วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การใช้ การดูแล และการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี

บทที่ 3

การใช้ การดูแล และการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี

ธนาคาร แพทย์วงษ์ (2533: 195- 198) กล่าวไว้ในคู่มือครู การจัดกิจกรรมโยธวาทิตในสถานศึกษา ความว่า เครื่องดนตรีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกและการนำออกไปแสดงตามที่ต่างๆและเพื่อให้เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีมีสภาพเรียบร้อย บรรเลงได้โดยไม่ชำรุดเสียหายก่อนระยะเวลาอันสมควร ตลอดจนการนำเอาเครื่องดนตรีออกมาใช้ จำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพความเป็นมาและหลักการโดยทั่วไปของเครื่องมือชนิดต่างๆ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขเมื่อเกิดขัดข้อง และจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการรักษาให้เครื่องดนตรีมีสภาพที่พร้อมใช้งาน ตลอดทั้งการปรนนิบัติบำรุงให้สะอาดเรียบร้อยให้น่าดูน่าใช้นำมาปฏิบัติได้โดยไม่ติดขัด โดยยึดหลักการที่ว่า “สะอาด คุณภาพดี ประหยัดเงินตรา เวลามีค่า อนามัยดี มีสุขภาพสมบูรณ์”
เครื่องดนตรี หมายถึงวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงได้โดยการดีด สี ตี เป่า ซึ่งเรียกว่า “ดุริยะ” โดยจำแนกเป็น 4 อย่าง คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ
เครื่องดนตรีเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีความบอบบางต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการจัดสร้าง ในบางครั้งถ้าเราใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆของอุปกรณ์เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรศึกษากลไกต่างๆที่เป็นชิ้นส่วนของเครื่องดนตรีให้ลึกซึ้ง เพื่อเป็นแนวทางในการบำรุงรักษา ให้เครื่องดนตรีไม่ชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร และยืดอายุการใช้งานให้มากขึ้นเพื่อประหยัดงบประมาณของทางราชการตลอดจนสามารถถอดชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องดนตรีได้ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด และสามารถประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าที่เดิมได้
การบำรุงรักษาเครื่องดนตรี มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเป็นนักดนตรีที่ดี มิใช่เล่นดนตรีได้อย่างมีความสามารถดีเยี่ยม แต่เครื่องมือไม่เคยได้รับการดูแลรักษาเลยก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนักเหมือนกับปลูกบ้านใหม่แต่ไม่เคยดูแลเรื่องความสะอาดภายในบ้านเลยในไม่ช้าบ้านนั้นก็มีแต่ความสกปรกรกรุงรัง และลุกลามไปถึงการผุพังก่อนเวลาอันควร เช่นเดียวกับการเป็นนักดนตรี เราต้องบำรุงรักษาเครื่องดนตรีก็เพื่อให้เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีมีสภาพที่เรียบร้อยและใช้บรรเลงได้โดยไม่ชำรุดเสียหายก่อนถึงระยะเวลาอันสมควร และก็ควรศึกษาถึงโครงสร้างของเครื่องดนตรีไว้ด้วยเพื่อความถูกต้องในการปฏิบัติ “จงอย่าเป็นผู้ไม่รู้จริงแต่อวดเด่นว่าตนแน่ เครื่องจะแย่เพราะคนไม่รู้จริง” ดังนั้นนักดนตรีจึงน่าที่จะต้อง

