วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต

บทที่ 2

เครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต

2.1 ประเภทของเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 ตระกูล คือ
2.1 1 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ได้แก่
1) พิคโคโล
2) ฟลู้ต
3) คลาริเน็ต
4) โอโบ
5) บาสซูน
6) โซปราโนแซกโซโฟน
7) อัลโตแซกโซโฟน
8) เทเนอร์แซกโซโฟน
9) บาริโทนแซกโซโฟน
2.1.2 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) ได้แก่
1) คอร์เน็ต
2) ทรัมเป็ต
3) ฟลูเกลฮอร์น
4) เมโลโฟน
5) เอฟฮอร์น
6) อีแฟล็ตฮอร์น
7) เทเนอร์ทรอมโบน
8) เบสทรอมโบน
9) บาริโทน
10) ยูโฟเนียม

11) เบส (ทูบา, บอมบาร์ดอน, ซูซาโฟน)
2.1.3 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ หรือ เครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Intruments)ได้แก่
1) กลองใหญ่
2) กลองเล็ก (กลองสแนร์, กลองแทร๊ก)
3) กลองเทเนอร์
4) กลองทรีโอ (กลองควอท, กลองควิน)
5) ฉาบ
6) เบลไลรา
7) กลอคเค็ลชปิล
8) ไซโลโฟน
9) มาริมบา
10) ไวบราโฟน
11) ทิมปานี
12) ระฆังราว
13) ไทรแองเกิล
ฯลฯ
หมายเหตุ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนองเพลงต้องมีความสมดุลกันในด้านจำนวน อย่าให้มีอย่างหนึ่งอย่างใดมากกว่ากันเพราะทำให้เสียงที่ออกมาขาดความกลมกลืน และทำให้บทเพลงนั้นขาดความไพเราะ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ไม่ควรมีเครื่องเคาะจังหวะมากเกินความจำเป็น นอกจากบางเพลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะเพลงที่บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบัน)
2.2 คุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต
2.2.1 เครื่องลมไม้
แบบเป่าทางข้าง หรือ เรียกว่าขลุ่ยผิว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ฟลู้ต ลมส่วนหนึ่งประมาณ 1 ใน 3 จะพุ่งออก อีกส่วนจะเข้าในลำตัวฟลู้ต ซึ่งทำด้วยโลหะ มีความยาว 26.5 นิ้ว มีเสียงทุ้มนุ่มนวล

2) พิคโคโล ลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับฟลู้ตแต่ขนาดเล็กกว่า มีความยาว 12 นิ้ว เสียงสูงกว่าฟลู้ตคู่แปด เสียงเล็กแหลมได้ยินไกลกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ
แบบลิ้นเดียว มี 2 ชนิด คือ
1) คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายที่สุด คลาริเน็ตมีช่วงเสียงกว้างมากในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน เสียงเล็กแหลมในช่วงสูง ราบเรียบนุ่มนวลในระดับกลาง และทุ้มมากในระดับต่ำ ลำตัวทำด้วยไม้หรือเอโบไนท์ มี 5 ท่อน ตอนปลายลำโพงบานออกเล็กน้อย ซึ่งในตระกูลของเครื่องดนตรีประเภทนี้มี 11 ชนิด แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ บีแฟล็ต คลาริเน็ต และ อีแฟล็ต คลาริเน็ต
2) แซกโซโฟน ทำด้วยโลหะ เป็นเครื่องดนตรีที่ก้ำกึ่งระหว่างเครื่องทองเหลืองกับเครื่องลมไม้ แต่เนื่องจากมีลิ้นและมีคีย์คล้ายเครื่องลมไม้ จึงจัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ สามารถเล่นได้อย่างนุ่มนวลอย่างอ่อนหวาน และหนักแน่น ตระกูลแซกโซโฟนมี 14 ชนิด แต่ที่นิยมมี 4 ชนิด คือ
(1) บีแฟล็ต โซปราโนแซกโซโฟน
(2) อีแฟล็ต อัลโตแซกโซโฟน
(3) บีแล็ต เทเนอร์แซกโซโฟน
(4) อีแฟล็ต บาริโทนแซกโซโฟน
แบบลิ้นคู่ ที่นิยมใช้ในวงโยธวาทิต คือ
1) โอโบ รูปร่างส่วนใหญ่คล้ายคลาริเน็ต ลำตัวยาว 23 นิ้ว มี 3 ท่อน ทำด้วยไม้และเอโบไนท์ ลิ้นทำจากไม้ที่มีข้อและปล้อง เสียงคล้ายปี่แขกเรียกงู เหมาะสำหรับบรรยายบรรยากาศของท้องทุ่ง และเพลงที่เกี่ยวกับแขกหรือดินแดนแถบตะวันออก
2) บาสซูน ลำตัวยาว 4 ฟุต มี 4 ท่อน เสียงต่ำแหบโหย เหมาะสำหรับทำเสียงตลก และบรรยากาศลึกลับ หวาดกลัวหม่นหมอง ส่วนใหญ่ในวงโยธวาทิตจะใช้เทเนอร์แซกโซโฟนแทน เพราะบาสซูนมีราคาแพง
เครื่องลมทองเหลือง
ได้แก่เครื่องดนตรีประเภทแตรต่าง ๆ ที่ใช้ลมเป่าเข้าทางกำพวดผ่านท่อลม แล้วผ่านออก ลำโพง ภายในท่ออาจมีลิ้นกลไกบังคับทิศทางลม หรือไม่มีก็ได้แล้วแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด คือ

1) ฮอร์น มีหลายลักษณะและหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน บางชนิดอาจเรียกว่า “เฟรนซ์ฮอร์น” โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้มีท่อลมขดเป็นวงกลม กำพวดรูปกรวยเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว และค่อยๆโตขึ้นจนถึง 3 นิ้ว และผายออกลำโพงเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว ท่อลมยาวทั้งหมด 17 นิ้ว เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก ผู้เล่นต้องมีปากที่แข็งแรง และต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน เพราะเฟรนซ์ฮอร์นมีเทคนิคมากมาย เช่น การกำมือขวาสอดเข้าไปในลำโพง เพื่อลดเสียงให้เบาลง ซึ่งคล้ายเสียงที่ลอยมาจากระยะไกลๆ เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นโปร่งเบา นิ่มนวลกังวาน ให้ความรู้สึกสง่าผ่าเผย หรือจะเป่าให้กึกก้อง แผดคำราม หรือหวานนิ่มนวลก็ได้ นอกจากเฟรนซ์ฮอร์นแล้วยังมี อีแฟล็ตฮอร์น เมโลโฟน หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า มาร์ชิงฮอร์น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน ส่วนเสียงที่ออกมามีความใกล้เคียงกัน
2) ทรัมเป็ต มี 3 ลูกสูบ เมื่อกดลูกสูบทิศทางลมจะเปลี่ยนไป เพื่อบังคับเสียงที่ต้องการ เสียงของทรัมเป็ตสามารถปลุกใจทำให้เกิดความกล้าหาญ ตื่นเต้น รุกเร้าใจได้ดีกว่าเครื่อง ดนตรีชนิดอื่นๆในตระกูลเดียวกัน หรือจะทำเสียงให้นิ่มนวลก็ได้ ถ้าต้องการให้เสียงเบาลงก็ใส่เครื่องลดเสียง (Mute) ซึ่งมีหลายแบบ ทำให้เกิดเสียงหลายเสียงซึ่งฟังแล้วแปลกหูยิ่งขึ้น
3) คอร์เน็ต ดัดแปลงมาจากฮอร์น ลักษณะคล้ายทรัมเป็ตแต่ตัวสั้นกว่า ขนาดของท่อลมมีความยาวมากกว่าทรัมเป็ต เสียงไม่ค่อยแจ่มใสและไม่นุ่มนวลนัก เสียงก้ำกึ่งระหว่างฮอร์นกับทรัมเป็ต คอร์เน็ตไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่มักใช้แทนทรัมเป็ต
4) ทรอมโบน เป็นแตรที่มีท่อลมเลื่อนเข้าออกได้เพื่อ ลำตัวงอโค้งสองครั้ง ไม่มีนิ้วกดเหมือนทรัมเป็ต เปลี่ยนระดับเสียงโดยการเลื่อนท่อลมเข้าออก
5) เบสทรอมโบน เสียงต่ำกว่าทรอมโบน ลักษณะรูปร่างคล้ายกันแต่ท่อลมมีความยาวมากกว่า
6) บาริโทน มีขนาดเล็กกว่ายูโฟเนียมนอกนั้นเหมือนกันทั้งลักษณะรูปร่าง และหน้าที่ในการบรรเลง
7) ยูโฟเนียม ขนาดเล็กกว่าทูบา มีลูกสูบ 3 ลิ้น หรือ 4 ลิ้น


8) ทูบา หรือ เบสทูบา เป็นแตรขนาดใหญ่ลำโพงหงายขึ้นข้างบน ทูบาที่ใช้มีหลายขนาด มีลูกสูบ 3 ลิ้น และ 4 ลิ้น เสียงทุ้มนุ่มนวล บางครั้งเรียกว่าบอมบาร์ดอน
9) ซูซาโฟน มีลูกสูบ 3 ลิ้น เวลาบรรเลงต้องคล้องคอ มีขนาดใหญ่ที่สุดใช้ บรรเลงแนวทำนองระดับเสียงต่ำเช่นเดียวกับทูบา
เครื่องกระทบ หรือ เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่เครื่องดนตรีที่เสียงเกิดจากการกระทบ เช่น ตี เคาะ เขย่า ขูด ขีด มี 2 ประเภท
1) เครื่องกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอน ได้แก่
(1) ทิมปานี มีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีกหงายขึ้น มีขาตั้ง 3 ขา ทำด้วยทองแดง ขึงด้วยหนังให้ตึงด้วยสกรูด้านข้าง หรือเหยียบกระเดื่องเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ตีด้วยไม้ที่หุ้มด้วยสักหลาด ผ้าสำลี ผ้าฝ้าย ไม้ก๊อก หรือฟองน้ำ ตามเสียงที่ต้องการ ทิมปานี มีขนาดต่างกัน โดยคิดจากเส้นผ่าศูนย์กลางของหนังที่ขึง
(2) เบลไลรา ใช้ถือเล่นหรือใช้คล้องคอให้เครื่องอยู่ในระดับเอว ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังกังวาน (ปัจจุบันมีหลายรูปแบบและมีชื่อเรียกต่างๆ กัน)
(3) ระฆังราว หรืออาจเรียกว่า ออร์เคสตรอลเบล และไชมิสก็ได้ โดยประดิษฐ์เลียนเสียงจากระฆังจริงๆ ซึ่งประกอบด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงในแนวดิ่ง อยู่ภายในกรอบไม้หรือโลหะ เวลาเล่นใช้ไม้ตีจะมีเสียงคล้ายระฆังโดยทั่วไป
ฯลฯ
2) เครื่องกระทบที่มีเสียงไม่แน่นอน
(1) กลองเล็ก หรือ กลองสแนร์ มี 2 หน้า ขนาดมาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 - 15 นิ้ว สูง 6 - 12 นิ้ว ใช้ไม้ตี 2 อัน หน้ากลองด้านล่างมีเส้นลวด (สแนร์) เล็กหลายเส้น ขึงพาดอยู่เพื่อทำให้เสียงสั่น
(2) กลองเทเนอร์ ขนาดใหญ่กว่ากลองเล็ก ใช้ตีด้วยไม้หุ้มหนังวงแหวนหรือสักหลาด ทำหน้าที่เหมือนกลองใหญ่ (ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว)


