนระดับความคิดเห็นในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...
เป็นที่สังเกตว่า ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามรายข้อ ครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนด 3.50 – 4.49 คือ มีระดับความคิดเห็น...และครูผู้จัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...คน จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนด 4.50 – 5.00 คือ มีระดับความคิดเห็น...ส่วนผลการวิเคราะห์แบบสอบถามในภาพรวมค่าเฉลี่ย... มีระดับความคิดเห็น...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน...แสดงให้เห็นถึงผู้ตอบมีความคิดเห็น...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00 ลงมา จึงสรุปได้ว่า สื่อ...ที่เผยแพร่ไปยัง...โรงเรียน มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพึงพอใจของผู้วิจัยและเหมาะที่จะนำไปใช้จัดการเรียนรู้สาระอื่นๆที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนั้นๆ ที่จัดสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง...เพื่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของโรงเรียน ต่อไป

5.5 ข้อเสนอแนะ
5.5.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
5.5.1.1 ในด้านขั้นตอนการจัดสร้างสื่อ...
5.5.1.2 ปัญหาอื่นที่เกิดขึ้นในการจัดทำ
5.5.1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน
5.5.1.4 การพัฒนาชิ้นงานเพื่อให้เกิดการแพร่หลายและความน่าสนใจ
5.5.1.5 ครูผู้จัดการเรียนรู้ควรดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพราะต้องให้ความกระจ่างในการเรียนรู้
5.5.2 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย
5.5.2.1 โรงเรียนควรมีงบสนับสนุนการวิจัยของครูอย่างเป็นรูปธรรม โดยสนับสนุนด้านทรัพยากรและค่าการลงทุน การจัดหาแหล่งงบประมาณจากสถาบันทางการเงินต่างๆเข้ามาสนับสนุน หรือจากรายได้สถานศึกษา
5.5.2.2 การนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งกลุ่มวิชาการควรให้ความสำคัญของผลการวิจัยต่อแนวทางปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น
5.5.2.3 โรงเรียนควรเพิ่มบทบาทการทำวิจัยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม
5.5.2.4 ครูทุกคนเป็นนักวิจัย แต่ครูทุกคนไม่ชอบเขียนสิ่งที่ตนเองวิจัย
5.5.2.5 การสอนโดยการแก้ปัญหา คือ ปัจจัยสำคัญของงานวิจัย
5.5.2.6 การลดบทบาทของผู้ให้เป็นเพิ่มบทบาทในตัวนักเรียน แล้วงานวิจัยจะออกมาโดยอัตโนมัติ เกิดคุณค่าและเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์
5.5.2.7 การทำวิจัยต่อยอดจากที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการแล้ว ในการจัดทำสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระด้านความรู้เรื่องอื่นๆที่ยังไม่ได้มีการจัดทำ หรือจัดทำแล้วแต่ยังไม่มีการเผยแพร่
6. การเขียนบรรณานุกรม
หลักการและวิธีเขียนบรรณานุกรม ให้ยึดของสถาบันทางการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเกณฑ์การเขียน อย่าได้เขียนหลายรูปแบบโดยเด็ดขาด ในที่นี้จะใช้ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหลักในการเขียน ดังนี้
ชื่อผู้แต่ง (ไม่ต้องมีคำนำหน้าใดๆทั้งสิ้น), (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: ชื่อโรงพิมพ์.
7. ความสำคัญของภาคผนวก และการจัดลำดับ
ภาคผนวก คือ ส่วนขยายหรือส่วนที่จะเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของการเขียนผลงานทางวิชาการให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นภาคผนวกจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะขยายความของเนื้อหาให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือการลงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการด้านข้อมูลในสูตรต่างๆทางสถิติที่ได้นำเสนอผลไว้ในบทที่ 4 และบทที่ 5 หมายความว่าวิธีการต่างๆนั้นจะนำเสนอในภาคผนวกแต่ผลลัพธ์ที่ได้จะนำเสนอไว้ในเนื้อหา บทที่ 4 และบทที่ 5 นอกจากนี้การจัดลำดับก็ถือเป็นส่วนสำคัญทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาได้ง่ายและสะดวกในกรณีที่จะศึกษาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง








ภาคผนวก
ภาคผนวก ก การตรวจสอบคุณภาพสื่อเทคโนโลยีฯ
ภาคผนวก ข แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาคผนวก ค การประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ภาคผนวก ง การออกแบบการจัดทำสื่อเทคโนโลยีฯ
ภาคผนวก จ การจัดทำ และการใช้สื่อเทคโนโลยีฯ















ภาคผนวก ก
การตรวจสอบคุณภาพสื่อเทคโนโลยีฯ
1. รายนามผู้เชี่ยวชาญ
2. แบบประเมินสื่อ...
3. วิธีการดำเนินการ และผลการดำเนินการ








