วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ และการใช้ประโยชน์ต่างๆของวงโยธวาทิต

บทที่ 4

หน้าที่และการใช้ประโยชน์ต่างๆของวงโยธวาทิต

สรุประเบียบการบรรเลงวงโยธวาทิตในการพระราชพิธีหรือพิธีการต่าง ๆ
ตามประกาศของสำนักพระราชวัง (พุทธศักราช 2528)
ข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการเคารพ (ฉบับที่ 6/2523)
และตามประเพณีนิยมของไทยและสากล

ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้อื่น หรือในงาน
1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน 1.เสด็จฯถึงและ
2.เสด็จฯกลับ 1. วงดนตรีทุกชนิดบรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมี
2. แตรเดี่ยวบรรเลงเพลงคำนับ 3 จบ
3. ขลุ่ยกลองบรรเลงเพลงมหาชัย -
2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ในพิธีการที่จัดกองเกียรติยศสำหรับบุคคลอื่นอีกด้วย (เช่น เสด็จฯประกอบพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ หรือเสด็จงานศพ ที่มีกองเกียรติยศด้วย 1.เสด็จฯถึง
2.เมื่อจบพิธีของผู้ที่ได้รับจัดกองเกียรติยศแล้ว
3.เสด็จฯกลับ 1.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายการเคารพ
2.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี 1.ถวายการเคารพโดยไม่ต้องบรรเลง
2.กองเกียรติยศสำหรับผู้นั้นกลับ
3.กองเกียรติยศสำหรับพระราชานุสาวรีย์ คงรออยู่จนกว่าจะเสด็จฯกลับ ทำความเคารพโดยไม่ต้องบรรเลง
3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยประมุขต่างประเทศ 1เสด็จฯถึง

2.กรณีประมุขของประเทศนั้น 1.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้นแล้วบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
2.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้นแล้วบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี


ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้อื่น หรือในงาน
เสด็จฯหรือไปตามลำพัง
3.เสด็จฯกลับ

3.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
4 กรณีจัดกองเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกองเกียรติยศสำหรับประมุขต่างประเทศแยกกัน 1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯถึง
2.ประมุขต่างชาติเสด็จฯ
3.เสด็จฯกลับพร้อม
ด้วยประมุขต่างประ
เทศ
4.เสด็จฯถึง
5.ประมุขต่างประ
เทศเสด็จฯมาถึง
6.เสด็จฯพร้อมกับประมุขต่างประเทศ 1.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพ

2.ทำความเคารพโดยไม่ต้องบรรเลง

3.ทำความเคารพ เมื่อจบแล้วบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

4.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
5.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น

6.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้นก่อน และบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี 1.ถวายความเคารพโดยไม่ต้องบรรเลง
2.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น
3.บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้นก่อน
5 กรณีจัดกองเกียรติยศกองเดียว 1.เสด็จฯถึง และ
2.เสด็จฯกลับ 1.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
6 พิธีการที่สมเด็จพระบรมราชินีนารถในรัชกาลอื่น หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ 1.เสด็จฯถึง และ
2.เสด็จฯกลับ 1.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
2. บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
7 พิธีการที่สมเด็จพระบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าหรือพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ 1.เสด็จฯถึง และ
2.เสด็จฯกลับ 1.บรรเลงเพลงมหาชัย
2.บรรเลงเพลงมหาชัย

ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้อื่น หรือในงาน
8 พิธีการที่ผู้แทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนิน
1.ถ้าผู้แทนพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า หรือพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
2.ถ้าผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น


1.เสด็จฯถึง
2.เสด็จฯประทับเรียบร้อยแล้ว
3.เสด็จฯกลับ

1.เมื่อมาถึง
2.เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว
3.เมื่อกลับ


1.บรรเลงเพลงมหาชัย
2.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

3.บรรเลงเพลงมหาชัย

1.ไม่ต้องบรรเลง
2.บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

3.ไม่ต้องบรรเลง








เป็นการเปิดงาน
9 ในกรณีจัดกองเกียรติยศตำรวจหรือลูกเสือคงปฏิบัติเช่นเดียวกับกองทหารเกียรติยศ

แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา เกี่ยวกับการรับพระกฐินหลวงและพระกฐินพระราชทาน
การจัดดุริยางค์บรรเลง รับ ส่ง
1. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลก่อน สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาถึง ให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ควบคุมแถวบอกทำความเคารพ นักเรียน นักศึกษา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเคารพตามระเบียบว่าด้วยการนั้น ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
2. พระกฐินหลวงที่พระราชทานพระราชวงศ์ องคมนตรี ไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง เมื่อเสด็จหรือไปถึงวัดรับผ้าไตรของหลวงเชิญเข้าสู่พระอุโบสถ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อกลับบรรเลงเพลงมหาชัย


3. นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดถวายมาถึง รับผ้าไตรของหลวงเชิญเข้าสู่พระอุโบสถ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเมื่อนายกรัฐมนตรีกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัย ส่วนบุคคลอื่นผู้มีเกียรตินอกจากนี้ เมื่อกลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใดๆ (งานประชาสำพันธ์ สำนักพระราชวัง, 2528: 64-66)

สรุปข้อปฏิบัติในการบรรเลงของวงดนตรีสากลในงานหรือพิธีตามประเพณีไทยและสากล

ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
และหรือกองเกียรติยศ หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์
1 พิธีทำขวัญเดือน 1.พราหมณ์ตีฆ้องชัยบอกเวลาฤกษ์
2.ระหว่างการเวียนเทียน 1.บรรเลงเพลงมหาฤกษ์

2.บรรเลงเพลงนางนาค
2 พิธีทำขวัญนาคและบวชนาค 1.ระหว่างการเวียนเทียน
2.เมื่อจบพิธีทำขวัญ
3.ระหว่างแห่นาค
4.ระหว่างเวียนรอบโบสถ์ 1.บรรเลงเพลงนางนาค
2.บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
3.บรรเลงเพลงจังหวะเดินต่างๆ
4.บรรเลงเพลงจังหวะเดินต่างๆ
3 พิธีบวชนาค 1.การแห่นาคจากบ้านไปวัด

2.ขณะเวียนขวารอบโบสถ์ 1.บรรเลงเพลงแห่ประเภทเพลงเดินต่างๆ เพลงสมัยนิยม
2.บรรเลงเพลงที่มีจังหวะลีลาที่ไม่อึกทึกครึกโครมนัก และมีความหมายเป็นมงคล เช่น เพลงแกว่งฉลาก คลื่นกระทบฝั่ง หรือเพลงสมัยนิยม เป็นต้น
4 พิธีศพ 1.ขณะมีการเคารพศพ เช่น จุดธูปเทียน หรือวางดอกไม้ที่หน้าศพเป็นครั้งแรก กรณีมีเครื่องประกอบเกียรติยศ
2.ขณะเวียนศพรอบเมรุก่อนตั้งศพ
3.ขณะประธานจุดไฟศพ 1.เครื่องประโคมหลวง ประโคม หรือเพลง


2.ดนตรีบรรเลงเพลงพญาโศก

3.เครื่องประโคม ประโคม หรือ

ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
และหรือกองเกียรติยศ หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์
เพลง
5 การแต่งงาน
1.การหมั้น







2.การรดน้ำ


3.การฉลองแต่งงาน
1.การรับเชิญขันหมากหมั้น

2. การกล่อมหอ


3.การแห่ขันหมากแต่งงาน


1.ก่อนพระสวดมนต์และระหว่างการรดน้ำ เมื่อพระสงฆ์สวดชยันโตจบแล้ว
1.ถ้ามีการดื่มถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.ถ้ามีการดื่มอวยพร

3.ถ้ามีการรื่นเริงต่อ
1.บรรเลงเพลงที่มีลีลาความหมายรื่นเริงแจ่มใสเป็นมงคล
2. บรรเลงเพลงที่มีลีลาและความหมายของความสดชื่น สงบสุข เป็นมงคล
3.บรรเลงเพลงนำขบวนประเภทเพลงเดินต่างๆที่มีลีลาสนุกสนาน ร่าเริงแจ่มใส
1.บรรเลงเพลงต่างๆ ห้ามเฉพาะเพลงที่ไม่เป็นมงคล หรือความหมายไม่ดี
1.เมื่อผู้กล่าวเชิญชวนกล่าวจบ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
2.เมื่อผู้อวยพรกล่าวจบ บรรเลงเพลงมหาฤกษ์แบบสังเขป
3.บรรเลงเพลงต่างๆ ห้ามเฉพาะเพลงที่ไม่เป็นมงคล หรือความหมายไม่ดี
6 การฉลองวันเกิด 1.ถ้ามีการกล่าวดื่มอวยพร
2.ถ้ามีการตัดเค้กวันเกิด
3.ถ้ามีการรื่นเริงต่อ 1.บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
2.บรรเลงเพลงอวยพรวันเกิด
3.บรรเลงเพลงต่างๆ
7 การฉลองขึ้นบ้านใหม่ 1.ถ้ามีการกล่าวและดื่มอวยพร
2.ถ้ามีการรื่นเริง 1.เพลงมหาฤกษ์แบบสังเขป
2. บรรเลงเพลงต่างๆ ห้ามเฉพาะเพลงที่ไม่เป็นมงคล หรือความหมายไม่ดี


ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
และหรือกองเกียรติยศ หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์
8 พิธีเปิดป้ายหรืออาคาร 1.ขณะเจิม และหรือสวดชยันโต
2.ถ้ามีการกล่าวและดื่มอวยพร 1.เพลงมหาฤกษ์
2.เมื่อกล่าวจบบรรเลงเพลงมหาฤกษ์แบบสังเขป
9 ปีใหม่ 1.ขณะเริ่มวันใหม่ พระเคาะระฆังและสวดชยันโต

2.งานรื่นเริงต่างๆ 1.ดนตรีบรรเลงเพลมหาฤกษ์ แล้วบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์พรปีใหม่
2.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
10 ตรุษสงกรานต์ 1.การแห่พระและสรงน้ำพระ

2.งานรื่นเริงต่างๆ 1.บรรเลงนำขบวนประเภทเพลงแห่ต่างๆ
2.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
11 วิสาขบูชา 1.การประกวดตกแต่งพวงมาลาดอกไม้
2.การเวียนเทียน
3.การสวดมนต์ไหว้พระ 1.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
2.ไม่ควรมีการบรรเลง
3.ก่อนพิธีควรบรรเลงเพลงสาธุการ
12 การเข้าพรรษา การแห่เทียน 1.บรรเลงนำขบวนแห่ประเภทเพลงเดิน
13 การออกพรรษา 1.การแห่พระ ตักบาตรเทโว

2.การเทศน์มหาชาติ 1.บรรเลงนำขบวนแห่ประเภทเพลงเดิน
2.ก่อนการอาราธนาศีลบรรเลงเพลงสาธุการ และเมื่อเทศน์จบแต่ละกัณฑ์ บรรเลงเพลงประจำกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์
14 การทอดกฐิน 1.การฉลองกฐิน

2.การแห่กฐิน 1.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
2.บรรเลงนำขบวนแห่ประเภทเพลงเดิน

ที่ พิธีการ การปฏิบัติของวงดนตรี
และหรือกองเกียรติยศ หมายเหตุ
โอกาส สถานการณ์
การทอดผ้าป่า 1.การฉลองผ้าป่า

2.การแห่ผ้าป่า 1.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
2.บรรเลงนำขบวนแห่ประเภทเพลงเดิน
15 การลอยกระทง 1.การแห่กระทง

2.การรื่นเริง 1.บรรเลงนำขบวนแห่ประเภทเพลงเดิน
2.บรรเลงตามความเหมาะสม เช่น เพลงรำวงวันลอยกระทง เป็นต้น
16 เฉลิมพระชนม์พรรษา 1.การทำบุญตักบาตร

2.การละเล่นรื่นเริงต่างๆ 1.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ
2.บรรเลงตามความเหมาะสม ตามกาลเทศะ

(กรมวิชาการ, 2529: 59 – 66)

ประวัติเพลงที่ใช้ในพิธีการต่างๆ
ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี
การบรรเลงแตรวงในเมืองไทย เริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่ 4 โดยครูคนแรกเป็นชนชาวอังกฤษสอนแต่เพลงฝรั่งสำหรับทหารเดินแถว และเมื่อตั้งแถวคำนับก็จะใช้เพลง ก๊อดเซฟเดอะควีน (God Save the Queen) ตามแบบอังกฤษ และใช้เพลงนี้เป็นเพลงเคารพมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จชวาใน พ.ศ.2414 ขณะที่ประทับอยู่ที่สิงคโปร์ อังกฤษก็ใช้เพลงเดิมรับเสด็จ แต่เมื่อเสด็จไปถึงเมืองปัตตาเวียพวกฮอลันดาคงจะถามถึงเพลงชาติไทย เพื่อเอาไปบรรเลงรับเสด็จจึงได้เกิดดำริที่จะให้มีเพลงชาติของไทยสำหรับแตรวงรับเสด็จขึ้น เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกผู้ชำนาญเพลงไทยมาปรึกษาเพื่อหาเพลงไทยที่ควรนำมาใช้เป็นเพลงคำนับรับเสด็จอย่างเพลง ก๊อดเซฟเดอะควีน บ้าง ผู้ชำนาญดนตรีไทยที่ประชุมปรึกษานั้นมี นายมรกตครูสอนมโหรีหลวงคนหนึ่ง พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) คนหนึ่ง พระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร) คนหนึ่ง ในที่สุดก็ได้เสนอเพลงไทยของ