(3) กลองใหญ่ ลักษณะเหมือนกลองเทเนอร์แต่ขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลางมีหลายขนาดแต่ถ้าเป็นกลองที่ได้มาตรฐานการบรรเลงคือ 30 นิ้ว สูง 16 นิ้ว เสียงดังครึกโครม ถ้าตีเบาๆ จะมีเสียงคล้ายฟ้าร้องในระยะไกล ปัจจุบันมักใช้มากกว่า 1 ใบ ที่มีขนาดต่างๆกันตามสรีสระของผู้ตี และตามความต้องการในการใช้งาน
(4) ทัมบูรีน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ที่ขอบติดกระพวนเพื่อให้เสียงดัง ใช้เคาะกับส่วนใดของร่างกายก็ได้ เหมาะสำหรับการบรรเลงประกอบเพลงของสเปน ยิปซี แขก และอิตาเลียน เสียงของเครื่องดนตรีให้ความครึกครื้น มีชีวิตชีวา ช่วยเสริมให้เครื่องประกอบจังหวะมีความครึกครื้นยิ่งขึ้น
(5) ฉาบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 นิ้ว ขึ้นไป เป็นเครื่องดนตรีที่อึกทึกที่สุดในบรรดาเครื่องประกอบจังหวะ
(6) ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย จีน พม่า ชวา และประเทศในแถบเอเชีย ทำด้วยทองสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 นิ้ว แขวนไว้กับโครงเหล็กไม้ตีหุ้มด้วยหนังชามัว ทำให้มีเสียงดังกังวานกระหึ่ม เรียกเสียงความสนใจได้ดี
(7) ไทรแองเกิล (เหล็กสามเหลี่ยม) รูปร่างลักษณะเป็นเหล็กกลมดัดเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เว้นขอบต่อเล็กน้อยมี 3 ขนาดคือ 6, 8, และ 10 นิ้ว เวลาเล่นใช้ลวดหรือผูกเชือกแขวนไว้ใช้เหล็กตี เสียงสูงดังชัดเจน ใช้ประกอบเพลงรัก เพลงหวาน ถ้าต้องการให้เสียงนุ่มๆ ให้ใช้ไม้ตี
2.3 ช่วงเสียงของเครื่องดนตรี
ช่วงเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ใช้ในการบรรเลงวงโยธวาทิต มีความแคบและความกว้างแตกต่างกันออกไปตามลักษณะและชนิดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ฉะนั้นผู้ฝึกต้องรู้ว่าเครื่องดนตรีชนิดใดมีช่วงเสียงอย่างไร คือ ระหว่างเสียงต่ำสุดและเสียงสูงสุดของคุณลักษณะเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ
การเขียนและการอ่านโน้ตจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และต้องคำนึงเสมอว่าโน้ตเขียนอย่างไรการปฏิบัติก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น ไม่ควรใช้เสียงแทนเด็ดขาดเพราะจะทำให้ความหมายของเพลงเปลี่ยนไป


การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี ตามคุณลักษณะของระดับเสียง
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี ตามคุณลักษณะของระดับเสียง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.3.1 เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงคอนเสิร์ต (Instrument of Concert pitch) เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่ต้องเปลี่ยนระดับเสียง (Non Transposed) เพราะเครื่องดนตรีประเภทนี้ ปฏิบัติโน้ตตัวใดเสียงที่ออกมาจะอยู่ที่ระดับเสียงของโน้ตตัวนั้น เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงคอนเสิร์ต ซึ่งบรรเลงในวงโยธวาทิต ได้แก่
1) Piccolo (Concert)
2) flute (Concert)
3) Oboe
4) Bassoon
5) Tenor Trombone
6) Bass Trombone
7) Euphonium
8) Eb, EEb Bass
9) Bbและ BBb Bass
พิคโคโล คอนเสิร์ต (Piccolo Concert) เป็นเครื่องดนตรีที่เปลี่ยนระดับเสียง ต่ำลงมาจากระดับเสียงคอนเสิร์ต(ระดับเสียงที่แท้จริงของเครื่องดนตรีนั้น) เป็นคู่ 8 เครื่องดนตรีชนิดนี้จึงจะต้องเปลี่ยนระดับเสียง แต่ก็ไม่ทำให้ต้องเปลี่ยนบันไดเสียงไปจากเดิม ฉะนั้นจึงจัดให้เครื่องดนตรีชนิดนี้ อยู่ในประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงคอนเสิร์ต
2.3.2 เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่เป็นระดับเสียงคอนเสิร์ต (Instrument of non Concert pitch) เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องเปลี่ยนระดับเสียง (Transposed) เพราะเครื่องดนตรีประเภทนี้ ปฏิบัติโน้ตตัวใดเสียงที่ออกมาจะมิได้อยู่ที่ระดับเสียงของโน้ตตัวนั้น เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่เป็นระดับเสียงคอนเสิร์ต ซึ่งใช้อยู่ในวงโยธวาทิต ได้แก่
1) Db Piccolo
2) Db Flute
3) Eb Clarinet
4) Cor Anglais
5) Bb Clarinet
6) Bb Soprano Saxophone
7) Eb Alto Saxophone
8) Bb Tenor Saxophone
9) Eb Baritone Saxophone
10) Eb, F Horn
11) Bb Cornet
12) Bb Trumpet
13) Bb Baritone

ช่วงเสียงของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต
เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
C Piccolo
ข้อสังเกต 1.โน้ตตัวกลม คือโน้ตที่สามารถเล่นได้ดี
2. โน้ตที่ไม่มีหาง คือ โน้ตที่สามารถเล่นได้ในระดับต่ำสุด และเล่นได้ในระดับสูงสุด

Db Piccolo





Flute

Oboe

Bassoon


E b Clarinet

B bClarinet

E bAlto Clarinet

B b Bass Clarinet


E bSoprano Saxophone

E bAlto Saxophone

B bTenor Saxophone

E bBaritone Saxophone

เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instrument)
B bTrumpet or Cornet

Flugelhorn

Horn in F

E bHorn

Trombone

Bass Trombone

Baritone B.C. (Bass Clef) or Euphonium

Baritone T.C. (Treble Clef)


BB bTuba

E Tuba

เครื่องกระทบ หรือเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)

Timpani

Bells

Xylophone

2.4 การเทียบเสียง
วงโยธวาทิตประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีระดับเสียงและเทคนิคปฏิบัติเฉพาะตัว และเพื่อให้วงดนตรีที่มีระดับเสียงอยู่ในมาตรฐานเดียวกันทั้งวง ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเทียบเสียง วงดนตรีออร์เคสตรานั้นมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก ประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา วิโอลอนเชลโล และดับเบิลเบส เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นจึงกำหนดให้เสียง “ลา” ซึ่งมีความถี่ ระดับเสียง A = 440 cps. โดยเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆต้องอนุโลมตามให้มีความถี่เดียวกันทั้งวง
วงโยธวาทิต ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่อยู่ในระดับเสียงส่วนใหญ่ Bb และรองลงไปอยู่ในระดับเสียง Eb เพื่อความสะดวกและแน่นอนจึงเลือกใช้เสียง “ทีแฟล็ต” (Bb Concert pitch) ซึ่งนอกจากจะสะดวกกับทั้งเครื่องดนตรีในระดับเสียง Bb และ Eb แล้ว ก็ยังมีเหตุผลในทางเทคนิคอีกหลายประการ ควรศึกษาในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม
รูปแบบของเสียงที่ใช้ในการเทียบเสียงเครื่องดนตรี

ระดับเสียงคอนเสิร์ต ระดับเสียง บีแฟล็ต ระดับเสียง อีแฟล็ต
Bb = 466.8 cps. Bb = 466.8 cps. G = 233.4 cps.
Bb = 233.4 cps. G = 466.8 cps.
Bb = 116.7 cps. C = 116.7 cps. G = 116.7 cps.
(ธนาคาร แพทย์วงษ์, 2533: 264)