ตัวอย่าง แบบตรวจสอบคุณภาพสื่อเทคโนโลยี ประกอบการเรียนรู้
ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
อ้างอิงแบบตรวจประเมิน ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ (2545: 93-97)
------------------------------------------------------------------------------------------
**นำข้อมูลที่ได้ใส่ในตารางเพื่อการวิเคราะห์**
คำชี้แจง
แบบประเมินนี้ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการจัดการเรียนรู้...หน่วยที่...เรื่อง...ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่...แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานประกอบการประเมิน
ส่วนที่ 2 รายการประเมินคุณภาพสื่อ...ประกอบการจัดการเรียนรู้...ระดับช่วงชั้นที่...ปีที่...ให้พิจารณาตามองค์ประกอบหลัก ดังต่อไปนี้
1) ส่วนนำของบทเรียน
2) เนื้อหาของบทเรียน
3) การใช้ภาษา
4) การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้
5) ส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย
6) การออกแบบปฏิสัมพันธ์
ส่วนที่ 3 สรุปผลการตรวจประเมินในเชิงคุณภาพ
ระดับการประเมิน
ในการประเมินส่วนที่ 2 กำหนดระดับคุณภาพการประเมินเป็น 4 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง
ดีมาก หมายถึง นำเสนอได้สมบูรณ์ทุกองค์ประกอบ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีมาก ทำให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ได้อย่างดี ตลอดจนมีความพึงพอใจที่ดีมากต่อสาระที่เรียนรู้
ดี หมายถึง นำเสนอได้ตามองค์ประกอบ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ ตลอดจนมีความพึงพอใจที่ดีต่อสาระที่เรียนรู้
พอใช้ หมายถึง นำเสนอได้ตามองค์ประกอบ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความพึงพอใจที่ดีต่อสาระที่เรียนรู้ มีข้อบกพร่องบ้าง แต่ไม่เป็นประเด็นสำคัญและไม่มีผลเสียต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ปรับปรุง หมายถึง นำเสนอได้ตามองค์ประกอบ แต่ยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน และมีข้อบกพร่องที่มีผลเสียต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และ/หรือ ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการเรียนรู้ จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข


เงื่อนไขการประเมิน
1. ส่วนเนื้อหาสาระของบทเรียน องค์ประกอบย่อยของรายการประเมินที่ต้องได้รับการประเมินในระดับดี หรือ ดีมาก คือ
1) ความถูกต้องตามหลักวิชา
2) ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ และคุณธรรม จริยธรรม
3) การใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
2. องค์ประกอบย่อยของแต่ละองค์ประกอบยกเว้นในข้อ 1 ต้องได้ระดับการประเมิน พอใช้ ดี ดีมาก อย่างใดอย่างหนึ่ง
3. หากพบว่ามีข้อผิดพลาด (bug) ที่มีผลต่อการใช้สื่อการเรียนรู้จะไม่พิจารณาให้ผ่านการประเมิน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน
1. ชื่อสื่อ สื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้สาระ...
2. วิชา สาระ...รหัส ศ...ระดับช่วงชั้นที่... ปีที่...
3. ลักษณะสื่อที่ใช้เป็นบทเรียนประเภท ซีดี รอม (CD-ROM) จำนวน 1 แผ่น
4. เนื้อหาสาระที่จัดทำสื่อการเรียนรู้ตรงตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ หลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรกลุ่มสาระ... โรงเรียน...
5. อุปกรณ์เสริมในการนำเสนอบทเรียน ประกอบด้วยไมโครโฟน และเครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์หลัก
6. ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์
6.1 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภททุกรุ่น
6.2 มีหน่วยความจำ (RAM) ตั้งแต่ 256 MB ขึ้นไป
6.3 ลำโพงต่อพ่วง
6.4 เครื่องพิมพ์สำเนา (PRINTER)
7. ประเภทของบทเรียน เป็นบทเรียนประเภทสื่อ...ใช้สำหรับประกอบการจัดการเรียนรู้สาระ...สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่... ปีที่... และศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ตลอดจนใช้เป็นชุดทบทวนบทเรียน ในทุกเวลา ทุกโอกาส และทุกสถานที่
8. เนื้อหาโดยย่อ
8.1 ...
8.2 ...
8.3 ...
8.4 ...
9. ลักษณะเด่นของบทเรียน เป็นบทเรียนที่ใช้ง่ายโดยเรียนรู้จากระบบการทำงานที่เป็นระบบ...(อัตโนมัติ หรือไม่อัตโนมัติ) มีเส้นทางการเรียนรู้ที่เข้าใจง่ายสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความต้องการของนักเรียน เป็นบทเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ นักเรียนสามารถใช้ศึกษาเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ โอกาส และช่วงระยะเวลา เป็นบทเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ทั้งด้านทฤษฎี และแนวทางการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี ตลอดจนความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หลังจากนักเรียนได้สิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว และขั้นตอนการพิมพ์สำเนาเพื่อส่งครูผู้จัดการเรียนรู้ในการประมวลผลการเรียนรู้ที่ได้ด้วยความสะดวก ง่าย และรวดเร็ว
10. คุณค่าและประโยชน์ที่นักเรียนและครูผู้จัดการเรียนรู้ได้รับ คือ เป็นบทเรียนที่สนองตอบด้านความรู้ความเข้าใจที่ใช้เวลาในการเรียนรู้น้อยกว่าการเรียนรู้รูปแบบปกติทั่วไป นักเรียนสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง หรือใช้เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจไปพร้อมๆกันในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ และสามารถใช้แก้ปัญหาในเรื่องเวลาในการเรียนรู้เป็นสำคัญ เช่น...
11. ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยี ในครั้งนี้ ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์...(ข้อกำหนดในความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์)
12. องค์ประกอบทั่วไป
12.1 เป็นสื่อการเรียนที่...(ต้อง ไม่ต้อง) มีการติดตั้งโปรแกรมหลัก สามารถใช้งานได้ทันทีทั้งจากแผ่นซีดีรอม และการบรรจุข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
12.2 สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์...(ประเภทใด)
12.3 สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแม้จะไม่มีคู่มือการใช้งานก็สามารถเรียนรู้ได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดหรือการใช้ทางเลือกเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ส่วนที่ 2 รายการประเมินคุณภาพ
ลักษณะแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง โดยกำหนดเป็นค่าระดับคะแนนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
ค่าระดับคะแนน 4 หมายถึง ดีมาก
ค่าระดับคะแนน 3 หมายถึง ดี
ค่าระดับคะแนน 2 หมายถึง พอใช้
ค่าระดับคะแนน 1 หมายถึง ปรับปรุง
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องตามระดับการประเมินของท่าน
รายการประเมิน ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
1. ส่วนนำของบทเรียนเร้าความสนใจ, ให้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น (วัตถุประสงค์ เมนูหลัก ส่วนช่วยเหลือ ฯลฯ)