เก่าเพลงหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงตั้งชื่อไว้ว่า “สรรเสริญพระบารมี” เพลงนี้จัดอยู่ในเพลงตับมโหรี มี 3 เพลงด้วยกัน คือ สรรเสริญพระบารมี กินรีฟ้อน ศศิธรทรงกลด เพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระสุบินเห็นพระจันทร์เพ็ญเลื่อนลอยอยู่ในนภากาศอันงดงาม พร้อมกันนั้นก็ทรงได้ยินเป็นเสียงทิพย์ดนตรีดังมาในอากาศ เมื่อตื่นจากบรรทมแล้วก็ยังทรงจำทำนองนั้นได้จึงทรงสีซอสามสายที่ชื่อว่า “สายฟ้าฟาด” และทรงต่อเพลงนี้ให้แก่เจ้าจอมผู้หนึ่งจึงได้แพร่หลายต่อมาและเรียกชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “บุหลันลอยฟ้า” บางทีก็เรียกว่า “เพลงทรงพระสุบิน” หรือ “เพลงสรรเสริญพระจันทร์” และ “สรรเสริญพระบารมี” ในตอนหลังมาเรียกกันว่า “สรรเสริญพระบารมีไทย” เพลงนี้ใช้บรรเลงในวงมโหรีปี่พาทย์
อีกนัยหนึ่งนั้นก็ว่าเจ้าจอมมโหรีคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ฝันว่ามีผู้มาบอกเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ให้ จึงได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ต่อและซ้อมไว้ในวงมโหรีหลวง จะอย่างไรก็ตามถือกันว่าทำนองเพลงนี้เป็นเพลงที่มีมาแต่โบราณ เชิดชูกันด้วยชื่อเป็นนิมิตรเฉลิมพระเกียรติ จึงให้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีไปพลาง และพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้แต่งบทร้องขึ้นประกอบกับทำนองเพลงเป็นโครงกระทู้ว่า

ความ สุขสมบัติทั่ว บริวาร
เจริญ พละปฏิภาณ ย่องแย้ง
จง ยื่นพระชนม์บาน นับรอบ ร้อยแฮ
มี พระเกียรติเลิศแล้ว เล่ห์เพี้ยงเพ็ญจันทร์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสิงคโปร์และเกาะชวา ราว พ.ศ. 2413 โปรดทำนองเพลงฝรั่งเพลงหนึ่ง จึงโปรดให้ มิสเตอร์ ฮูวิสเซ่น ชาติโปรตุเกต ซึ่งเป็นครูแตรวงทหารมหาดเล็กในสมัยนั้น เป็นผู้ประพันธ์ทำนองได้นำเอาทำนองเพลงฝรั่งเพลงนั้นไปปรับปรุงแต่งขึ้นให้เป็นเพลงสำหรับแตรวงบรรเลงเป็นเพลงคำนับ และรับเสด็จได้อย่างเพลง God Save the Queen ของอังกฤษ มิสเตแร์ ฮูวิสเซ่น ก็ได้ปรับปรุงทำนองเพลงขึ้นใหม่ คือ เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาทำนองเพลงโดยละเอียดแล้วจะเห็นว่าการสร้างเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ มิสเตอร์ ฮูวิสเซ่น ได้ใช้ทำนองเพลงฝรั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดนั้นเป็นหลัก ผสมด้วยแตรสังข์และทำนองเพลงไทยโบราณ ที่ลาลูแบร์บันทึกเป็นตัวโน้ตไว้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีบทร้องขึ้นต้นว่า “สายสมร” รวมระคนกันขึ้นเป็นเพลง สรรเสริญพระบารมี