โน้ตชื่อเดียวกันอยู่ห่างกัน 1 ช่วงคู่ 8 ความถี่ของระดับเสียงจะแตกต่างกันหนึ่งเท่าตัว หลักการดียวกันนี้นำไปใช้ในการเทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงต่ไ หรือสูงเกินกว่า 233.4 cps. ด้วย
วงดนตรีถึงแม้จะมีเครื่องดนตรีที่มีราคาและคุณภาพสูงเพียงใดก็ตาม หากเทียบเสียงไม่ดีหรือ ละเว้นจากการเทียบเสียง ผลที่จะได้รับก็คือ “เสียงอึกทึกที่มีราคาแพง” เท่านั้น
การเทียบเสียงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนการบรรเลงหรือก่อนการฝึกซ้อมต้องปฏิบัติให้เกิดความเคยชินจนติดเป็นนิสัยเพื่อให้เกิดความเคยชินต่อเสียงที่ได้ยิน และจะทำให้มีผลต่อการบรรเลงอย่างยิ่ง วงดนตรีใดที่ไม่มีการเทียบเสียงก่อนการบรรเลงหรือฝึกซ้อม จะทำให้ประสิทธิภาพในการบรรเลงของวงดนตรีนั้นๆ ด้อยคุณภาพลงไป บางครั้งอาจทำให้เกิดผลเสียหายต่อการบรรเลง คือ ขาดทั้งความไพเราะและความสมดุล อย่าเทียบเสียงครั้งเดียวแล้วจำท่อลมว่าอยู่ในตำแหน่งใดแล้วชักท่อลมในการฝึกครั้งต่อไปโดยไม่มีการเทียบเสียง ถึงแม้ว่าตำแหน่งจะอยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ในตำแหน่งเก่า แต่ต้องควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สภาพอากาศในบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศต่างกันเสียงจะไม่เท่ากัน เช่น เราเทียบเสียงในที่ร่มเมื่อทดสอบการฟังเสียงแล้วเท่ากันด้วยดีไม่มีผิดเพี้ยน แต่เวลาปฏิบัติจริงต้องออกไปปฏิบัติกลางแจ้งที่แสงแดดจัด อุณหภูมิ และสภาพอากาศที่ เปลี่ยนไป เสียงจะเพี้ยนได้ ทั้งนี้เพราะการรับความร้อนของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นไม่เท่ากันจะเป็นด้วย ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำหรือความเล็กใหญ่ของลำตัวเครื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียงผิดเพี้ยนได้ถ้ากระทบกับสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราต้องพิจารณาในเรื่องนี้ให้รอบคอบ กล่าวโดยสรุปคือ ถ้าจะบรรเลงที่บริเวณใดก็ควรเทียบเสียงที่ในบริเวณนั้นหรือที่ๆมีสภาพอากาศและอุณหภูมิที่ใกล้เคียง ก็จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าการเทียบเสียงไม่ถูกต้องก็จะทำให้เสียงสูงหรือต่ำไปกว่าที่เราต้องการ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างยิ่ง แม้จะผิดเพี้ยนเพียงเล็กน้อยแต่มีผลอย่างมากต่อการบรรเลง จึงควรคำนึงว่าการเทียบเสียงอย่างถูกวิธีและได้เสียงที่ถูกต้องจะทำให้เป็นผลดีต่อการบรรเลง “เราเสียเวลาเพียงนิด เพื่อพิชิตเสียงผิดเพี้ยน” เพราะเวลาที่เสียไปกับการเทียบเสียงมีค่ามากสำหรับการบรรเลง เราจึงไม่ควรที่ละเลยในเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด
2.5 ลักษณะองค์ประกอบของเครื่องดนตรี ในวงโยธวาทิต และมาตรฐานในปัจจุบัน
ไขแสง ศุขะวัฒนะ (2514) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “สังคีตนิยมว่าด้วยเครื่องดนตรีในวงดุริยางค์” ดังนี้
2.5.1 เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) แบ่งกว้างๆได้ 2 ประเภท คือ พวกขลุ่ย และพวกปี่ เครื่องดนตรีเหล่านี้ทำให้เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆเข้าไปในท่อ (pipe) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง ส่วนระดับเสียง สูง ต่ำ จะขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวขยายเสียงหรือตัวท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปในท่อ พวกขลุ่ยมีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดรู (flue pipe)
ส่วนพวกปี่มีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดลิ้น (reed pipe) รอบๆลำตัวของขลุ่ยและปี่จะมีรู เปิด ปิด ด้วยกระเดื่องนิ้ว (Key) รูเหล่านี้ทำหน้าที่เปลี่ยนความยาวของตัวท่ออากาศ (air column) ทำให้เกิดระดับเสียงต่างๆ การที่เรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่าเครื่องลมไม้ก็เพราะตัวท่อทำด้วยไม้ แต่ในปัจจุบันแม้ว่าเครื่องดนตรีบางชนิดเปลี่ยนไปทำด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ ไขแสง ศุขวัฒนะ (2514, 152-167) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สังคีตนิยมว่าด้วยเครื่องดนตรีในวงดุริยางค์ พอสรุปได้ ดังนี้
เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย (Flute Instruments) ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ที่พัฒนาการมาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยยุคหิน โดยนำกระดูกสัตว์และเขากวางที่เป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ขลุ่ยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของการเป่า ประเภทแรก คือ ขลุ่ยที่เป่าตรงปลาย (end-blown flute)ได้แก่ขลุ่ยไทย ฟลาโจเลท (Keyed flageolet) เรคคอเดอร์ (Recorder) และขลุ่ยญี่ปุ่น (Shakuhachi) ประเภทที่สอง คือ ขลุ่ยที่เป่าด้านข้าง (Side-blown flute or transverse flute) ได้แก่ ขลุ่ยอินเดีย ฟลู้ต (Flute) พิคโคโล (Piccolo) และ ไฟฟ์ (fife) เป็นต้น
1. ฟลู้ต ซึ่งเริ่มนำเข้ามาใช้ในวงดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นขลุ่ยที่มีแต่รูเปล่าๆ (คล้ายขลุ่ยไทย) เมื่อเล่นขลุ่ยชนิดนี้ผู้เล่นจะใช้นิ้วมืออุดรู ถ้ารูใดห่างหน่อยก็ต้องพยายามเหยียดนิ้วไปอุดให้สนิท ฟลู้ตโบราณนี้จึงมีเสียงไม่มาก ราว พ.ศ.2213 (ค.ศ.1670) ได้มีนักประดิษฐ์ขลุ่ยผู้หนึ่งต้องการให้ฟลู้ตเล่นเสียงได้มากขึ้น จึงติดคีย์อันหนึ่งเพื่อปิดรูที่นิ้วถ่างไปได้ยาก ในระยะเวลาเดียวกันนี้ ลุลลี (พ.ศ. 2175 – 2230 หรือ ค.ศ. 1632 - 1687) ก็นำฟลู้ตเข้ามาในการแสดง อุปรากร ต่อมา พ.ศ. 2220 (ค.ศ. 1677) ควานทุข์ (พ.ศ.2240 - 2316 หรือ ค.ศ. 1697 -1773) นักดนตรีประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟรเดริคมหาราชแห่งปรัชเซีย (พ.ศ.2255 - 2329 หรือ ค.ศ. 1712 - 1786) ได้ติดกระเดื่องนิ้วเพิ่มขึ้นอีก 2 อันที่ขลุ่ย ในสมัยนั้นดูเหมือนว่าควานทุข์ จะเป็นผู้เดียวที่เชี่ยวชาญการเป่าฟลู้ตมากกว่าผู้ใด เขาได้แต่งคอนแชร์โต สำหรับฟลู้ตไว้ประมาณ 300 ชิ้น และยังเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนฟลู้ตให้กับพระเจ้าเฟรเดริคมหาราชจนพระองค์มีความชำนาญในการบรรเลง จากนั้น เธโอบัลด์โบม (Theobald Bohm พ.ศ. 2337 - 2424 หรือ ค.ศ. 1794 - 1881) นักเล่นฟลู้ตของวงดนตรีแห่งราชสำนักบาวาเรีย ได้ปรับฟลู้ตจนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญ เขาได้เจาะรูและติดคีย์เพิ่มขึ้นอีก ปลายกระเดื่องตรงที่ปิดรูซึ่งเป็นฝากลมเล็กๆเขาได้บุนวมเพื่อปิดรูให้สนิทยิ่งขึ้น โบมได้แก้ไขกลไกเสียใหม่จนรัดกุมสามารถเล่นเสียงต่างๆได้อย่างสะดวก ขลุ่ยของเขาจึงได้ชื่อว่า “ขลุ่ยโบม” (Bohm flute) และเป็นขลุ่ยที่ยังนิยมใช้กันมาจนทุกวันนี้ Bohm ยังนับว่าเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์ฟลู้ตด้วยโลหะ ชนิดที่มีราคาแพงก็ทำด้วยเงิน ทองคำ ฟลู้ตที่ทำด้วยโลหะจะมีคุณภาพของเสียงเช่นเดียวกับฟลู้ตที่ทำด้วยไม้ หรืออีโบไนท์ ฟลู้ตมีความยาว 26.5 นิ้ว มีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลาง ถึง C ที่สูงขึ้นไปอีก 3 คู่แปด (3 Octave) เสียงของฟลู้ตคล้ายเสียงของขลุ่ยทั่วๆไป คือ เสียงต่ำจะนุ่มนวล เสียงสูงจะพราวพริ้วบริสุทธิ์แจ่มใส ฟลู้ตจึงเป็นดนตรีเล่นท่วงทำนอง (Melodic Instrument) และเหมาะใช้บรรเลงเดี่ยว (Solo) เสียงของฟลู้ตใช้เลียนเสียงนก ลมพัด ได้เป็นอย่างดี
2. พิคโคโล (Piccolo) เรียกชื่อเต็มว่า “พิคโคโลฟลู้ต” ขลุ่ยชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงฟลู้ตแต่มีขนาดเล็กกว่ามีแค่ 2 ท่อน คือ ท่อนส่วนบนและส่วนกลางเท่านั้น ความยาวเพียง 12 นิ้วเสียงของพิคโคโลสูงกว่าฟลู้ตหนึ่งคู่แปด (an octave) และเป็นเสียงที่แหลมคม ให้ความรู้สึก ร่าเริงกว่าฟลู้ต การบันทึกสกอร์เพลง (Score) แนวบรรเลงของพิคโคโลจะอยู่บนสุดของสกอร์เพลง
เครื่องดนตรีประเภทลิ้นคู่ (Double-read Instruments)
1. ปี่โอโบ (Oboe) ปี่โอโบที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีต้นกำเนิดมาจากปี่ Heutboy เริ่มแรกปี่โอโบ มีลักษณะ คล้ายปี่ในของไทย คือลำตัวมีรูเปล่าๆ ต่อมาได้รับการแก้ไขดัดแปลงติดกระเดื่องเช่นเดียวกับฟลู้ต โบม (Bohm flute) ทำให้สะดวกในการเล่น และมีเสียงเพิ่มมากขึ้น รูปร่างของโอโบมองเผินๆ จะคล้ายปี่คลาริเน็ตมาก แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแตกต่างกันตรงที่ปากเป่า (mouthpiece) ปากลำโพง (bell) และตัวปี่โอโบจะมีขนาดสั้นกว่า ปี่โอโบมีลำตัวและลิ้นยาวทั้งสิ้น 25.5 นิ้ว (เฉพาะส่วนที่เป็นลิ้นยื่นออกมาจากตัวปี่ 2.5 นิ้ว) ลำตัวประกอบด้วยท่อลม 3 ท่อน ท่อนแรกซึ่งต่อจากที่เป่า เรียกว่า "top joint" ท่อกลางเรียก ว่า "lower joint" หรือ "bottom joint" และท่อนล่างที่เป็นลำโพงเรียกว่า "bell" ลำตัวปี่โอโบทำด้วยไม้อีบอนี โรสวู้ด เกรนาดิลลา (Ebony Rosewood Grenadilla) หรือวัตถุสังเคราะห์ประเภทอีโบไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำมาจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้องจำพวก กก (Arundo donax or sativa) ไม้ชนิดนี้มีขึ้นในเขตเมดิเตอร์เรเนียน และที่ดีที่สุดมีเฉพาะทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ช่วงเสียงของปี่โอโบกว้างประมาณ 2.5 คู่แปด คือเริ่มตั้งแต่ Bb ที่ต่ำถัดจาก โดกลาง โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนองและเดี่ยวเช่นเดียวกับฟลู้ต เสียงของปี่ชนิดนี้ดังคล้ายเสียงที่ออกจากจมูก (nasal tone) หรือคล้ายเสียงของปี่ที่พวกแขกเลี้ยงงูเป่า คือ มีลักษณะบีบๆ เศร้า โหยหวน และแหลมคม แต่ไม่ถึงกับแหลมบาดหูอย่างขลุ่ยพิคโคโล เมื่อเป็นเช่นนี้ปี่โอโบจึงเหมาะที่จะใช้พรรณาถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง เสียงไก่ขัน และเพลงที่เกี่ยวกับแขกหรือดินแดนทางตะวันออก หน้าที่สำคัญของปี่โอโบอย่างหนึ่งก็คือเป็น “เครื่องเทียบเสียงของวงดุริยางค์” (a tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่างๆจะต้องเทียบเสียง “A” (ลา) จากปี่โอโบในสกอร์ เพลงแนวบรรเลงของปี่โอโบอยู่ถัดลงมาจากแนวฟลู้ต ดูเหมือนว่าโอโบได้กำเนิดขึ้นกลางศตวรรษที่ 17 กังแบรต์ (Cambert : พ.ศ. 2171 – 2220 หรือ ค.ศ. 1628 - 1677) เพื่อนของลุลลี (Lully) ได้นำปี่โอโบมาใช้เป็นครั้งแรกในการแสดงอุปรากรฝรั่งเศสเรื่อง “Pomone” เมื่อปี พ.ศ.2214 (ค.ศ.1671) แฮนเดล (Handel) ชอบโอโบมากได้แต่งคอนแชร์โตสำหรับโอโบไว้หลายบท โดยปกติในวงดุริยางค์ใช้โอโบเพียง 2 เลา แต่นักแต่งเพลงหลายคนในศตวรรษนี้ได้ใช้โอโบมากกว่า 2 เลา เมื่อปี พ.ศ.2458 (ค.ศ. 1915)โฮลล์ท (Holst) ได้แต่ง Suite โดยใช้โอโบถึง 3 เลา ในเพลง “The Planet” ซึ่งเป็นผลงานชิ้นที่ 32 ของเขา สตราวินสกี้ (Stravinsky พ.ศ. 2425 – 2514 หรือ ค.ศ. 1882 - 1971) ได้ใช้โอโบถึง 4 เลา ดนตรีบัลเล่ห์เรื่อง “Petrouchka” (แต่งที่นครปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2454 หรือ ค.ศ.1911)
2. บาสซูน (Bassoon) ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงดุริยางค์” ได้ดัดแปลงมาจากปี่บอมบาร์ด (Bombard) โดยพระนิกายโรมันคาธอริกชื่อ พระอัลฟรานิโอ แห่งแฟร์รารา ได้ดัดแปลงปี่โบราณชนิดนี้เป็นปี่บาสซูนขึ้นในปี พ.ศ.2082 (ค.ศ.1539) ท่อลมทั้งหมดของปี่บาสซูนมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป จึงได้ประดิษฐ์ให้ท่อลมหรือลำตัวงอทับกัน จึงเหลือความยาวประมาณ 4 ฟุต ลำตัวของบาสซูนมี 4 ท่อน คือ bell joint, long joint, (บางครั้งเรียกว่า Bass joint) butt และ wing joint (บางครั้งเรียกว่า Tenor joint) ทั้ง 4 ท่อนทำด้วยไม้เมเพิล (Maple) ระบบการใช้นิ้วของบาสซูน ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเฮ็คเคล (Heckel System) ซึ่งเป็นระบบของเยอรมัน และระบบบัฟเฟท์ (Buffet System) ซึ่งเป็นระบบของฝรั่งเศส ความแตกต่างระหว่างสองระบบนี้ สังเกตได้ง่ายมาก ถ้าบาสซูนเลาใดที่ปลายของ bell joint อันเป็นส่วนอยู่บนสุดขณะถือเป่ามีวงแหวนวงงาช้างสวมอยู่ บาสซูนเลานั้นก็จะเป็นระบบเฮ็คเคล บาสซูนเป็นปี่ที่มีเสียงต่ำ ค่อนข้างแหบโหย กร้าวและไม่สู้จะแจ่มใสนัก นอกจากจะเล่นเป็นเสียงตลกแล้วยังเหมาะที่จะแสดงบรรยากาศอันน่ากลัว มืดมน หรือเคร่งขรึม หม่นหมองได้เป็นอย่างดี
เครื่องดนตรีประเภทลิ้นเดี่ยว (Single-reed Instruments)
1. คลาริเน็ต (Clarinet) เป็นปี่ลิ้นเดี่ยวที่ได้รับการดัดแปลงจากปี่โบราณชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ชาลือโม” (Chalumeau) ซึ่งเป็นปี่แบบลิ้นเดี่ยวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แบบลิ้นคู่ก็มีด้วยโดยฝีมือของ เด็นเนอร์ และลูกชายของเขา (Johnn C. Denner and his son Johnn Denner พ.ศ. 2198 - 2250 หรือ ค.ศ. 1655 - 1707) ราว พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) คลาริเน็ตเลาแรกๆที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีแต่รูเปล่าๆ ปี่ชนิดนี้ได้รับการปรับปรุงครั้งสำคัญที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1834) โดยโคลเซ (พ.ศ. 2351 - 2343 หรือ ค.ศ. 1808 - 1880) ครูสอนคลาริเน็ตในวิทยาลัยการดนตรีแห่งกรุงปารีส ได้นำเอากระเดื่องระบบ “โบม” เช่นเดียวกับฟลู้ตมาใช้ นักแต่งเพลงชาวเบลเยี่ยมผู้หนึ่ง ได้นำคลาริเน็ตมาใช้ในวงดุริยางค์เป็นครั้งแรก ในการบรรเลงเพลงศาสนาประเภทแมส (Mass) ประมาณ พ.ศ.2263 (ค.ศ. 1720) จากนั้นก็ไม่มีผู้สนใจปี่ชนิดนี้เท่าใดนัก จนกระทั่งกลุ๊ค (Gluck : พ.ศ. 2257 - 2261 หรือ ค.ศ. 1714 - 1787) ได้นำมาใช้ในการแสดงอุปรากรเรื่อง "โอฟีโอ" (Orfeo) เมื่อปี พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) โมสาร์ทนับได้ว่าเป็นผู้ที่นำคลาริเน็ตมาใช้ในวงดุริยางค์อย่างจริงจัง ท่านผู้นี้นอกจากจะใช้บรรเลงในซิมโฟนีแล้ว ยังได้แต่งคอนแชร์โต และควินเต็ท ให้ปี่ชนิดนี้แสดงถึงความงดงามของสุ้มเสียงได้อย่างเยี่ยมยอด ส่วนเบโธเฟนก็สนใจคลาริเน็ตอยู่ไม่ใช่น้อย เขาได้เริ่มให้คลาริเน็ตเล่นเดี่ยวในบทเพลง “EroicaSymphony” ต่อมาเขาได้แต่ง “Pastoral Symphony” อันเป็นการบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ ได้ให้คลาริเน็ตเลียนเสียงนกคู้กคูร่วมกับฟลู้ตและโอโบ ซึ่งเลียนเสียงนกไนติงเกล และนกเควลในตอนท้ายของท่อนที่สองของซิมโฟนีชิ้นนี้ ปี่คลาริเน็ตทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับปี่โอโบ คือทำด้วยอีโบไนท์ มีลำตัวคล้ายปี่โอโบ กลไกของคีย์นิยมใช้ระบบโบม ลำตัวของปี่มี 5 ท่อน คือ mouthpiece, barrel, top joint, bottom joint, และ bell ท่อน bell นั้น ลำโพงจะบานกว่าของโอโบเพียงเล็กน้อย ท่อน barrel ที่ต่อจากท่อน mouthpiece จะมีลักษณะป่องออกมาเพียงเล็กน้อย เมื่อถอดออกมาจะมีรูปร่างคล้ายถังเบียร์ ท่อนที่น่าสังเกตมากที่สุดคือท่อน mouthpiece ท่อนนี้มักทำด้วยอีโบไนท์หรือพลาสติก (มีลักษณะคล้าย “ปากเป็ด”) ลิ้นของปี่ชนิดนี้มีเพียงลิ้นเดียว ลิ้นจะแนบกับที่เป่าด้านที่เปิดเป็นช่องลม และประกบติดกันด้วยปลอกรัด (Ligature) เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปาก ให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บนริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนจะพักอยู่บนที่เป่าด้านบน แซกโซโฟน (Saxophone) เป็นเครื่องดนตรีพันธ์ผสม ระหว่างเครื่องลมไม้กับเครื่องทองเหลือง ซึ่งประดิษฐ์ขึ้น พ.ศ.2383 (ค.ศ.1840) ณ เมืองบรูซเซลส์ นครปารีส โดยนายอดอล์ฟ แซกซ์ (Adolphe Sax พ.ศ.2357 - 2437) นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยม แซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีลิ้นเดี่ยวเช่นเดียวกับปี่คลาริเน็ต ลำตัวเป็นท่อกลวง การจัดคีย์ก็คล้ายคลึงกับโอโบ แต่ Mouthpiece มีลักษณะคล้ายกับปี่คลาริเน็ต แม้ว่าลำตัวทำด้วยโลหะทองเหลือง แต่สุ้มเสียงจะกระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ เมื่อแซกโซโฟนประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ๆก็นำไปใช้ในวงโยธวาทิตของฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) ซึ่งแต่เดิมมีคลาริเน็ต คอร์เน็ต และทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรี ได้มีพัฒนาการขึ้นก็นำเอาแซกโซโฟนเข้าไปใช้ จนในที่สุดเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็ขาดไม่ได้ในวงดนตรีแจ๊ส ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับตระกูลคลาริเน็ต ซึ่งมีขนาดต่างๆถึง 14 ขนาดด้วยกัน
2.5.2 เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะทองเหลือง เช่น ทรัมเป็ต ฮอร์น ยูโฟเนียม ทรอมโบน และทูบา เป็นต้น ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเครื่องลมไม้ คือ มีท่อทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง ผิดกันตรงที่เนื้อวัสดุเท่านั้น mouthpiece หรือกำพวดของแตรเป็นประเภท lip-reed (ของปี่เป็นประเภท Cane-reed) ดังนั้นการเม้มริมฝีปากบนและล่างจรดปากกับกำพวดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะริมฝีปากจะทำหน้าที่เป็นตัวสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนที่
เกิดขึ้นตรงกำพวดนี้จะถูกส่งเข้าไปในท่อหรือลำตัวของแตร ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงดังกล่าวแล้ว กำพวดของแตรมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ แต่ละลักษณะให้คุณสมบัติของเสียงแตกต่างกัน คือ 1) กำพวดตื้น มีรูปร่างคล้ายถ้วยหรือระฆัง (Cup-shaped or bell-shaped mouthpiece) ให้เสียงที่สดใสแสดงถึงความห้าวหาญและมีอำนาจ แตรที่มีลักษณะกำพวดเช่นนี้ คือ ทรัมเป็ต ทรอมโบน ยูโฟเนียม และทูบา 2) กำพวดขอบลึก มีรูปร่างคล้ายกรวย (Cane-shaped mouthpiece) ให้เสียงที่นุ่มนวลรื่นหู แตรที่มีกำพวดลักษณะนี้ ได้แก่ ฮอร์น ส่วนแตรในปัจจุบันนี้จะมีกลไกในการบังคับเสียงโดยทำได้ด้วยการบังคับลิ้น (valves) ของลูกสูบ สามารถเปลี่ยนความยาวของท่อลมให้ลิ้นสั้นเข้าหรือยาวออก แต่ละลูกสูบยังมีขดท่อลมย่อย (coil) หรือท่อลมพิเศษ (Extrall loop of tubing) ช่วยให้ท่อลมมีความยาวมากขึ้นการคิดค้นระบบลิ้นบังคับสำหรับแตร ได้เริ่มขึ้นตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่กว่าจะนำมาใช้จนได้รับความนิยมก็ประมาณ พ.ศ.2393 (ค.ศ.1850) เป็นต้นมา ระบบกลไกที่ลิ้นบังคับ (Valve mechanism) มี 2 ระบบ คือ
(1) ระบบลิ้นปิด เปิด ด้วยการบังคับลูกสูบขึ้นหรือลง (piston valve)
(2) ระบบลิ้นปิด เปิด ด้วยการบังคับลิ้นหมุน (rotary valve) “ระบบลิ้นหมุน” เป็นที่นิยมมากในเยอรมัน ออสเตรีย และประเทศใยยุโรปกลาง ส่วนประเทศอื่นๆนิยม “ระบบลิ้นลูกสูบ” มากกว่า
แตรอีกชนิดหนึ่ง คือ “สไลด์ ทรอมโบน” (Slide Trombone) ใช้การเลื่อนท่อลมให้ลิ้นเข้าหรือยาวออกในการเปลี่ยนระดับเสียงแทนระบบการใช้ลิ้นบังคับ