ศึกษาในหลักการเบื้องต้นของเครื่องดนตรีบ้างเสียก่อนจึงค่อยดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาให้ถูกต้องตามกรรมวิธี ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ผู้ที่มีหน้าที่ใช้เครื่องดนตรีต้องรับผิดชอบในสภาพของเครื่องดนตรีที่ตนเองครอบครอง ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติบำรุงรักษาให้เรียบร้อยอยู่เสมอ ทำให้น่าดูน่าใช้เมื่อนำมาปฏิบัติก็สะดวกคล่องแคล้วไม่ติดขัด และทำให้เกิดประโยชน์ตามมา 4 ประการ คือ
1. สะอาดเรียบร้อย
2. มีคุณภาพดี
3. ประหยัดเงินและเวลา
4. เพื่อสุขภาพและอนามัยของผู้ใช้
หากเครื่องดนตรีเกิดการชำรุดหรือขัดข้องในส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือติดขัดไม่สะดวกในการใช้แล้ว ถ้าไม่มีความรู้ความสามารถทำได้แล้ว อย่าดำเนินการแก้ไขด้วยตนเองเป็นอันขาด ควรนำไปให้ช่างผู้ชำนาญการดำเนินการซ่อมต่อไป
หัวใจของการศึกษาวิชาดนตรีก็คือเครื่องดนตรี การที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาวิชาดนตรี จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. พรสวรรค์ทางดนตรี
2. ครูผู้สอนดี
3. เครื่องมืออยู่ในสภาพดีและมีคุณภาพ
4. ความสนใจ และเอาใจใส่ในการฝึกซ้อมอยู่เสมอ
เครื่องมือที่ดีจะมีส่วนช่วยนักดนตรีอย่างมาก และทำให้เกิดความสะดวกต่อครูผู้สอนอีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดคุณภาพของเสียงที่ดี อายุการใช้งานที่นานโดยอยู่ในสภาพที่ดีภายในระยะเวลาตามที่กำหนดของการซ่อมบำรุง ในทางตรงกันข้ามเครื่องมือที่ไม่ดีไม่มีคุณภาพจะทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆในการฝึกฝน การปฏิบัติเครื่องมือจะอยู่ในขอบเขตที่จำกัด คุณภาพเสียงไม่เป็นที่น่าพอใจ รู้สึกผิดหวัง และต้องทำการซ่อมแซมเร็วกว่าในระยะเวลาที่กำหนด
เครื่องดนตรีเป็นของที่มีราคาแพง เป็นการลงทุนสูงในการที่จะซื้อเครื่องดนตรีที่มีคุณภาพแต่ละชิ้น ฉะนั้นการบำรุงรักษาจึงเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนเวลาอันสมควร เครื่องดนตรีที่ต้องส่งเข้ารับการซ่อมก่อนกำหนดระยะเวลาโดยไม่จำเป็น ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุส่วนใหญ่ๆ 2 ประการ คือ


1. สาเหตุจากผู้ใช้
1) การละเลย จากการบำรุงรักษาเครื่องดนตรีตามระยะเวลา
2) การละเลย เมื่อมีสาเหตุผิดปกติเล็กๆน้อยๆเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ใหญ่ที่ตามมาต่อไป
3) ข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจากการซ่อมเครื่องดนตรีโดยผู้ที่ไม่มีความ ชำนาญ หรือการซ่อมโดยไม่ใช่ช่างซ่อมโดยตรง
2. สาเหตุที่เกิดขึ้นโดยทั่วๆไป
1) ปฏิกิริยาต่างๆ เช่น ทำให้เนื้อโลหะสึกกร่อนและเกิดมีอาการบวมของเนื้อไม้
2) เหงื่อจากมือ และน้ำลาย เป็นตัวการทำให้เกิดการสึกกร่อน และเป็น อันตรายต่อเนื้อโลหะของเครื่องดนตรี
3) ขาดน้ำมันหล่อลื่น
4) สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าไปอยู่ในเครื่องดนตรี
5) การใช้เครื่องดนตรีไม่ถูกต้อง
ข้อควรระวัง การบำรุงรักษาตามระยะเวลาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะที่จะทำให้เครื่องดนตรีอยู่ในสภาพดีเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงสุขภาพของนักดนตรีอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งเช่นกัน