ส่วนการแยกเสียงประสานนั้น ครูฟุสโก เป็นชาวอิตาเลียน ซึ่งแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน ซึ่งเดิมเป็นครูสอนทหารมารีน ครั้งรวมทหารมารีนกับทหารเรือเวสาตรีตั้งเป็นกรมทหารเรือ ครูฟุสโกจึงเป็นครูแตรทหารเรือ ได้เป็นผู้แต่งเสียงประสานสำหรับให้แตรวงทหารเรือบรรเลงเป็นครั้งแรก แล้วพระยาวานิตบรเทศ (หม่อมราชวงศ์ชิด) จึงแต่งเสียงประสานให้แตรวงทหารบกได้บรรเลงบ้าง ส่วนการประสานเสียงแบบเปียโน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัติวงศ์ ได้ทรงขอให้ฝรั่งผู้หนึ่งกระทำขึ้น ดังสำเนาลายพระหัตถ์ถึงฝรั่งผู้นั้น คือเขียนถึง “มิสเตอร์ยอร์จ” ใจความว่า “ข้าพเจ้าได้เขียนโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีตามเนื้อที่แตรเป่าส่งมาให้ท่านนี้ สำหรับที่ท่านจะได้ดูเป็นทางที่จะทำเป็นโน้ตสำหรับเปียโน ให้มีพร้อมทั้งมือซ้ายและมือขวา เพื่อนข้าพเจ้าเขาขอมาข้าพเจ้าเชื่อว่า ไม่มีใครจะทำได้ดีกว่าท่านในกรุงเทพฯนี้ ถ้าท่านทำได้สำเร็จสมประสงค์ ข้าพเจ้าจะขอบใจเป็นอันมาก” ครั้นฝรั่งท่านนั้นได้ทำโน้ตเปียโนเสร็จแล้วก็ส่งมาถวาย แต่เซ็นชื่อกำกับโน้ตซึ่งเป็นพาร์ต เปียโนนั้นว่า C.S.G. จึงไม่ทราบว่าผู้นี้เป็นใคร
เพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ แต่เดิมก็ยังมิได้บังคับแน่นอนว่าให้เป็นอย่างนี้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศฯได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องสำหรับให้พวกนักดนตรีทหารขับร้องขึ้นก่อน ดังนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าวิริยพลพา
สบสมัยตา ละปิริกมล
ร่วมนรจำเสียงพรรค์ สรรดุริยพล
สฤษดิมณฑล ทำสดุดี แดนฤบาล
ผลพระคุณะรักษา พลมิกายะสุขสานต์
ขอบันดาล พระประสงค์ใด
จงสฤษดิดัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ฉนี้

แล้วต่อมาทรงพระนิพนธ์เปลี่ยนถ้อยคำตอนต้น เพื่อให้พวกดนตรีชายร้องร่วมกันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุพยุพดี
ยอกรชุลี วรมหาบงส์
ส่งศัพท์ถวายชัย ในนฤประสงค์

พระยศยิ่งยง เย็นศิริเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณะรักษา ปวงประชาเป็นสุขสาร
ขอบันดาล พระสงค์ใด
จงสฤษดิดัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ฉนี้

ส่วนนักเรียนชายทรงนิพนธ์บทร้องตอนต้น ดังนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าดรุณะกุมารา
ยอกรวันทา วรบทบงส์
ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤประสงค์ ฯลฯ

นักเรียนหญิงเปลี่ยนตอนต้น ดังนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าดรุณะกุมารี
ยอกรชุลี วรบทบงส์
ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤประสงค์ ฯลฯ

ถ้านักเรียนหญิงและนักเรียนชายร้องร่วมกัน ก็ให้ใช้บทอย่างเดียวกันที่นักดนตรีหญิงชายร้อง นอกจากนี้เมื่อคราวที่ปรับปรุงละครดึกดำบรรพ์เรื่องพระสังข์ทอง ทรงให้คณะละคอนของเจ้าพระยา เทเวศร์ฯแสดง ยังทรงพระนิพนธ์บทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นอีกอย่างหนึ่ง สำหรับให้พวกละคอนร้องเวลาจบการแสดง และได้ให้กับการแสดงละคอนเรื่องอื่นๆด้วยเนื้อร้อง ดังนี้

ข้าพระนฤปจง ทรงศิริวัฒนา
จงพระพุทธศา สนะฐีติยง
ราชรัฐจงจิรัง ทั้งบรมวงศ์
ทีรมะดำรง ทรงกรุณาประชาบาล
ราชธรรม ธ รักษา เป็นทิตานุทิตะสาร
ขอบันดาล ธ. ประสงค์ใด
จงสิทธิ์ดั่ง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ฉนี้

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่โปรดเกล้าให้ใช้ร้องกันโดยทั่วไป แต่ก็ทรงรักษาพื้นเดิมอันเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ไว้โดยมาก ดังที่ร้องกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิรกราน
นบพระภูมิบาล บุญญดิเรก
เอกบรมจักริน พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษฎ์ดัง
หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย

บทร้องเพลงนี้มีผู้ประพันธ์อยู่ 2 บท ด้วยกัน คือ
1. ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ แต่บทร้องนี้ได้ยกเลิกไปแล้ว
2. ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 บทที่ใช้ร้องอยู่ทุกวันนี้