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วย
1. ฮอร์น (Horn) มีรูปร่างลักษณะหลายแบบตามลักษณะการใช้งาน ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขาสัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุด คือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรูทำด้วยเขาแกะ ในสมัยโบราณฮอร์นที่ทำจากเขาสัตว์ใช้เป็นเครื่องให้สัญญาณของชาวประมงที่ออกไปจับปลากลางทะเล และคนเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า ฮอร์นที่ใช้ในวงดุริยางค์มักเรียกชื่อว่า “เฟรนซ์ฮอร์น” (French Horn) มีลักษณะขดม้วนเป็นรูปวงกลม สำหรับชื่อเฟรนซ์ฮอร์นนี้ชาวฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้ตั้งชื่อแต่เป็นชาวอังกฤษเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ เพื่อเรียกแตรฮอร์นสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ในราชสำนักฝรั่งเศส แตรชนิดนี้ได้นำเข้ามาใช้ในอังกฤษเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 และจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้แตกต่างจาก “ฮอร์นเยอรมัน” (German Horn) ซึ่งใช้กันในเยอรมนีและยุโรปกลาง แตรฮอร์นโบราณสองชนิดนี้แตกต่างกันตรงที่ฮอร์นฝรั่งเศสมีเสียงโปร่งเบากังวานแจ่มใส ส่วนฮอร์นเยอรมนีมีเสียงห้าวหนักแน่นและค่อนข้างจะทึบ ปัจจุบันเฟรนซ์ฮอร์นที่ใช้ในวงดุริยางค์เป็นแตรระบบ “Horn in F” มีเสียงกว้าง 3.5คู่แปด (Octave) เสียงจริงที่ดังออกมาจะต่ำกว่าโน้ตที่บันทึกไว้คู่ 5 เพอเฟ็กท์ (perfect) แนวการบรรเลงของฮอร์นบันทึกด้วยกุญแจซอล (treble) ในสกอร์จะอยู่ต่ำกว่าเครื่องลมไม้แต่อยู่เหนือทรัมเป็ต รูปร่างของเฟรนซ์ฮอร์นเป็นท่อลมทองเหลืองขดเป็นวง ท่อลมนี้ปลายข้างหนึ่งที่ติดกำพวดรูปกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว และจะค่อยๆโตขึ้นจนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ตรงส่วนที่ผายออกเป็นปากลำโพง ปากลำโพงนั้นกว้างมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 12 นิ้ว ท่อลมใหญ่นี้เมื่อวัดรวมกับท่อลมย่อยของลิ้นบังคับจะมีความยาวทั้งสิ้นถึง 17 ฟุต เฟรนซ์ฮอร์นนั้นเหมาะที่จะเล่นระดับเสียงต่ำและกลาง ส่วนระดับเสียงสูงๆนั้นทำได้ยาก สมัยก่อนผู้เป่าในวงดุริยางค์จึงต้องมี “ฮอร์นบีแฟล็ต” อีกตัวหนึ่งไว้เล่นเสียงสูงๆหรือมีผู้เป่าอีกคนหนึ่งมาช่วยเล่น ฮอร์นบีแฟล็ต ครูชเป นักประดิษฐ์แตรแห่งแอร์ฟอร์ท เห็นความยุ่งยากในเรื่องนี้จึงได้พยายามนำเอาชุดท่อลมย่อยที่ต่อจากลิ้นบังคับของฮอร์นบีแฟล็ต มาติดเข้ากับฮอร์นเอฟ ลิ้นบังคับแต่เดิมมี 3 ลิ้น ได้เพิ่มลิ้นที่ 4 กดด้วยนิ้วหัวแม่มืออีกลิ้นหนึ่งเพื่อเปลี่ยนแนวทางของลมที่เป่าเข้าสู่ชุดท่อลมย่อย F ที่มีอยู่เดิม หรือเข้าสู่ชุดท่อลมย่อยบีแฟล็ตที่นำมาติดใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เหมือนมีฮอร์นสองชนิดอยู่ในตัวเดียว เฟรนซ์ฮอร์นชนิดนี้จึงเรียกว่า “Double horn in F & B flat” เป็นที่นิยมมากในบรรดานักเป่าฮอร์นทั้งหลาย ส่วนเฟรนซ์ฮอร์นที่มีชุดท่อลมย่อย เอฟหรือ บีแฟล็ต อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงชุดเดียวเรียกว่า “Single horn in F” หรือ “Single horn in B flat” เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นเหมือนเสียงเป่าเขาสัตว์ คือมีลักษณะโปร่งเบา นุ่มนวล กังวาน เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกสง่าผ่าเผยและมีความงดงามที่สุดในบรรดาเครื่องเป่าทั้งหลาย ผู้เป่าจะเล่นให้แผดก้องแสดงอำนาจก็ได้ หรือจะเล่นให้อ่อนหวานละมุนละไมก็ได้นักแต่งเพลงหลายคนใช้ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เป็นต้น
2. ทรัมเป็ต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเป็ต เป็นของคนชั้นสูงผู้ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายชั้นสูง หรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเป็ตที่ใช้กันในสมัยก่อนเป็นแบบ Natural Trumpet คือ เป็นแตรที่มีแต่ท่อลมและกำพวดเท่านั้น ต่อมาเมื่อได้นำ “crook” (ท่อส่วนโค้ง) มาติดเหมือนฮอร์นจึงเรียกว่า “Natural Trumpet with crooks” แตรชนิดนี้ใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยของไฮเดิน โมสาร์ท และเบโธเฟน ได้มีผู้ติดท่อลมเลื่อนเข้าออกได้เพิ่มขึ้น ทำให้แตรมีเสียงมากขึ้นกว่าเดิม แตรชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกชื่อใหม่ว่า “ทรัมเปทคลาสสิค” (Classic Trumpet) ในปี พ.ศ.2331 (ค.ศ.1788) นักประดิษฐ์แตรผู้หนึ่งชื่อ ชาล์ลส์ แคล้กเก็ทท์ ได้คิดทำลูกสูบติดขวางท่อลมขึงทรัมเป็ตเนเจอรัล เมื่อใช้นิ้วกดลูกสูบๆจะระบายลมออกมาบังคับเสียง สูง ต่ำ ทีละครึ่งเสียง ต่อมา ชดือเชล และ บลือเมลแห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ได้คิดระบบ “ลิ้นลูกสูบ” สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2358 (ค.ศ. 1815) จึงได้นำมาติดเข้ากับทรัมเป็ตทำให้มีสภาพรัดกุมขึ้นแตรนี้จึงเรียกว่า“ทรัมเปทติดลิ้นบังคับ” (Valve Trumpet) และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ทรัมเป็ตในปัจจุบันมีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3/8 นิ้ว แต่จะค่อยๆบานออกในระยะประมาณ 1.5 ฟุต จนเป็นปากลำโพงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว เฉพาะท่อลมใหญ่วัดตั้งแต่กำพวดถึงปากลำโพงของ “ทรัมเปท C” จะมีความยาว 4 ฟุต ของ “ทรัมเปทบีแฟล็ต” 4 ฟุต 6.5 นิ้ว ท่อลมจะขดงอทบกัน 3 ทบ ตรงกลางลำตัวของแตรเป็นที่ติดลิ้นบังคับ “ไระบบลิ้นลูกสูบ” 3 ลิ้น (3 valve) ผู้เป่าจะใช้นิ้วบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนวตั้ง กำพวดของทรัมเป็ตเป็น “กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง” ซึ่งทำให้แตรมีสุ้มเสียงที่สดใส บางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลง ทำให้เกิดเสียงที่แปลกหู ก็สามารถใช้ “มิวท์” (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในการบรรเลงถ้ากำหนดให้แตรใช้มิวท์จะบันทึกว่า “Con Sordino” ซึ่งหมายความว่า “With mute” (ใช้มิวท์)
3. แตรคอร์เน็ต (Cornet) หรือเรียกชื่อเต็มว่า “Cornet - a pistons” กำเนิดขึ้นที่ประเทศ ฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) นักดนตรีมักเรียกชื่อแตรนี้ว่า “แตรลูกผสม” เพราะต้นกำเนิดของแตรนี้คือ แตรฮอร์นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ฮอร์นไปรษณีย์” (Post Horn) ซึ่งได้รับการแก้ไขดัดแปลงจนมีรูปร่างคล้ายทรัมเป็ต แต่ลำตัวสั้นกว่า 1/3 ของทรัมเป็ต แต่ถ้าวัดความยาวของท่อลม คอร์เน็ตจะมีความยาวมากกว่าทรัมเป็ต สุ้มเสียงของคอร์เน็ตไม่แจ่มใสเร้าใจเหมือนแตรทรัมเป็ต และก็ไม่นุ่มนวลโปร่งเบาเหมือนแตรฮอร์น หรือกล่าวได้ว่าเป็นกึ่งระหว่างทรัมเป็ตกับฮอร์น แตรนี้เคยได้รับความนิยมมากตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่พอล่วงเลยมาถึงประมาณ พ.ศ. 2433 (ค.ศ.1890) ก็ค่อยๆหมดความสำคัญลง เมื่อทรัมเป็ตติดลิ้นบังคับปรับปรุงจนดีจึงได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ ข้อดีของแตรนี้คือเป็นแตรที่เล่นง่าย ในปัจจุบันจึงเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในวงโยธวาทิต แตรวง รอสซินี (Rossini)เป็นคนแรกที่นำคอร์เน็ตมาใช้ในอุปรากรเรื่อง “William Tell” ฯลฯ
4. ทรอมโบน (Trombone) เป็นแตรที่มีท่อลมสวมซ้อนเลื่อน เข้า ออก ได้ (telescopic slide) ซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตรร่วมกับแตรโบราณชนิดหนึ่งมีชื่อว่า “คอร์เนทท์”(cornett แตรนี้ไม่ใช่ Cornet ที่กล่าวมาแล้ว) ซึ่งมีเสียงสูงกว่า เมื่อทรอมโบนได้รับการแก้ไขปรับปรุงดีขึ้น ก็ได้นำมาใช้ในการแสดงอุปรากรตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โมสาร์ท (Mozart) ใช้แตรนี้ในอุปรากรเรื่อง “Don Giovanni” เบโธเฟนใช้ทรอมโบนเป็นครั้งแรกในท่อนที่ 4 ของบทเพลง “ซิมโฟนี หมายเลข 5” เมนเดลโชห์น (Mendelssohn) ถือว่าแตรนี้เป็นเครื่องดนตรีแสดงความศักดิ์สิทธิ์และได้นำมาใช้ในเพลงศาสนา เป็นที่น่าสังเกตว่านักแต่งเพลงส่วนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่ค่อยใช้ทรอมโบนเล่นเดี่ยวและเล่นในงานแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) ในปัจจุบันทรอมโบนยังเป็นเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิตและวงแจ๊ส รูปร่างของทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมโลหะขนาดยาวงอโค้ง 2 ครั้ง สองในสามของความยาวของท่อลมนี้ คือตั้งแต่กำพวดจะเป็นท่อทรงกระบอก ส่วนความยาวที่เหลือนั้นจะค่อยๆบานออกเป็นปากลำโพง กำพวดของแตรนี้เป็นกำพวดรูปถ้วยหรือระฆังเช่นเดียวกับทรัมเป็ต ตรงส่วนที่ใกล้ กำพวดจะมีท่อลมรูปตัว “U” ซึ่งเลื่อนเข้า ออกได้ มาสอดเข้ากับท่อลมใหญ่ เมื่อท่อลมนี้เลื่อนออกให้ ยาวที่สุด แตรจะมีความยาวประมาณ 9 ฟุต แต่ถ้าเลื่อนท่อลมเข้ามาให้สั้นที่สุดตัวแตรจะมีความยาว ประมาณ 45 นิ้ว การเลื่อนท่อลมให้สั้นเข้าหรือยาวออกไป จะเป็นไปตามกฎของ “อุโฆษวิทยา” (Acoustic) ในหัวข้อที่ว่าระดับของเสียงต่างๆจะขึ้นอยู่กับความยาวของท่อลมที่มีอากาศภายในสั่นสะเทือน ถ้าท่อลมยาวก็จะได้ระดับเสียงต่ำ ถ้าท่อลมสั้นก็จะได้ระดับเสียงสูง
5. เบสทรอมโบน (Bass Trombone) เป็นแตรที่มีเสียงต่ำกว่าเทเนอร์ทรอมโบน โดยปกติในวงดุริยางค์ใช้ “Bass Trombone in F” ซึ่งระดับเสียงต่ำกว่า “Tenoe Trombone B flat” คู่ 4 เพอเฟ็คท์ ในอังกฤษนิยมใช้ “Bass Trombone in G” แต่ในเยอรมนีนิยมใช้ “Bass Trombone in E flat” รูปร่างของเบสทรอมโบนคล้ายกับเทเนอร์ทรอมโบน แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบสทรอมโบนมีท่อลมยาวกว่า และมีด้ามพิเศษสำหรับมือขวา เพื่อใช้เลื่อนท่อลมเข้าออกช่วยให้ผู้เป่าเป่าสะดวกไม่ต้องเหยียดแขนเกินไปในการเลื่อนท่อลมที่ยาวมาก ปัจจุบันในวงดุริยางค์นิยมใช้ทรอมโบนอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เทเนอร์ เบสทรอมโบน” (Tenor - Bass Trombone) แทนเบสทรอมโบน แตรชนิดใหม่นี้ก็คือ “เทเนอร์ทรอมโบน บี แฟล็ท” ที่นำเอา “F attachment” ซึ่งเป็นท่อลมย่อยพิเศษมาติดเพื่อช่วยเพิ่มความยาวของท่อลมใหญ่ ทำให้เป่าเสียงต่ำลงไปอีกคู่ 4 และยังติดลิ้นบังคับ “ระบบลิ้นหมุน” สำหรับนิ้วหัวแม่มือซ้ายไว้คอยเปลี่ยนแนวทางของลมที่เป่าให้เข้าสู่ท่อลมย่อยเหมือนกับแตรเฟรนซ์ฮอร์น หลังจากอดอล์ฟ แซกซ์ ได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนขึ้นสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2383(ค.ศ.1840) อีกประมาณ 5 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) เขาก็ได้ประดิษฐ์อีกตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า “แซกซ์ ฮอร์น” (saxhorn) ขึ้น แตรตระกูลนี้มีหลายชนิดหลายขนาด เช่น
(1) บาริโทน (Baritone in B flat หรือ C)
(2) ยูโฟนียม (Euphonium in B flat หรือ C)
(3) บอมบาร์ดอน (Bombardon in E flat หรือ EE flat)
(4) ฟลูเกลฮอร์น (Flugelhorn in B flat)
(4) ทูบา (Tuba)