ข้อแนะนำในการบำรุงรักษาเครื่องดนตรีตามจุดที่สำคัญต่างๆเกี่ยวกับการใช้น้ำมันหล่อลื่น การทำความสะอาด การใช้เครื่องดนตรีที่ถูกต้อง ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องดนตรี กล่องใส่เครื่องซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
การแบ่งระยะเวลาในการทำความสะอาดเครื่องดนตรี
การทำความสะอาดเครื่องดนตรี แบ่งระยะเวลาและตามโอกาส ดังต่อไปนี้
1. การทำความสะอาดหลังจากเลิกปฏิบัติเครื่องมือทุกครั้ง หรือการทำความสะอาดประจำวันต้องอยู่ในความควบคุมของผู้รับผิดชอบ เช่น หัวหน้ากลุ่มเครื่อง หัวหน้าวง หรือครูผู้สอน โดยจะทำความสะอาดหลังจากเลิกใช้งาน หากวันใดที่ต้องไปบรรเลงนอกสถานที่ เมื่อกลับมาต้องทำความสะอาด เสร็จแล้วให้ผู้รับผิดชอบตรวจความเรียบร้อย จึงนำเข้าเก็บในห้องดนตรีต่อไป
2. การทำความสะอาดประจำสัปดาห์ คือ การทำความสะอาดเครื่องดนตรีทุกชนิดที่มีอยู่ ให้สะอาดและเรียบร้อย ทั้งต้องทำความสะอาดทุกชิ้นส่วนด้วย ไม่ว่าเครื่องดนตรีนั้นจะเป็นเครื่องประจำตัวหรือไม่ก็ตาม ซึ่งผู้รับผิดชอบต้องควบคุมดูแลการทำความสะอาดอย่างใกล้ชิด โดยใช้วันสิ้นสุดสัปดาห์ในการทำความสะอาด เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วครูผู้สอนต้องตรวจเป็นรายคันรายชิ้นทุกเครื่องมือ อย่างประณีตและอย่างละเอียดถี่ถ้วน หากเครื่องดนตรีชิ้นใดหรือคันใดไม่เรียบร้อย ต้องให้ทำใหม่เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดผลเสียหายที่ตามมา การตรวจสิ่งที่ชำรุดเสียหายให้จดไว้เป็นหลักฐาน แล้วไปพิจารณาเป็นรายๆไป ตรวจการประกอบให้เรียบร้อย ตลอดจนการใช้น้ำมันสำหรับทาและหยอด เมื่อตรวจแล้วหากมีข้อบกพร่องใดๆเกิดขึ้น ให้ชี้แจง แนะนำ ตักเตือน เพื่อให้ผู้ใช้เครื่องดนตรีได้ปฏิบัติเสียใหม่ให้ถูกวิธี แล้วจึงนำเข้าเก็บในตู้เก็บเครื่องดนตรีให้มิดชิดและปลอดภัย
3. การทำความสะอาดทุก 6 - 8 สัปดาห์ ให้ปฏิบัติเหมือนกับการทำความ สะอาดประจำสัปดาห์
4. การทำความสะอาดในกรณีอื่นๆ เช่น เครื่องดนตรีเปียกฝน หรือเปรอะเปื้อนโคลน ในการนำเครื่องดนตรีไปบรรเลง บางเวลาอาจเปียกฝนหรือเปรอะเปื้อนโคลนได้ หากไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะนำเข้าเก็บ อาจทำให้เครื่องดนตรีนั้นเกิดการชำรุดเสียหายขึ้นได้ หัวหน้าวงหรือผู้ควบคุมวงไปต้องควบคุมให้ผู้บรรเลงตามชนิดเครื่องดนตรีนั้นๆ ทำความสะอาดเช่นเดียวกับการทำความสะอาดประจำสัปดาห์ทุกประการ หากมีเวลาน้อยต้องให้ทำความสะอาดตามข้อ 1 และในวันรุ่งขึ้นต้องนำเครื่องดนตรีทั้งหมดออกมาทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ถ้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดให้ทำความสะอาดในวันถัดไป ข้อควรระวัง คือ อย่าได้นำเครื่องดนตรีเก็บในที่เก็บก่อนที่จะได้ทำความสะอาดเสียก่อนเป็นอันขาด