เพลงสรรเสริญพระบารมี ใช้บรรเลงสำหรับ
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
3. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
4. พระบรมศพและพระบรมอัฐิ
5. ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวราช เวลาผ่าน
6. การดื่มถวายพระพร

ประวัติเพลงชาติ
ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 แล้วประมาณ 5 วัน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา) ก็แต่งบทร้องขึ้นบทหนึ่ง เรียกว่าเพลงชาติ และได้ร้องด้วยทำนองเพลงมหาชัย ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยทุกเมื่อ
ชาวสยามทำสยามเหมือนทำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเชื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า

ต่อจากนั้นอีกไม่กี่วันคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่ง ก็ดำริที่จะให้มีเพลงชาติอย่างสากลที่แต่งขึ้นใหม่ต่างหากจากเพลงสรรเสริญพระบารมี น.ต.หลวงนิเทศกลกิจ ร.น.(กลาง โรจนเสนา) จึงได้ติดต่อขอให้ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) ช่วยแต่งทำนองเพลงชาติให้ เมื่อพระเจนดุริยางค์ได้แต่งทำนองเพลงชาติเสร็จแล้ว จึงให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้แต่งคำร้องเข้ากับทำนอง และใช้ร้องกันโดยทั่วไป มีเนื้อร้องดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองทั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศรัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย

เพลงชาติที่ร้องและบรรเลงกันนี้แม้ว่าจะใช้ได้แล้วโดยมาก แต่ก็ยังมิได้มีการรับรองจากทางการ ครั้นถึง พ.ศ. 2477 รัฐบาลจึงได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป

พงศ์ประพันธ์ เป็นประธานกรรมการ และมีพระเรื่อมวิรัชชพากย์, พระเจนดุริยางค์ ปีเตอร์ไฟท์ พระยาเสนาดุริยางค์ พระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ หลวงประสานดุริยางค์ หลวงชำนาญปิติเกษตร์ จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมทย์ เป็นกรรมการให้ดำเนินการเรื่องเพลงชาติ ขอร้องให้ผู้มีความชำนาญการดนตรีแต่งทำนองเพลงชาติเสนอมาแล้วให้กรรมการพิจารณาเลือกไว้เป็นเพลงชาติ รวมทั้งทำนองเพลงชาติของพระเจนที่แต่งเอาไว้แล้วและที่แต่งไว้เดิมด้วย ผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกได้ไว้ 2 เพลง คือ แบบสากลได้แก่ของพระเจนดุริยางค์ ทำนองไทยได้แก่ของจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งแต่งขึ้นจากทำนองเพลงตระนิมิตร ในตอนแรกกำหนดว่าจะมีเพลงชาติทั้งแบบไทยและแบบสากล แต่ผลสุดท้ายก็เห็นว่าอันสิ่งที่จะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามี 2 แบบก็จะลดความขลังลง จึงตกลงกันให้มีแต่เพลงเดียว คือ เพลงชาติแบบสากล ใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์ ต่อจากนั้นจึงให้มีการประกวดบทร้องเข้ากับทำนองที่แต่งไว้ ผลการพิจารณาบทร้องที่เข้าประกวด ได้แก่ บทขับร้องของขุนวิจิตร มาตตรา ที่แต่งไว้แต่เดิม กับบทร้องของ
นายฉันท์ ขำวิไล แต่ในกรมหมื่นนราฯ ผู้เป็นประธานได้ขอแก้ไขด้วยคำบางแห่งในบทของขุนวิจิตร มาตตรา เป็นดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครอบตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรบไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทย ไชโย

บทร้องของ นายฉันท์ ขำวิไล มีดังนี้

เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปรามเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงไทยไทยด้วยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย

ประกาศให้เป็นเพลงชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 โดยให้ร้องติดต่อกันได้เป็น 4 เที่ยว ตามลำดับบทร้อง แต่ประชาชนโดยมากมักจะร้องกันเพียง 2 เที่ยว ในบทของขุนวิจิตร มาตตรา เพราะการร้องถึง 4 เที่ยวออกจะยืดยาวมากเกินไป แม้แต่จะร้องเพียง 2 เที่ยวก็ยังเห็นว่าค่อนข้างจะยาวและเสียเวลามาก เพราะฉะนั้นจึงมีผู้ปรารภขึ้นว่า “เมื่อพิจารณาเพลงประจำชาติของชาติอื่นแล้วจะเห็นได้ว่าชาติที่สำคัญย่อมจะใช้เพลงสั้น แต่ชาติเล็กๆน้อยๆมักจะใช้เพลงยาวๆ จนชอบกล่าวกันในหมู่ผู้รู้เพลงประจำชาติต่างๆ ว่า ชาติยิ่งเล็กเพลงยิ่งยาว ชาติยิ่งใหญ่เพลงยิ่งสั้น”
ความจริงแล้วจะเป็นอย่างที่ว่านี้หรือไม่ก็ตาม ใน พ.ศ. 2478 ก็ได้ตัดแต่งเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีลงให้มีแบบสังเขปอีกแบบหนึ่ง สำหรับใช้บรรเลงในบางโอกาส ดังคำประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไปนี้