ทูบา (Tuba) หรือบางครั้งเรียกเบสทูบา (Bass tuba) เป็นแตรขนาดใหญ่ เวลาเป่าผู้เป่าจะต้องอุ้มแตรนี้และให้ลำโพงหงายขึ้นข้างบน ทูบาที่ใช้มีขนาดต่างๆกัน แต่ละขนาดมีชื่อตามความยาวของท่อลมและบันไดเสียงประจำ เช่น “ทูบาขนาด 9 ฟุต เป็นแบบ B flat” “ทูบา 12 ฟุตเป็นแบบ F” “ทูบา ฟุต เป็นแบบ E flat” “ทูบา 16 ฟุต เป็นแบบ C” “ทูบา 18 ฟุต เป็นแบบ B flat” แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ “ทูบา 12 ฟุต F” ซึ่งมีช่วงเสียงกว้าง 3 คู่แปดเสียงเศษ ท่อลมของทูบามีสัณฐานทรงกรวยเหมือนแตรเฟรนซ์ฮอร์น ตรงกลางลำตัวติดลิ้นบังคับ “ระบบลิ้นลูกสูบ” 4 ลิ้น ส่วนกำพวดนั้นใช้ชนิดรูปถ้วยหรือระฆังเช่นเดียวกับทรัมเป็ตและทรอมโบน เสียงของทูบาทุ้มลึก นุ่มนวล ไม่ค่อยแตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “pedal tones” นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่ประสานเสียงให้กับกลุ่มแตรด้วยกัน โดยเล่นโน้ตตัวต่ำสุดของคอร์ดเหมือนดับเบิลเบส ทำหน้าที่ให้แก่เครื่องสายที่มีเสียงสูงกว่า