รายการประเมิน ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
2. เนื้อหาของบทเรียน
2.1 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความกว้าง ความลึก เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2.2 มีความถูกต้องตามหลักวิชา
2.3 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
2.4 สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้, มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2.5 ความยากง่ายเหมาะสมต่อนักเรียน


รายการประเมิน ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
2.6 ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและคุณธรรม จริยธรรม
3. การใช้ภาษา
ใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสมกับวัยของนักเรียน, สื่อความหมายได้ชัดเจน, เหมาะสมกับนักเรียน
4. การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้
4.1 ออกแบด้วยระบบตรรกะที่ดี เนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
4.2 ส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์


รายการประเมิน ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
4.3 มีความยืดหยุ่น สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ควบคุมลำดับเนื้อหา ลำดับการเรียนรู้ และแบบทดสอบได้
4.4 ความยาวของการนำเสนอแต่ละหน่วย/ตอนเหมาะสม
4.5 กลยุทธ์ในการถ่ายทอดเนื้อหาน่าสนใจ
4.6 มีกลยุทธ์การวัดและประเมินผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม มีความหลากหลาย และปริมาณเพียงพอที่สามารถตรวจสอบความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเองได้


รายการประเมิน ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
5. ส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย
5.1 ออกแบบหน้าจอเหมาะสม ง่ายต่อการใช้ สัดส่วนเหมาะสม สวยงาม
5.2 ขนาด สีของตัวอักษร ชัดเจน สวยงาม อ่านง่าย เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน
5.3 ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา และมีความสวยงาม, มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและสร้างภาพ
5.4 คุณภาพการใช้เสียงดนตรี ประกอบการ


รายการประเมิน
ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
5.5 คุณภาพการใช้เสียงดนตรี ประกอบการจัดการเรียนรู้เหมาะสม ชัดเจน น่าสนใจ ชวนคิด น่าติดตาม
6. การออกแบบปฏิสัมพันธ์
6.1 ออกแบบปฏิสัมพันธ์ให้โปรแกรมใช้ง่าย สะดวก โต้ตอบกับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมเส้นทางการเดินบทเรียน (Navigation) ชัดเจน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และสามารถย้อนกลับไปยังจุดต่างๆได้ง่าย, รูปแบบปฏิสัมพันธ์ เช่น การพิมพ์ การใช้เมาส์เหมาะสม, มีการควบคุมทิศทางความช้าเร็วของบทเรียน

รายการประเมิน
ระดับการประเมิน
ดีมาก
(4) ดี
(3) พอใช้
(2) ปรับปรุง
(1)
6.2 การให้ผลป้อนกลับเสริมแรงหรือให้ความช่วยเหลือเหมาะสมตามความจำเป็น มีข้อมูลป้อนกลับที่เอื้อให้นักเรียนได้วิเคราะห์และแก้ปัญหา

ส่วนที่ 3 สรุปข้อคิดเห็นผลการตรวจประเมินสื่อเทคโนโลยี
สรุปผลการพิจารณาในเชิงคุณภาพ โดยให้เหตุผลพร้อมตัวอย่างตามองค์ประกอบการประเมิน ระบุข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำสื่อเทคโนโลยี ตามประเด็นหลักหรือองค์ประกอบของรายการประเมิน คือ
1. ส่วนนำบทเรียน…………………………………........................
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………

2. เนื้อหาสาระของบทเรียน………………………………………..
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………......
3. การใช้ภาษา................................................................................
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………....
4. การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้…………………………..
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………....
5. ส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย…………………………………...
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………....
………………………………………………………………………………
6. การออกแบบปฏิสัมพันธ์………………………........................
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………....
………………………………………………………………………………

7. อื่นๆ............................................................................................
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………....