ประกาศ
ระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ
-------------------
โดยที่เห็นสมควรวางระเบียบกรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงชาติ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีปรึกษา ลงมติด้วยการเห็นชอบของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ประกาศระเบียบการดังต่อไปนี้
1. เพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงชาตินั้น มีแบบสังเขปและแบบพิศดาร ดังตัวอย่างที่สอบดูได้ ณ กรมศิลปากร
2. โอกาสอันใดสมควรจะบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และโอกาสอันใดสมควรที่จะบรรเลงเพลงชาตินั้น อาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ ในกรณีใดที่มุ่งหมายจะถวายความเคารพแด่พระมหากษัตริย์ เฉพาะพระองค์ก็ดีหรือในฐานะที่เป็นประมุขของชาติก็ดี
สมควรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และในกรณีใดที่มุ่งหมายจะแสดงความเคารพต่อชาติก็สมควรบรรเลงเพลงชาติ ทั้งนี้ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
3. ในการพิธีซึ่งเสด็จพระราชดำเนินหรือมีกำหนดเสด็จพระราชดำเนินหรือมีความมุ่งหมายที่จะถวายความเคารพแด่พระมหากษัตริย์นั้น โดยปกติสมควรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบสังเขป แต่ถ้าเป็นพิธีใหญ่ เช่น ที่มีกำหนดให้แต่งเครื่องแบบเต็มยศก็สมควรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบพิศดารในพิธีดังกล่าวแล้ว ถ้าแสดงความประสงค์จะแสดงความเคารพต่อชาติด้วย จะบรรเลงเพลงชาติด้วยก็ได้ ส่วนจะบรรเลงแบบสังเขปหรือแบบพิศดารนั้น ให้อนุโลมตามความวรรคก่อน
4. ในการพิธีอื่นๆที่เกี่ยวกับประชาชนนั้น โดยปกติสมควรบรรเลงเพลงชาติแบบสังเขป แต่ถ้าเป็นพิธีใหญ่ก็สมควรบรรเลงเพลงชาติแบบพิศดาร
5. ในการสโมสรสันนิบาต ถ้าดื่มถวายพระพรแด่พระมหากษัตริย์ก็สมควรบรรเลงเพลงสรร-เสริญพระบารมี และถ้าดื่มเพื่อความเจริญของชาติและรัฐธรรมนูญก็สมควรบรรเลงเพลงชาติ
6. ในการมหรสพ สมควรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบสังเขป แต่ถ้ามีการแสดงเป็นพิธีใหญ่ ก็สมควรบรรเลงแบบพิสดาร
7. ระเบียบการนี้เกี่ยวกับการบรรเลงเพราะฉะนั้นถ้าจะมีการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือเพลงชาติแล้ว ก็ย่อมบรรเลงประกอบคำร้องจนสิ้นบทเพลง

ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2478
พ.อ.พหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี

ครั้นถึง พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะต้องแก้ไขบทร้องเพลงชาติ และการแก้ไขครั้งนี้มิใช่เพียงจะแก้คำว่าสยามเป็นไทยเท่านั้น แต่ต้องการให้เป็นบทร้องที่ร้องจบได้เพียงเที่ยวเดียว และเป็นบทร้องที่มีใจความดีถึงขนาดจริงๆด้วย จึงมีประกาศให้ประกวดบทร้องเข้ากับทำนองเพลงชาติขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งมีรางวัลเงิน 1,000 บาท
การประกวดบทร้องครั้งนี้ นับว่าเป็นครั้งสำคัญมาก เพราะคณะรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยขั้นสุดท้าย และจะได้ถือเป็นบทร้องเพลงประจำชาติไทยที่แน่นอนต่อไป จึงมีผู้ส่งบทร้องเข้าประกวดมากมาย
ในบรรดาจินตกวีที่ประพันธ์บทร้องเพลงชาติเข้าประกวดครั้งนี้ พ.อ.หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ได้แต่งเข้าประกวดบทหนึ่งในนามของ “กองทัพบก”
ผลของการประกวดครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีตัดสินให้บทของกองทัพบกได้รับรางวัลที่ 1 และให้ใช้บทร้องนั้นเป็นเพลงชาติ ดังประกาศในรัฐนิยมต่อไปนี้