เครื่องกระทบหรือเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)
เครื่องกระทบหรือเครื่องประกอบจังหวะจะให้เสียงได้ด้วยการทำให้แผ่นหนัง (membrane) ที่ขึงตึง หรือพวกวัตถุที่เป็นของแข็ง (Soild metarials) เช่นโลหะ หรือไม้ เกิดการสั่นสะเทือนด้วยการตี เคาะ เขย่า หรือกระทบกัน เครื่องดนตรีเหล่านี้บางชนิดมีตัวขยายเสียง (Resonator) แต่บางชนิดก็ไม่มีเครื่องดนตรีกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องดนตรีที่ทำทำนองได้ (Meiodic Percussion) หรือมีระดับเสียง แน่นอน (Instruments of Definite Pitches) ได้แก่ กลองทิมปานี (Timpani) คล็อกเกลสปิล (Glockenspiel)เชเลสตา (Celesta) ไซโลโฟน (Xylophone) เป็นต้น
2. เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Instruments of indefinite Pitches) ได้แก่ กลองเล็ก กลองเทเนอร์ กลองใหญ่ ฉาบ ฆ้อง เหล็กสามเหลี่ยม เป็นต้น ในที่นี้จะนำมากล่าวแต่เฉพาะที่ใช้ในวงโยธวาทิตเท่านั้น คือ
2.1 กลองเล็ก (Snare Drum or Side Drum) กลองชนิดนี้เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดี จะเห็นบ่อย ในการเดินแถวของทหาร ลูกเสือ และนักเรียน กลองชนิดนี้มีหน้ากลองสองหน้าขนาดมาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 -15 นิ้ว และสูง 10 - 12 นิ้ว ผู้เล่นจะใช้ไม้ตีกลอง 2 อัน ตีหน้ากลองด้านบน ส่วนหน้ากลองด้านล่างนั้นจะมี “Snare” ที่ทำด้วยลวดขึงตึงพาดทาบกับหน้ากลอง ขณะที่หน้ากลองด้านบนถูกตีความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจะทำให้ Snare กับหนังกลองกระทบกันเกิดเสียงซ่า หรือ แทร้ก ๆ (rattling effect) ผู้เล่นกลอง