ลงชื่อ ผู้ประเมิน
(.............................................)
ตำแหน่ง………………………...............
สถาบัน……………………………………...










วิธีดำเนินการและผลการดำเนินการ วิเคราะห์การประเมินคุณภาพของสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน รายการประเมิน ประกอบด้วย ส่วนนำของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียน การใช้ภาษา การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย การออกแบบปฏิสัมพันธ์ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยใช้แบบตรวจประเมินของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545: 93-97) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) โดยกำหนดค่าเป็น 4 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง ผู้วิจัยจึงกำหนดค่าระดับคะแนนเป็นตัวเลข 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ เพื่อให้สะดวกต่อการนำผลไปวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยคำถามรายการประเมิน 6 ด้าน และผู้วิจัยได้เพิ่มด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นด้านที่ 7 เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ของการประเมินทั้ง 7 ด้าน โดยการนำข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญมาแจงนับเพื่อหาค่าทางสถิติ จากตัวอย่างดังนี้






ผลการแจงนับระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน
ตามแบบประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้
ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่... ปีที่... ที่เรียนสาระ...หน่วยที่...เรื่อง...
รายการประเมิน ระดับความคิดเห็น
4 3 2 1
1. ส่วนนำของบทเรียน
เร้าความสนใจ, ให้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น (วัตถุประสงค์ เมนูหลัก ส่วนช่วยเหลือ ฯลฯ)
2. เนื้อหาของบทเรียน
2.1 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความกว้าง ความลึก เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2.2 มีความถูกต้องตามหลักวิชา
2.3 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
2.4 สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน, มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2.5 ความยากง่ายเหมาะสมต่อนักเรียน
2.6 ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและคุณธรรม จริยธรรม
รวม

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ โดยการแทนค่าสูตรด้วยเครื่องคิดเลข (FUJITEL FC-389) ดังปรากฏข้อมูลจากตาราง ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ
ตามแบบประเมินคุณภาพสื่อ...
หน่วยที่... เรื่อง...
รายการประเมิน ระดับการประเมิน
S.D.
4 3 2 1
1. ส่วนนำของบทเรียน
เร้าความสนใจ, ให้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น (วัตถุประสงค์ เมนูหลัก ส่วนช่วยเหลือ ฯลฯ)
2. เนื้อหาของบทเรียน
2.1 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความกว้าง ความลึก เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2.2 มีความถูกต้องตามหลักวิชา
2.3 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
2.4 สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน, มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ระดับค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อสื่อ...ที่ใช้จัดการเรียนรู้สาระ... หน่วยที่...เรื่อง ...
ค่าเฉลี่ย ( ) บอกถึงระดับความคิดเห็นเฉลี่ยของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยใช้ระดับความคิดเห็นที่เสนอแนะโดย John W. Best (1983) อ้างถึงใน กาญจนา วัฒายุ (2548: 166) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้
ค่าเฉลี่ย ( ) = 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย ( ) = 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นพอใช้
ค่าเฉลี่ย ( ) = 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นดี
ค่าเฉลี่ย ( ) = 3.50 – 4.00 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นดีมาก
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) บอกความคิดเห็นที่คล้อยตามกันหรือแตกต่างกัน ของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยกำหนด ดังนี้
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่าตั้งแต่ 1.00 ขึ้นไป หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่าต่ำกว่า 1.00 ลงมา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นคล้อยตามกัน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) มีค่า 0 หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจเหมือนกัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ จากจำนวนข้อคำถาม 21 ข้อ ของผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่านผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 2.50 – 3.49 คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี และผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 3.50 – 4.00 คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า...จำนวน...ข้อคำถาม แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น... จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา มีเพียงข้อคำถามเดียวมีค่า 0 ซึ่งหมายถึงมีความคิดเห็นเหมือนกันทุกท่าน จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นจากการประเมินคุณภาพสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง... อยู่ในระดับความคิดเห็น...ถึง... และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น...






ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ในภาพรวม
ในการใช้...
หน่วยที่...เรื่อง...
ข้อที่ รายการประเมิน


1


2






ส่วนนำของบทเรียน
เร้าความสนใจ, ให้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น (วัตถุประสงค์ เมนูหลัก ส่วนช่วยเหลือ ฯลฯ)
เนื้อหาของบทเรียน
2.1 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความกว้าง ความลึก เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2.2 มีความถูกต้องตามหลักวิชา
2.3 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ
2.4 สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน, มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2.5 ความยากง่ายเหมาะสมต่อนักเรียน
2.6 ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและคุณธรรม จริยธรรม
=
=



สูตรหาค่าเฉลี่ย =
แทนค่าสูตร =
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความคิดเห็นภาพรวมในการประเมินคุณภาพสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...ของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วยข้อคำถาม 21 ข้อ นำค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อ ได้ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความคิดเห็นในอยู่ระดับ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.00
ใช้ค่าความถี่ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละช่องระดับความคิดเห็น เพื่อวิเคราะห์หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้
ระดับความคิดเห็น 4 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 3 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 2 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน
ระดับความคิดเห็น 1 มีจำนวนผู้ตอบทั้งสิ้น ... คน




ผลการวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ในภาพรวม
ตามแบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน
กับการใช้สื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...
ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น








ค่าระดับคะแนนความคิดเห็น



=
=
=
=
f (Frequency) คือ ความถี่ หมายถึงจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละช่องระดับความคิดเห็น
X หมายถึง ค่าคะแนน
N หมายถึง จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม หมายถึง ค่าคะแนนในช่องระดับความคิดเห็นยกกำลังสอง =

สูตรหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน =
แทนค่าสูตร =
=
=
=
=
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์ พบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...แสดงให้เห็นถึงผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น... จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) รายข้อ จากจำนวนข้อคำถาม 21 ข้อ ของผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย... เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่านผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 2.50 – 3.49 คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี และผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ จากเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) ที่กำหนด 4.50 – 5.00 คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า...จำนวน...ข้อคำถาม แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นคล้อยตามกัน จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา มีเพียงข้อคำถามเดียวมีค่า 0 ซึ่งหมายถึงมีความคิดเห็นเหมือนกันทุกท่าน จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นจากการประเมินคุณภาพสื่อ...หน่วยที่...เรื่อง...อยู่ในระดับความคิดเห็น...ถึง...และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น...ส่วนผลการวิเคราะห์แบบประเมินความคิดเห็นในการประเมินคุณภาพสื่อ หน่วยที่...เรื่อง...ในภาพรวมของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วยข้อคำถาม 21 ข้อ นำค่าเฉลี่ยของแต่ละข้อมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อ ได้ค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความคิดเห็นในอยู่ระดับ...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...แสดงให้เห็นถึงผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าต่ำกว่า 1.00
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยรายข้อ ผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ ซึ่งเป็นความคิดเห็นในระดับ...ระดับความคิดเห็นที่ค่าเฉลี่ย...จำนวน...ข้อ คือ ความคิดเห็นระดับ...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า...จำนวน...ข้อคำถาม แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น...จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.00 ลงมา มีเพียงข้อคำถามเดียวมีค่า 0 ซึ่งหมายถึงมีความคิดเห็นเหมือนกัน ความคิดเห็นในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย...ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบมีความคิดเห็นในอยู่ระดับ...ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ...แสดงให้เห็นถึงผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น...จึงสรุปได้ว่า สื่อ... สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้สาระ...ได้อย่างมีคุณภาพ










ภาคผนวก ข
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
**แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นแผนที่สมบูรณ์ เริ่มด้วยการวิเคราะห์หลักสูตรกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการจัดทำ และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยนำเสนอเพื่อให้ได้ทราบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยละเอียด**















ภาคผนวก ค
การประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้
เฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้
แบบประเมินประสิทธิภาพของแบบทดสอบ
การประเมินประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หน่วยที่...เรื่อง...







แบบประเมินการตรวจสอบความตรงของแบบทดสอบ
หน่วยที่...เรื่อง...

คำชี้แจง เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันที่ใช้ทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบปกติ และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...
การตรวจสอบความตรง (Validity) โดยการกำหนดค่าคะแนน ดังนี้
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ข้อคำถามที่ ความเห็น ข้อคำถามที่ ความเห็น


ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง........................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบประเมินความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ
หน่วยที่...เรื่อง...
คำชี้แจง เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันที่ใช้ทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบปกติ และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...
ความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยกำหนดค่าคะแนน ดังนี้
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ข้อคำถามที่ ความเห็น ข้อคำถามที่ ความเห็น




ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง........................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

การตรวจสอบหาค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบซ้ำ (Test - Retest)

คนที่ สอบครั้งที่ 1
X X2 สอบครั้งที่ 2
Y Y2 XY
1
2
N = X = X2 =  Y = Y2 = XY =

การวิเคราะห์ค่าความยากง่ายของข้อสอบ (Difficulty)
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม






ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มสูง
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
สูง
สูง
สูง
สูง คนที่ 1
คนที่ 2
คนที่ 3
คนที่ 4
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม

ข้อสอบข้อที่ 1 ค่าความยากง่าย = % ค่าอำนาจจำแนก =
ข้อสอบข้อที่ 2 ค่าความยากง่าย = % ค่าอำนาจจำแนก =
ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มต่ำ
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ คนที่ 1
คนที่ 2
คนที่ 3
คนที่ 4
รวมกลุ่มต่ำ
การวิเคราะห์ค่าความยากง่ายของข้อสอบ (Difficulty)
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม
**ตัวอย่างการแจงนับข้อมูลในการตรวจสอบค่าความตรงและความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ
การหาเกณฑ์ประสิทธิภาพของแบบทดสอบ หน่วยที่...เรื่อง ... ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนหน่วยหนึ่งของสาระ... โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพ 5 ประการ คือ
1. การตรวจสอบความตรง (Validity) ใช้ดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ให้ความเห็นในด้านความตรงของแบบทดสอบ ซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยี ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยที่ 2 วิธีเกิดเสียง เรื่อง เครื่องดนตรีสากล โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( )
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นำคะแนนที่ได้คำนวณหาค่า (Index of Item Objective Congruence) คำนวณโดยใช้สูตร
=
หมายถึง ค่าความตรง
หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทุกคน
หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
ค่าดัชนีความสอดคล้องที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 โดยใช้ตารางในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
การตรวจสอบความตรง ของแบบทดสอบ
หน่วยที่...เรื่อง...ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ...
ข้อคำถามที่ ท่านที่ 1 ท่านที่ 2 ท่านที่ 3 ท่านที่ 4 ท่านที่ 5



1 + 1 + 1 + 1 + 1 + 1
1.00
2 + 1 0 + 1 + 1 + 1
0.80
3 0 + 1 + 1 + 1 0
0.60

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบที่คำนวณได้มากกว่า...คือ...,...และ...จึงถือได้ว่าแบบทดสอบมีความตรงในสิ่งที่ต้องการวัด สามารถนำไปใช้ทดสอบนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ใช้ดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ให้ความเห็นในความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ ซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ...หน่วยที่...เรื่อง... โดยการตรวจสอบความเป็นปรนัยด้วยวิธีการเดียวกันกับการตรวจสอบความตรง ค่าดัชนีความสอดคล้องที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบที่คำนวณได้มากกว่า 0.50 คือ...,...และ...จึงถือได้ว่าแบบทดสอบมีความเป็นปรนัยในสิ่งที่ต้องการวัด สามารถนำไปใช้ทดสอบนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ใช้วิธีสอบซ้ำ (Test - Retest) โดยนำแบบทดสอบที่จัดทำขึ้นของบทเรียนหน่วยที่...เรื่อง...ใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ...ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน จำนวน 10 คน กำหนดให้ระยะการทดสอบห่างกัน 15 วัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน แล้วนำผลที่ได้จากการทดสอบทั้งสองครั้งไปคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น โดยกำหนดให้การทดสอบ ครั้งที่ 1 เป็นคะแนนรวมในช่อง X และการทดสอบครั้งที่สองเป็นคะแนนรวมในช่อง Y กำหนดค่าสหสัมพันธ์ (r) มีค่าไม่น้อยกว่า 0.80 จากตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
**ตัวอย่าง การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น**
การตรวจสอบหาค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบซ้ำ (Test - Retest)

คนที่ สอบครั้งที่ 1
X X2 สอบครั้งที่ 2
Y Y2 XY
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10 12
9
10
17
14
11
15
8
12
7 144
81
100
289
196
121
225
64
144
49 14
10
10
16
15
12
17
9
13
8 196
100
100
256
225
144
289
81
169
64 168
90
100
272
210
132
255
72
156
56
N = 10 X = 115 X2 = 1413  Y = 124 Y2 = 1624 XY = 1511


คำนวณค่าความเชื่อมั่น ใช้วิธีของ Pearson Product Moment Correlation ดังนี้
r =

r =

r =

r =

r =

r =

r =

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.96 ถือว่าผลของการทดสอบทั้งสองครั้งมีความสัมพันธ์กัน นั่นคือการทดสอบครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 มีผลคงที่ มีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูง
4. การตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบในการจัดการเรียนรู้...ด้วยสื่อ...หน่วยที่... เรื่อง...เป็นการจำแนกข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ใช้การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก 27 % ได้นักเรียนที่นำมาวิเคราะห์ข้อสอบ จำนวน 16 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มสูง 8 คน นักเรียนกลุ่มต่ำ 8 คน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน สูตร KR-21 อ้างถึงใน กาญจนา วัฒายุ (2548: 221-222) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กำหนดค่าความเชื่อมั่นในการตรวจสอบที่ 0.20 – 0.80 โดยใช้ตารางวิเคราะห์ ข้อมูล ดังนี้









**ตัวอย่าง การตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก**

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มสูง
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง คนที่ 1
คนที่ 2
คนที่ 3
คนที่ 4
คนที่ 5
คนที่ 6
คนที่ 7
คนที่ 8 /
/
/
/
/
/
/
/






/





/
/
/
/
/
/
/


รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม -
2
2 8
2
10 -
2
2 -
2
2 0
0
0 -
3
3 1
2
3 1
1
2 6
2
8 0
0
0