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 6
เรื่อง ทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ
--------------

ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า ทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติ ซึ่งได้ประกาศไว้ ณ วันที 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2477 ทำนองเพลงเป็นที่นิยมแพร่หลายตามสมควรแล้ว แต่เนื้อเรื่องจะต้องมีใหม่ เพราะชื่อประเทศได้เรียกว่าประเทศไทยแล้ว จึงได้ประกาศให้ประชาชนเข้าประกวดแต่งมาใหม่ บัดนี้คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเนื้อร้องบาทบทเสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยและคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติพร้อมกันตกลงตามบทเพลงของกองทัพบก โดยได้แก้ไขเล็กน้อย
จึงประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดังต่อไปนี้
1. ทำนองเพลงชาติ ใช้ทำนองเพลงของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่ ณ กรมศิลปากร
2. เนื้อร้องเพลงชาติให้ใช้บทเพลงของกองทัพบก ดังต่อไปนี้
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

ประกาศมา ณ วันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482
ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
เพลงนี้ใช้บรรเลงสำหรับ
1. ธงประจำกองทหาร
2. ธงประจำกองยุวชนทหาร
3. ธงประจำสำนักงานของรัฐบาลในขณะเชิญ ขึ้น ลง และธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ ในขณะทำพิธีเชิญ ขึ้น ลง
4. บรรเลงให้กับชาติ หรือดื่มเพื่อชาติ

ประวัติเพลงมหาชัย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้ในพิธีต่างๆ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ได้นำเพลงมหาชัยมาบันทึกเป็นโน้ตสากลและประดิษฐ์ลีลาไทยโบราณเป็นไทยสากล ต้นฉบับลายพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน วงดุริยางค์ทหารบกและทหารเรือได้รักษาไว้เป็นอย่างดี มีแต่ทำนอง ไม่มีคำร้อง (ตอนหลัง พ.อ.หลวงวิจิตร วาทการ ได้นำมาแต่งเนื้อร้องเพื่อประกอบละคร)
เพลงมหาชัยใช้บรรเลงสำหรับ
1. พระบรมวงศ์
2. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3. ธงราชวงศ์เวลาผ่าน หรือ เชิญขึ้น-ลง
เพลงมหาชัยสามารถใช้แตรเดี่ยวเป่าแทน 2 จบ ได้
ประวัติเพลงมหาฤกษ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงพระนิพนธ์ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สำหรับใช้เป็นเพลงเกียรติยศของข้าราชการทุกชั้น ที่ต่ำกว่าพระบรมวงศ์ ตลอดจนถึงสามัญชน เพื่อสำหรับใช้อวยพรซึ่งกันและกันในงานพิธีมงคลต่างๆ เพลงนี้ทรงดัดแปลงมาจากเพลงมหาฤกษ์ 2 ชั้น ไม่มีบทร้อง
ปัจจุบันนี้เพลงมหาฤกษ์ใช้บรรเลงในโอกาสที่
1. นายกรัฐมนตรี
2. ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน
3. ประธานพิธีมาถึงสถานที่งานพิธีต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬา วางศิลาฤกษ์ และตอนประธานกล่าวเปิดพิธีจบ หรือ เปิดป้าย เปิดอาคาร ตัดริบบิ้น เปิดถนน เปิดโรงเรียน เป็นต้น
เพลงมหาฤกษ์นี้ สามารถใช้แตรเดี่ยวเป่าแทน 1 จบ ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีมหาฤกษ์แบบสั้น สำหรับใช้ในการอวยพรคู่บ่าวสาว เพื่อเป็นการประหยัดเวลา เป็นต้น
เวลาประมาณของเพลงเคารพ
1. เพลงสรรเสริญพระบารมี 1.15 นาที
2. เพลงชาติ .45 นาที
3. เพลงมหาชัย .45 นาที
4. เพลงมหาฤกษ์ .35 นาที

1 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่มเติมจร้าา ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 4 ได้มีการประดิษฐ์ เพลงสรรเสริญพระบาทมี เป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างประเทศที่เสด็จเยื่ยมประเทศสยาม (ประเทศไทย) ตามธรรมเนียมสากล ชาวต่างชาติจึงถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติไทยเพลงแรกของคนไทย แต่สำหรับชาวสยามเองไม่ได้คิดเช่นนั้น

    ตอบลบ