ชนิดนี้มักจะตีให้เกิดเสียงรัวที่เรียกว่า “Daddy – mammy” โดยใช้ไม้ทั้งสองตีสลับกันอย่างรวดเร็ว แฮนเดลได้นำกลองชนิดนี้มาใช้เป็นครั้งแรกใน “Royal Fireworks Music เมื่อปี พ.ศ.2292 (ค.ศ.1749)”
2.2 กลองเทเนอร์ (Tenor Drum) กลองเทเนอร์มีขนาดใหญ่กว่าและสูงกว่ากลองเล็ก กลองนี้ไม่ติด Snare กลุ้ค (Gluck) เป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในอุปรากรเรื่อง “Iphigenie en Tauride” เมื่อปี พ.ศ.2322 (ค.ศ. 1779) กลองชนิดนี้และขลุ่ยไฟฟ์เมื่อนำมาใช้ร่วมกันบรรเลงนำแถวทหาร ชาวอังกฤษเรียกว่า “Drum and fifes”
2.3 กลองใหญ่ (Bass drum) กลองใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 24 -36 นิ้ว กลองชนิดที่ใช้ในวงดุริยางค์ส่วนมากจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว เป็นเกณฑ์ และหน้ากลองทั้งสองห่างกันประมาณ 16 นิ้ว กลองชนิดนี้ไม่ติด Snare เช่นกัน หน้ากลองทั้งสองขึงรั้งให้ตึง ด้วยการขันสกรูที่อยู่รอบๆขอบกลอง เวลาจะเล่นให้ตั้งกลองบนขาหยั่ง หรือใช้สะพายให้หน้ากลองทั้งสองอยู่ในแนวดิ่ง ลักษณะของไม้ตีมีด้ามเป็นไม้ตอนปลายจะเป็นปุ่มขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยวัสดุนุ่มๆ เช่น สักหลาด แต่บางครั้งเมื่อต้องการสุ้มเสียงพิเศษต่างออกไปจะใช้ไม้ตีกลองเล็ก หรือไม้อีกชนิดหนึ่งที่ปลายเป็นแปรงลวดหรือไม่ก็แขนงไม้เบิช (birch) ขนาดไม้เรียวเล็กๆมัดเป็นกำเรียกว่า “Rulhe” (ในภาษาเยอรมัน) โมสาร์ทเป็นผู้นำกลองนี้มาใช้เป็นครั้งแรกในอุปรากรเรื่อง “Entfuhrung aus dem Serail”
2.4 ฉาบ (Cymbals) เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของพวกตุรกี รูปร่างเป็นจานทองเหลืองบาง ๆ ขนาดเท่ากัน 2 อัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 - 24 นิ้ว ปกติวงโยธวาทิตใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 - 16 นิ้ว ตรงกลางจานด้านนอกมีที่จับทำด้วยสายหนัง ฉาบเป็นเครื่องดนตรีที่ส่งเสียงดังอึกทึกที่สุดในวงโยธวาทิต เวลาเล่นใช้ตีกระทบเข้าหากัน หรือถ้าใช้เพียงข้างเดียวก็จะใช้ไม้กลองตีหรือเคาะ กลุ๊ค (Gluck) เป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก ในอุปรากรเรื่อง “Iphigenie en Tauride” เมื่อ พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779)
เครื่องดนตรีที่นำมากล่าวข้างต้นแล้วนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้กันในวง โยธวาทิต อาจจะมีบางชิ้นที่ไม่ได้นำมากล่าวในเบื้องต้นนี้ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป ในปัจจุบันวงโยธวาทิตกำลังเป็นที่แพร่หลายอย่างมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การพัฒนาได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรเลงได้ในหลายรูปแบบ มีทั้งการเดินแถว การแปรแถว การนั่งบรรเลง ในบาง

ครั้งก็นำเครื่องดนตรีแปลกๆมาบรรเลงร่วมเพื่อให้บทเพลงมีความแปลกใหม่และเพื่อความเหมาะสมกับบทเพลงที่ใช้บรรเลง

2.6 มาตรฐานของวงโยธวาทิตจากอดีตสู่ปัจจุบัน
อดีต วงโยธวาทิตได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้เริ่มมีลักษณะเฉพาะตัว และเริ่มเป็นมาตรฐานขึ้นในสมัยของพระเจ้าหลุยที่ 14 ระหว่างคริสต์ศักราช 1673 - 1715 โดยพระองค์เองทรงเป็นทั้งนักรบ และนักเพลง ทรงจัดตั้งวงดนตรีและทรง ประพันธ์บทเพลงด้วยพระองค์เอง ด้านวงดนตรีประกอบด้วยโอบัว (Huatbois) รวม 4 ขนาด และกลอง
อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าเฟรเดอริคมหาราช ระหว่างคริสต์ศักราช 1740 - 1786 โดยเมื่อ ค.ศ.1763 ได้ทรงปรับปรุงวงดนตรี โดยประกอบด้วย โอบัว 2 คัน คลาริเน็ต 2 คัน ฮอร์น 2 คัน บาสซูน 2 คัน และกลอง
โอโบ ในสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18 มีเสียงต่ำกว่า โอโบ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มาก ในยุคเดียวกันนี้ วงดนตรีทหารปืนใหญ่ของอังกฤษ “Royal Regiment of Artillery” เมื่อ ค.ศ. 1762 มีการจัดการวงดนตรี ดังนี้ ทรัมเป็ต 2 คัน ฮอร์น 2 คัน คลาริเน็ต 2 คัน บาสซูน 2 คัน นักดนตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่บรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ต้องมีความสามารถปฏิบัติบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (Stringed Instruments) ได้อีกอย่างน้อย 1 ชนิดด้วย เงื่อนไขนี้ปรากฏใช้กับวงดนตรีอื่นๆในประเทศอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็คลายความเข้มงวดไปจากแต่เดิม ความคลั่งไคล้ในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบและอึกทึกครึกโครม เช่น กลองขนาดต่าง ๆ เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลมบาดหู เช่น ไฟฟ์ ได้เป็นที่นิยมและแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็วทั่วทวีปยุโรปเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ทั้งตื่นเต้นที่จะได้เห็นทาสนิโกรแต่งกายด้วยสีสันฉูดฉาดตามลักษณะเผ่าเดิมทำหน้าที่กลองในวงดนตรี แม้ปัจจุบันนี้คนตีกลองในวงดุริยางค์ของกองทัพบกอังกฤษบางวง แม้ผู้บรรเลงจะเป็นผิวขาว ก็ยังคลุมหนังเสือดาวทับบนเครื่องแบบพิเศษกว่านักดนตรีคนอื่นๆ
ในประเทศฝรั่งเศส ในยุคของนโปเลียน เมื่อ ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา เมื่อมีงานเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญของชาติโยธวาทิตจะมีบทบาทหน้าที่สำคัญของงาน บทเพลงต่างๆของวงโยธวาทิตจึงเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยฝีมือของนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงหลายๆท่าน



วงโยธวาทิตประจำกองพันทหารราบของนโปเลียน ประกอบด้วย
- 1 Piccolo - 1 Clarinet เสียงสูง
- 16 Clarinets ธรรมดา - 4 Bassoons
- 2 Serpents - 2 Trumpets
- Bass Trumpet - 4 Horns
- 3 Trombones - 2 Snare
- Bass Drum - Triangle
- 2 pair Cymbals - 2 Turkish crescents
รวมจำนวนผู้บรรเลงทั้งสิ้น 42 คน
วงโยธวาทิตสมัยของนโปเลียน ได้รับการยอมรับในสมัยนั้นว่าเป็นวงที่ทันสมัยที่สุด ทั้งเป็นแบบฉบับที่ได้รับการถ่ายทอดออกไปอย่างกว้างขวาง
กลางศตวรรษที่ 19 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ ได้รับการปรับปรุงทางเทคนิคโดย Adolf Sax และนักประดิษฐ์อื่นๆอีกหลายท่าน จนมีคุณภาพสูงขึ้นเป็นอันมาก เป็นที่ยอมรับและนำเข้าบรรจุในวงโยธวาทิต
การจัดการเครื่องดนตรีชนิดต่างๆของวงโยธวาทิตนั้นไม่มีข้อยุติที่แน่นอน แต่ละประเทศ แต่ละท้องถิ่นล้วนมีเหตุผลในการจัดเป็นของตนเอง ในด้านจำนวนของเครื่องดนตรีชนิดเครื่องลมไม้ คลาริเน็ตดูจะเป็นส่วนที่เกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้มีความจำเป็นและสำคัญต่อวงโยธวาทิตเช่นเดียวกันกับไวโอลิน ที่มีความสำคัญต่อวงออร์เคสตราฉันนั้น

วงโยธวาทิตของกองทัพบกอังกฤษ มีหลักนิยมในการจัด ดังนี้
ประเภทเครื่องลมไม้
- Piccolo, Flute - 12 - 14 Bb Clarinets
- Eb Clarinets - 2 Bass Clarinets
- Alto Saxophone - Tenor Saxophone
- 2 Bassoons
ประเภทเครื่องทองเหลือง
- 4 Horns - 2 Baritones

- 2 Euphonium - 4 Bombardons
- 4 Cornets - 2 Trumpets
- 3 Trombones
ประเภทเครื่องกระทบ
- Drums ผู้ปฏิบัติ 2 นาย ประกอบด้วยเครื่องกระทบชนิดต่างๆ ยิ่งกว่านี้ยังเพิ่ม ซอเบส 2 คัน
ปัจจุบันนี้มีผู้กล่าวว่า การจัดการวงโยธวาทิตของกองทัพบกอังกฤษ ถือเป็นพื้นฐานในการจัดรูปแบบของวงโยธวาทิตในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการเริ่มยุคใหม่แห่งวงการวงโยธวาทิต แต่การจัดการ ต่างๆก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ตราบใดที่คนในโลกยังหาเทคโนโลยีใหม่ๆมาพัฒนาด้านต่างๆ การดนตรีก็ยังคงพัฒนาไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วงโยธวาทิตของสหรัฐอเมริกา แบ่งการจัดวงออกเป็น 2 ขนาด คือ
Full Band ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้ คือ
- Db Piccolo - C Flute (2)
- Eb Clarinet - 1st. Bb Clarinet (2)
- 2nd. Bb Clarinet (2) - 3rd. Bb Clarinet (2)
- Alto Clarinet - Bass Clarinet
- Oboe - 1st. Alto Saxophone
- 2nd. Alto Saxophone - Tenor Saxophone
- Baritone Saxophpne - Bb Cornet 2/2/2
- Eb Horn. 1st & 2nd. (2) - Eb Horn. 3rd & 4th. (2)
- F Horn. 1st & 2nd. (2) - F horn. 3rd & 4th. (2)
- Trombone. 1st,2nd,3rd. - Baritone (Treble clef)
- Baritone (Euphonim) - Basses (3)
- Drums (2) - Timpani



Symphonic Band ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้ คือ
- Db Piccolo - 1st. C Flute (2)
- 2nd C Flute - Eb Clarinet
- Bb Clarinet. 4/4/4 - Alto Clarinet (2)
- Bass Clarinet (2) - 1st. & 2nd. Oboe (2)
- Bassoon (2) - Alto Saxophone 1/1
- Baritone Saxophone - Bb Cornet 3/3/3
- Eb Horn 1/1/1/1 - F Horn 1/1/1/1
- Trombone 1/1/1 - Baritone
- Euphonium - Basses (6)
- Drums (3) - Timpani
วงโยธวาทิตของกองทัพอากาศอเมริกันได้เพิ่มเติม เชลโล 6 คัน และซอเบส 4 คัน
ปัจจุบัน มาตรฐานของวงโยธวาทิตในนับว่าเป็นสิ่งที่กล่าวได้ยากในเรื่องของการบริหารจัดการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษานั้นๆที่จะสร้างมาตรฐานได้ดีเพียงใด โดยปัญหาที่เกิดที่สำคัญที่สุดคือในด้านเงินทุนที่จะใช้ในการดำเนินการ และความพร้อมของบุคลากรทั้งในด้านจำนวนและ ความรอบรู้ในการบริหารจัดการวงโยธวาทิต แต่ทั้งนั้นทั้งนี้จะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว แต่จะเสนอแนะในเรื่องที่ผู้รับผิดชอบสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการวงโยธวาทิตต่อไป
กิจกรรมโยธวาทิตในปัจจุบันได้มีพัฒนาการมาโดยตลอด ซึ่งเริ่มมีความรุ่งเรืองและมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากตั้งแต่สมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จนกระทั่งถึงในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละยุคแต่ละสมัย ก็มีเอกลักษณ์ประจำของแต่ละยุค โดยจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น วงโยธวาทิตที่น่าจะถือได้ว่าเป็นต้นแบบของวงโยธวาทิตในปัจจุบันน่าจะได้แก่วงโยธวาทิตของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความสมบูรณ์ในองค์ประกอบอย่างครบถ้วน ทั้งในด้านเครื่องดนตรีและจำนวนผู้บรรเลง โดยใช้จำนวนเครื่องดนตรี 56 ชิ้น จัดระบบจำนวนผู้บรรเลงและเครื่องดนตรีดังนี้