ข้อสอบข้อที่ 1 ค่าความยากง่าย = 62.50 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.75
ข้อสอบข้อที่ 2 ค่าความยากง่าย = 50.00 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.50


ตารางวิเคราะห์ข้อสอบวิชา สาระเพิ่มเติม ดนตรีสากลปฏิบัติรวมวง กลุ่มต่ำ
ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ คนที่ 1
คนที่ 2
คนที่ 3
คนที่ 4
คนที่ 5
คนที่ 6
คนที่ 7
คนที่ 8



/

/

/

/

/

/




/

/ /
/





/

/
/





/



/
/


รวมกลุ่มต่ำ 2 2 2 2 0 3 2 1 2 0

หมายเหตุ ตัวอย่างที่ให้มาเป็นเพียงการวิเคราะห์แบบทดสอบเพียง 2 ข้อ ดังนั้นต้องทำให้ครบ 20 ข้อ แล้วนำผลมาหาคำตอบด้วยสูตรการหาค่าอำนาจจำแนก แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณไปใส่ใต้ตารางในหน้าที่ 120 จะได้ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
การคำนวณค่าอำนาจจำแนก ผู้วิจัยตรวจสอบโดยใช้สูตรของ สมบุญ ภู่นวล (2525) อ้างถึงในกาญจนา วัฒายุ (2548: 222) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จากตารางที่ 38 ถึงตารางที่ 57 ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 20 คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้

ข้อที่ 1
ค่าอำนาจจำแนก (r) =
ค่าอำนาจจำแนก (r) =
ค่าอำนาจจำแนก (r) = 0.75
ข้อที่ 2

ค่าอำนาจจำแนก (r) =
ค่าอำนาจจำแนก (r) =
ค่าอำนาจจำแนก (r) = 0.50
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การกำหนดค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ ระหว่าง 0.20 – 0.80 ซึ่งเป็นข้อสอบที่ดี และถือว่าถ้าข้อสอบมีค่าอำนาจจำแนก ไม่เกิน 0.80 ถือว่าเป็นข้อสอบที่ยอมรับได้ การจำแนกค่าอำนาจจำแนก ในการจัดการเรียนรู้สาระ...อยู่ในระหว่าง 0.25 – 0.88 ถือเป็นข้อสอบที่ยอมรับได้และข้อสอบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์เกือบดี
5. การวิเคราะห์ค่าความยากง่ายของข้อสอบ (Difficulty) โดยใช้กับการจัดการเรียนรู้สาระ...โดยใช้ตารางวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ที่ ข้อที่ 1 2
นักเรียน ก ข* ค ง ว ก ข ค ง* ว
รวมกลุ่มสูง
รวมกลุ่มต่ำ
รวมสองกลุ่ม -
2
2 8
2
10 -
2
2 -
2
2 0
0
0 -
3
3 1
2
3 1
1
2 6
2
8 0
0
0

คำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
ข้อที่ 1
ความยากง่าย (p) =
ความยากง่าย (p) =
ความยากง่าย (p) = 62.50 %
ข้อที่ 2
ความยากง่าย (p) =
ความยากง่าย (p) =
ความยากง่าย (p) = 50.00 %
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ให้มา 2 ข้อ นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณไปใส่ใต้ตารางในหน้าที่ 120 จะได้ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ
ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบทั้ง 20 ข้อ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก แยกตามรายข้อ ดังนี้
ข้อสอบข้อที่ 1 ค่าความยากง่าย = 62.50 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.75
ข้อสอบข้อที่ 2 ค่าความยากง่าย = 50.00 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.50
ข้อสอบข้อที่ 3 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 4 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 5 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 6 ค่าความยากง่าย = 31.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.25
ข้อสอบข้อที่ 7 ค่าความยากง่าย = 37.50 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.25
ข้อสอบข้อที่ 8 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 9 ค่าความยากง่าย = 37.50 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.25
ข้อสอบข้อที่ 10 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 11 ค่าความยากง่าย = 31.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.63
ข้อสอบข้อที่ 12 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 13 ค่าความยากง่าย = 31.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.63
ข้อสอบข้อที่ 14 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.63
ข้อสอบข้อที่ 15 ค่าความยากง่าย = 50.00 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.50
ข้อสอบข้อที่ 16 ค่าความยากง่าย = 56.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.63
ข้อสอบข้อที่ 17 ค่าความยากง่าย = 37.50 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 18 ค่าความยากง่าย = 31.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.38
ข้อสอบข้อที่ 19 ค่าความยากง่าย = 43.75 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.63
ข้อสอบข้อที่ 20 ค่าความยากง่าย = 56.25 % ค่าอำนาจจำแนก = 0.88
จากข้อมูลข้างต้น ค่าความยากง่ายเท่ากับร้อยละ 31.25 – 62.50 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบที่เป็นอุดมคติมีค่า 50 % แสดงให้เห็นว่าความยากง่ายของข้อสอบอยู่ในเกณฑ์ยากง่ายที่แตกต่างกัน ข้อสอบที่มีความยากมากขึ้นมีจำนวน 15 ข้อ ข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางมีจำนวน 2 ข้อ และข้อสอบที่มีความง่ายจำนวน 3 ข้อ
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การกำหนดค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ ระหว่าง 0.20 – 0.80 ซึ่งเป็นข้อสอบที่ดี และถือว่าถ้าข้อสอบมีค่าอำนาจจำแนก ไม่เกิน 0.80 ถือว่าเป็นข้อสอบที่ยอมรับได้ และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 1.00 จัดเป็นข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกดีเยี่ยม คือ สามารถจำแนกได้ 100 % ว่านักเรียนกลุ่มสูงเป็นนักเรียนเก่งจริง และนักเรียนกลุ่มต่ำเป็นนักเรียนอ่อนจริง จึงกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก ของแบบทดสอบในการจัดการเรียนรู้สาระ...อยู่ระหว่าง 0.25 – 0.88 เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าอำนาจจำแนก 0.25 – 0.38 มีจำนวน 11 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.50 – 0.88 มีจำนวน 9 ข้อ จึงสรุปได้ว่า ข้อสอบเป็นที่ยอมรับได้และข้อสอบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี
การกำหนดค่าความยากง่ายของแบบทดสอบที่เป็นอุดมคติมีค่า 50 % เป็นที่น่าสังเกตว่ามีผู้ตอบถูกต่ำกว่า 50 % คือ ข้อสอบข้อที่ 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 17, 18 และ 19 แสดงให้เห็นถึงข้อสอบมีความยากมากขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่าง 31.25 % - 43.75 % ผู้ที่ตอบสูงกว่า 50 % คือ ข้อสอบข้อที่ 1, 16, และ 20 แสดงให้เห็นถึงข้อสอบมีความง่ายขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่าง 56.25 % - 62.50 % และผู้ที่ตอบถูก 50 % คือ ข้อสอบข้อที่ 2 และ 15 แสดงให้เห็นถึงข้อสอบมีความยากง่ายปานกลาง
ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า แบบทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้มีความตรงที่ยอมรับได้ ซึ่งดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบที่คำนวณได้มากกว่า 0.50 คือ 0.60, 0.80 และ 1.00 ความเป็นปรนัยมีดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบที่คำนวณได้มากกว่า 0.50 คือ 0.60, 0.80 และ 1.00 ถือว่ามีความเป็นปรนัยที่ยอมรับได้ ค่าความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.96 ถือว่าผลของการทดสอบทั้งสองครั้งมีความสัมพันธ์กัน นั่นคือการทดสอบครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 มีผลคงที่ มีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูง ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ ระหว่าง 0.25 – 0.88 ถือเป็นข้อสอบที่ยอมรับได้และข้อสอบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์เกือบดี และความยากง่ายของแบบทดสอบมีความยากง่ายที่แตกต่างกันโดยมีข้อยากมากกว่าง่าย














ภาคผนวก ง
การออกแบบการจัดทำสื่อ...
(Story Board)
**กำหนดการวางโครงเรื่องในการจัดทำ ให้เห็นขั้นตอนการจัดทำสื่อ...โดยกำหนดการวางแผนเป็นกรอบนำเสนอขั้นตอนการจัดทำพอสังเขป**









8.ประวัติผู้วิจัย แสดงให้เห็นข้อมูลที่สำคัญของผู้วิจัยซึ่งไม่ควรเกิน 1 หน้า ดังตัวอย่าง
ประวัติผู้วิจัย
นายธนาคาร แพทย์วงษ์ เกิดวันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2497 ณ บ้านเลขที่ 191 ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาดนตรี แขนงดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2541
ประวัติและผลงานดีเด่น
ปีการศึกษา 2526 ได้รับการเสนอชื่อคัดเลือกครูตัวอย่างประจำ กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2527 ได้รับรางวัลครูดีเด่นเขตการศึกษา 5 จังหวัดราชบุรี สาขา ดนตรีสากล
ปีการศึกษา 2529 เป็นครูตัวอย่างด้านวัฒนธรรม สาขา นันทนาการ ของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
ปีการศึกษา 2534 ผ่านการสอบคัดเลือกศึกษานิเทศก์ สาขาศิลปศึกษา (ดนตรีสากล) เขตการศึกษา 5
เป็นคณะกรรมการตัดสินประกวดวงโยธวาทิต และวงเมโลเดียน ชิงถ้วยพระราชทานฯ จัดโดยสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2545 เป็นครูแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2546 เป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2548 เป็นครูดีในดวงใจ ปีการศึกษา 2549 เป็นวิทยากรแกนนำสาระการเรียนรู้ศิลปะปี 2549 เป็นคณะกรรมการตัดสินของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ผลงานด้านวงโยธวาทิต รางวัลชนะเลิศเขตการศึกษา และรางวัลรองชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปัจจุบัน ตำแหน่งครู (วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ) โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