เครื่องดนตรี จำนวนผู้บรรเลง
Piccolo 1
Flute 2
Oboe
2
Eb Clarinet 2
Solo Bb Clarinet
1st. Bb Clarinet

2nd. Bb Clarinet
3rd. Bb Clarinet
Bassoon 2
Alto Saxophne 1
Tenor Saxophone 1
1st. F Horn or Eb Horn 1
2nd. F Horn or Eb Horn 1
3rd. F Horn or Eb Horn 1
4th. F Horn or Eb Horn 1
1st. Bb Cornet 2
2nd. Bb Cornet 2
1st. Bb Trumpet 1
2nd. Bb Trumpet 1
1st. Tenor Trombone 1
2nd. Tenor Trombone 1
Bass Trombone 1
Euphonium 2
Eb Bass 2
Bb Bass 2
มาตรฐานวงโยธวาทิตในประเทศไทย
จากข้อมูลของกองดุริยางค์ทหารเรือ

เครื่องดนตรี อัตรากำลัง
100 80 60 40 30 15
1st. & 2nd. Flute 4 4 2 1 1 1
Piccolo 1 1 1 1 - -
Oboe (Cor Anglais) 4 3 2 1 1 -
1st. & 2nd. Eb Clarinet 4 2 2 1 1 1
Solo Bb Clarinet 10 6 6 4 2 1
1st. Bb Clarinet 6 4 4 2 2 1
2nd. Bb Clarinet 4 4 3 2 2 1
3rd. Bb Clarinet 4 4 3 1 2 1
4th. or Bb Bass Clarinet 2 2 2 2 - -
Bassoon 4 2 4 2 1 1
Alto Saxophone 2 2 1 1 1 -
Tenor Saxophone 2 2 1 1 1 -
Baritone Saxophone 2 2 1 - - -
Bass Saxophone 2 1 1 - - -
Tenor Cor 1st. & 2nd. 2 2 2 2 2 -
Tenor Cor 3rd. & 4th. 2 2 2 2 - -
French Horn 1st. & 2nd. 2 2 - - - -
French Horn 3rd & 4th. 2 2 - - - -
Solo Bb Cornet 2 2 2 1 1 -



เครื่องดนตรี อัตรากำลัง
100 80 60 40 30 15
1st. Bb Cornet 2 2 1 1 1 1
2nd. Bb Cornet 2 2 1 1 1 1
1st. Bb Trumpet 2 1 1 1 - -
2nd. B Trumpet 2 1 1 1 - -
1st. Tenor Trombone 2 2 1 1 1 -
2nd. Tenor Trombone 2 2 1 1 1 -
Bass Trombone 2 2 1 1 1 -
Euphonium 6 4 3 2 2 1
Basses 10 6 5 4 3 2
String Bass 2 1 - - - -
Drums & Timpani 4 4 4 3 2 1
Harp 1 1 - - - -
จากข้อมูลของกองดุริยางค์ทหารบก

เครื่องดนตรี อัตรากำลัง
20 25 30 35 40 45 50
Piccolo 1 1 1 1 1 1 1
Flute - - - - - - -
Eb Clarinet 1 1 1 1 1 2 3
Oboe 1 1 1 1 1 2 2
Solo Bb Clarinet 2 2 3 4 4 4 6
1st. Bb Clarinet 1 1 2 2 2 3 3
เครื่องดนตรี อัตรากำลัง
20 25 30 35 40 45 50
2nd. Bb Clarine 1 2 2 2 3 3 4
3rd. Bb Clarinet 1 2 2 2 3 3 4
Bb Soprano Saxophone - - - - - - -
Alto Saxophone - 1 1 1 1 1 1
Tenor Saxophone - 1 1 1 1 1 1
Baritone Saxophone - - - - - - -
Bassoon 1 1 2 2 2 2 2
Horn 1st. & 2nd. 2 2 2 2 2 2 2
Horn 3rd. & 4th. - - - 2 2 2 2
1st. Bb Cornet 2 2 2 3 4 4 4
2nd. Bb Cornet 1 1 1 2 2 2 2
Bb Trumpet - - - - - 2 2
1st. Tenor Trombone 1 1 1 1 1 1 1
2nd. Tenor Trombone 1 1 1 1 1 1 1
Euphonium 1 1 1 1 1 1 1
Bass - 1 1 1 1 1 1
Eb Bombadon 1 1 2 2 2 2 3
Bb Bombadon 1 1 1 1 2 2 2
Side Drum and Effect - - 1 1 1 1 1
Bass Drum Timpani 1 1 1 1 1 1 1
Cymbals 1 1 1 1 1 1 1

สำหรับการจัดวงโยธวาทิตแบบนำแถวหรือกองเกียรติยศ จัดกันได้หลายแบบ ถ้าเป็นแบบของอเมริกันจะเอาเครื่องทรัมเป็ตนำหน้าและมีแตรเบสอยู่ท้าย ผู้ควบคุมวงเดินนำแถวของวงต่อจากดรัมเมเยอร์ (Drum Major) และเวลาเดินจะมีการโยกตัวส่ายตัวจากซ้ายมาขวาและจากขวามาซ้าย แต่การจัดวงโยธวาทิตของอังกฤษใช้เครื่องทรอมโบนเป็นแถวหน้า และแตรเบสอยู่แถวที่สองหรือแถวที่สาม (อเมริกัน แตรเบสใช้เป็นแตรซูซาโฟน ซึ่งใช้พาดบ่า ส่วนอังกฤษจะใช้แตรเบสแบบอุ้ม คือ แตร Tuba EEb และ BBb เครื่องจังหวะอยู่ตรงกลางเพื่อให้ได้ยินจังหวะทั่วถึงกัน ส่วนเครื่องลมไม้อยู่หลังทั้งนี้มีเทคนิคอยู่ว่า ที่ทรอมโบนอยู่หน้านั้นก็เพราะเป็นเครื่องที่ต้องใช้ระยะต่อมาก ถ้าให้อยู่แถวอื่นๆ จะปฏิบัติเครื่องไม่ได้ถนัด ส่วนเครื่องลมไม้ที่จัดอยู่แถวหลังๆก็เพราะว่าเครื่องลมไม้เป็นเครื่องที่มีเสียงเล็กแหลม ซึ่งเสียงสามารถได้ยินไปได้ไกลกว่าเครื่องดนตรีที่มีเสียงใหญ่ทุ้ม และการเดินแถวแบบอังกฤษจะไม่มีการส่ายตัว ร่างกายท่อนบนนิ่งไม่โยกตัวไม่ยกไหล่จะเคลื่อนไหวเฉพาะช่วงเอวถึงเท้า
2.7 การใช้เครื่องดนตรีทดแทนเมื่อนำเพลงของวงดุริยางค์มาบรรเลงในวงโยธวาทิต
วงโยธวาทิต คงใช้เครื่องดนตรีต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ยกเว้นแต่เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ไม่มีร่วมบรรเลงในวงโยธวาทิตเลย คือวงโยธวาทิตจะมีก็แต่เฉพาะเครื่องเป่าล้วนๆ โดยเหตุที่วงโยธวาทิตต้องขาดกำลังสำคัญๆของเครื่องดนตรีในวงดุริยางค์ และในบางครั้งวงโยธวาทิตต้องการนำเอาบทเพลงของวงดุริยางค์มาบรรเลง จึงต้องใช้วิธีการที่จะใช้เครื่องดนตรีทดแทน ในการนำเพลงที่มีเครื่องสายเป็นหลักมาบรรเลงจึงต้องทำให้วงโยธวาทิต ต้องทบทวีคูณเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้เป็นจำนวนมาก เช่น Bb Clarinet เป็นต้น ทั้งยังต้องมีปี่พิเศษที่สร้างขึ้นมาเพื่อบรรเลงในวงโยธวาทิตโดยเฉพาะ คือ Eb Clarinet เพื่อช่วยปฏิบัติบทเพลงในหน้าที่ของซอไวโอลิน แนวที่ 1 ที่ใช้เสียงในระดับสูงๆ ซึ่ง Eb Clarinet ไม่สามารถจะเป่าเสียงได้ถึง นอกจากนั้นแล้วยังต้องมีการจัดสร้างแตรเบสในระดับต่ำ เช่น เบส EEb และ BBb เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทดแทนเสียงในระดับต่ำๆของซอเบส
เครื่องดนตรีทดแทนประกอบด้วย
1. ปี่ Eb และ Bb Clarinet แนวที่ 1 ใช้แทนซอไวโอลินแนวที่ 1
2. ปี่ Bb แนวที่ 2 และแนวที่ 3 ใช้แทนซอไวโอลินแนวที่ 2 และซอวิโอลา
3. แตร Euphonium พร้อมด้วย Alto Saxophone และ Tenor Saxophone ใช้แทนซอเชลโล
4. แตรเบสทูบา EEb และ BBb ใช้แทนซอเบส
ความเปลี่ยนแปลงของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองที่มีความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ Bb Baritone เมื่อปี พ.ศ. 2464 ได้มีการสัมมนาอย่างเป็นทางการระดับ Director of Music จากวงดุริยางค์กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศของประเทศอังกฤษได้มีมติว่าให้เลิกใช้ Bb Baritone ในวงโยธวาทิต โดยที่เครื่องดนตรีชนิดนี้มีคุณสมบัติทางเสียงสู้ Euphonium ไม่ได้ ซ้ำยังมีคุณภาพเสียงต่ำกว่าอีกด้วย และที่ประชุมนี้ตกลงให้ใช้ Tenor Saxophone เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทน แต่วงดนตรีประเภท Brass Band นั้นยังคงใช้อยู่เป็นประจำ การนำเหตุผลและหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชนิดนี้มาบรรจุไว้ที่นี้ เพื่อให้ได้ทราบและพิจารณาในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการวงโยธวาทิตต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น