5. การทำความสะอาดเครื่องดนตรีส่วนกลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง เป็นเครื่องดนตรีที่เก็บไว้ในห้อง บางชนิดอาจเก็บไว้ในตู้ หรือหีบห่อ บางชนิดอาจเก็บไว้ข้างนอกตู้ ทั้งนี้ย่อมเกิดความสกปรกได้เช่นเดียวกัน หากไม่มีผู้ใดรับผิดชอบทำความสะอาดให้ถูกต้องตามวิธีการซึ่งได้กล่าวมาแล้วย่อมเกิดความชำรุดเสียหายขึ้นได้ ครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต้องให้นักดนตรีนำเครื่องดนตรีออกทำความสะอาดอย่างละเอียดถี่ถ้วนตามวิธีที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 1 และ 2 ผสมกัน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง ส่วนการทำความสะอาดนอกจากที่กำหนดไว้นี้ ครูผู้สอนต้องมอบหมายให้นักเรียนทำความสะอาดเป็นประจำวันเพื่อให้เครื่องดนตรีที่เก็บไว้ในห้องสะอาด อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดเวลา
หีบที่ใช้บรรจุเครื่องดนตรีตามชนิดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ควรได้รับการเอาใจใส่ดูแลทั้งภายนอกและภายในตลอดจนถุงหรือผ้าคลุมด้วย ต้องหมั่นปัดกวาดและทำความสะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีฝุ่นผงจับเกรอะกรัง เพราะเป็นช่องทางทำให้เครื่องดนตรีสกปรกและเกิดสนิมได้ง่าย ส่วนภายนอกหีบ ตู้ ถุง หรือผ้าคลุม ควรใช้น้ำมันเช็ดถูเพื่อรักษาผิวของหนังที่หุ้มกล่อง หรือผ้า เพื่อรักษาให้ใช้งานได้นาน
อุปกรณ์ในการทำความสะอาด ที่จำเป็นจะต้องจัดเตรียม คือ
1. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ
2. น้ำส้มสายชูกลั่น
3. ฟองน้ำ
4. ผ้าสำลี
5. แปรงขนอ่อน
6. สบู่อ่อน
7. น้ำมันหล่อลื่น
8. ไขควงขนาดต่างๆ
9. กระดาษหนังสือพิมพ์
10. ไม้หรือเหล็กเส้น
11. อื่นๆที่จำเป็น โดยเฉพาะอุปกรณ์ทำความสะอาดเฉพาะแห่งเฉพาะที่ แต่ไม่แนะนำให้ใช้เพราะมีราคาแพงและหายาก เนื่องจากมีบางบริษัทเท่านั้นที่ผลิตจำหน่าย จึงควรหาวัสดุทดแทนจะประหยัดงบประมาณได้มาก
วิธีทำความสะอาดทั่วๆไป
1. ส่วนประกอบของตัวเครื่องที่เป็นโลหะชุบ ให้ใช้น้ำสบู่อ่อนล้างทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก วางไว้บนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือภาชนะรองรับผึ่งให้แห้ง
2. ส่วนประกอบของตัวเครื่องที่เป็นทองเหลือง ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำมะขามเปียก ขัดถูให้คราบสกปรกต่าง ๆ หลุดออก ผึ่งให้แห้ง ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาที่เป็นสารเคมี เพราะจะมีผลทำให้เนื้อโลหะเกิดการผุกร่อนเมื่อใช้ไปนานๆและจะทำให้สารที่เคลือบหลุดออก แต่ถ้าจำเป็นก็ควรเป็นนานครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น
3. ส่วนที่เป็นท่อภายใน ส่วนมากจะมีคราบของหินปูนเกาะอยู่ ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำลายกับอากาศ จึงทำให้ลมไม่สามารถผ่านได้สะดวกทำให้กินแรงเวลาเป่า
ให้ใช้น้ำส้มสายชูกลั่นผสมน้ำอย่างเจือจาง แช่ชิ้นส่วนต่างๆประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนอีกครั้ง ผึ่งให้แห้ง
4. ส่วนประกอบที่เป็น กระเดื่อง แหนบ เข็ม สปริง หน็อยแน่ และ กลไกต่างๆที่ต้องการให้เกิดความคล่องตัว ให้ชะโลมด้วยน้ำมันหล่อลื่นที่ตรงกับลักษณะการใช้งาน เช่น น้ำมัน หรือ วาสุกี
5. ส่วนประกอบที่เป็นนวม ควรใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำสบู่อ่อนอย่างหมาดๆเช็ดถูเพียงเบาๆ เพื่อให้คราบสกปรกต่างๆหลุด ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ อย่าให้นวมโดนน้ำจนชุ่มหรือโดนน้ำมันหล่อลื่นโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้นวมเกิดการบวมพองใช้งานไม่ได้
การศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด และขั้นตอนการปฏิบัติ
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ ควรศึกษาในเรื่องของส่วนประกอบต่างๆ โดยเฉพาะตัวเครื่อง กระเดื่อง แหนบ สปริง เข็ม นวม หน็อยแน่ ไม้ก๊อก ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละประเภทในตระกูลนี้ มีอุปกรณ์ต่างๆที่คล้ายกัน ต่างกันก็เพียงขนาดของส่วนประกอบเท่านั้น จึงควรศึกษาว่าเครื่องดนตรีแต่ละประเภทมีหลักการปฏิบัติในการดูแลรักษาอย่างไร คือ
ตระกูลขลุ่ย มี 2 ชนิด คือ พิโรธนะ และ ฟลู้ต มีกลไกต่างๆเหมือนกัน พิคโคโลมี 2 ท่อน ส่วนฟลู้ตมี 3 ท่อน การถอดให้ถอดชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นตัวเครื่องออกเสียก่อนแล้วจึงถอดกระเดื่องต่างๆทีละ
ชิ้น โดยถอดชิ้นส่วนที่อยู่นอกสุดเข้าไปหาในสุด ซึ่งผู้ถอดต้องจำว่าชิ้นส่วนใดถอดก่อนหรือหลัง ถ้าไม่แน่ใจให้เรียงกลไกต่างๆไว้บนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือภาชนะที่เตรียมไว้ เวลาประกอบจะประกอบในส่วนที่ถอดหลังสุดก่อนแล้วเรียงตามลำดับจนถึงส่วนที่ถอดชิ้นแรก การถอดเครื่องดนตรีชนิดนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะกลไกต่างๆมีขนาดเล็กมาก ในบางครั้งถ้าไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดการเสียหายได้ เช่น เข็มหัก กระเดื่องงอ หรือนวมอาจฉีกขาดได้ เป็นต้น
ตระกูลแซกโซโฟน และ ปี่ มีกลไกเหมือนกับประเภทแรกแต่ขนาดใหญ่กว่า สะดวกในการถอดกลไกต่างๆมากกว่า แต่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือปี่เพราะมีส่วนประกอบของตัวเครื่องถึง 5 ชิ้น ฉะนั้นการถอดชิ้นส่วนของตัวเครื่องต้องระวังให้มาก ถ้าไม่ทำอย่างถูกวิธีจะทำให้เกิดการเสียหายได้ คือ ข้อต่ออาจจะแตกหรือหักซึ่งจะเป็นผลเสียหายอย่างยิ่ง การถอดชิ้นส่วนของตัวปี่จะต้องจับให้กระชับ ถอดออกในทิศทางตรงๆอย่าให้บิดเพราะจะทำให้แตกหรือหักได้ และต้องกดส่วนที่เป็นกระเดื่องต่างๆให้ติดกับตัวเครื่อง ไม่เช่นนั้นจะทำให้กระเดื่องแต่ละอันที่ติดอยู่กับข้อต่องัดกันจนเกิดการงอหรือหัก และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การถอดส่วนประกอบของลิ้นที่เป่าจะต้องคลายสายรัดให้หลวมเสียก่อนแล้วจึงถอดลิ้นออก ข้อควรระวังก็คืออย่าให้ลิ้นที่ถอดกระทบกับสิ่งใดๆเพราะจะทำให้ลิ้นแตกหรือบิ่น ส่วนการถอดชิ้นส่วนที่เป็นกลไกต่างๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการถอดเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย การถอดกลไกของเครื่องดนตรีประเภท แซกโซโฟนก็เช่นเดียวกัน แต่เครื่องดนตรีประเภทนี้ถอดง่ายกว่าเครื่องดนตรีที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะกลไกต่างๆมีขนาดใหญ่ขึ้น ความแข็งแรงย่อมมีมากกว่าแต่ถ้าขาดความระมัดระวังก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน การทำความสะอาดเครื่องดนตรี นอกจากจะต้องรู้จักวิธีถอดและการประกอบแล้วจะต้องรู้จัก การทำความสะอาดที่ถูกวิธี ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะที่เห็นเด่นชัด เช่น โลหะที่ใช้ประดิษฐ์ นวม แหนบ สปริง หรือสิ่งอื่น ๆ ที่จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง
กองดุริยางค์ทหารอากาศ (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์: ไม่ปรากฏเลขหน้า) กล่าวในเอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี ดังรายละเอียด กล่าวคือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง มีส่วนสำคัญที่จะต้องหมั่นตรวจสอบ แบ่งออกได้ ดังนี้
1. กำพวด มีลักษณะคล้ายถ้วยเล็กๆทำด้วยโลหะผสม มีทองเหลืองเป็นหลักและชุบด้วยโครเมียม แบ่งออกเป็นขนาดต่างๆหลายขนาด โดยมีวิธีเลือกและสังเกตเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกชนิดแบบของกำพวด และประการสำคัญขึ้นอยู่กับริมฝีปากของผู้ปฏิบัติ ดังนี้
1) ความกว้าง วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายในถ้วย กำพวดที่มีขนาดความ กว้างภายในมากขอบถ้วยจะบางแบบนี้จะให้ความดังมาก สามารถบังคับปากและควบคุมเสียงได้ง่ายเสียงไม่แตกพร่าและมีขอบเขตของเสียงกว้าง ถ้ากำพวดที่มีขนาดความกว้างภายในถ้วยน้อยจะมีขอบถ้วยหนาเหมาะสำหรับเสียงสูง เป่าง่ายออกแรงเป่าน้อย แต่จะมีขอบเขตเสียงจำกัดทำให้มีความทนทานในการเป่าน้อย
2) ความลึกของถ้วย ชนิดถ้วยลึกเหมาะสำหรับปฏิบัติเสียงต่ำ ส่วนชนิดถ้วยตื้นเหมาะสำหรับเสียงสูง และบทเพลงที่ต้องการเสียงแหลมคม
3) ชนิดของขอบถ้วย ขอบถ้วยเรียบเหมาะสำหรับเสียงแหลมคมและเสียงสูง ส่วนขอบถ้วยที่มีลักษณะมนเหมาะสำหรับเสียงต่ำหรือผู้ที่มีฟันไม่เรียบ
4) ปัญหาส่วนใหญ่ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองจากสถิติที่ได้รวบรวมได้ ปรากฏว่าเกิดจากการติดแน่นระหว่างกำพวดกับเครื่องดนตรีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถถอดออกจากกันได้สาเหตุประการแรกเกิดจากความสกปรก ถูกละเลยทอดทิ้งให้ติดกับเครื่องดนตรีเป็นเวลานาน คราบน้ำลายกลายเป็นหินปูนแข็งเกาะติดแน่น สาเหตุประการที่สองเนื่องจากใส่กำพวดผิดวิธี โดยเมื่อประกอบกำพวดเข้ากับลำตัวเครื่องแล้วเกรงว่าจะหลุดหล่นจึงใช้ฝ่ามือตบให้แน่นเข้าที่อีกครั้ง เป็นสาเหตุทำให้กำพวดเข้าลึกไปมากกว่าปกติหรือมิฉะนั้นก็เกิดจากการถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจนไม่สามารถถอดออกได้ด้วยวิธีธรรมดา ปัญหาเหล่านี้อย่าได้ดำเนินการแก้ไขด้วยตนเองเป็นอันขาดเพราะจะเป็นการเพิ่มความเสียหายให้มากขึ้น จึงต้องส่งให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีทำการแก้ไข
5) การใส่กำพวดให้ถูกวิธี คือ สอดปลายกำพวดเข้าไปพออยู่อย่ากดแรงแล้วบิดไปทางข้างเบาๆ เพียงเล็กน้อยประมาณ 1/4 รอบก็จะเป็นการเพียงพอ การถอดออกก็ให้ปฏิบัติตรงข้ามพอขยับตัวก็จะหลวมหลุดออกมาจากกัน โดยไม่ต้องออกแรง
6) พยายามรักษากำพวดอย่างดีที่สุด อย่าเข้าใจผิดคิดว่าไม่สำคัญโดยมักปรากฏว่ามีผู้ทำกำพวดหลุดหล่นอยู่เสมอ เป็นสาเหตุให้ถ้วยของกำพวดบุบหรือคดงอ ขอบถ้วยถลอกเกิดเป็นรอยขูดขีด โครเมียมที่ชุบไว้ลอกออกทั้งส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องสัมผัสอยู่กับริมฝีปากตลอดเวลาอาจทำให้ริมฝีปากเจ็บช้ำหรือเป็นแผลได้ ทำให้การทนทานในการเป่าลดลงและไม่ได้คุณภาพเสียงที่ดีตามต้องการและจะทำให้เสียผลการบรรเลง ยิ่งไปกว่านั้นบางคนทำการดัดแปลงกำพวดให้เปลี่ยนรูปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น จากขอบมนทำให้เป็นขอบเรียบ หรือจากถ้วยลึกทำให้เป็นถ้วยตื้น การดัดแปลงเช่นนี้เป็นการเสี่ยงที่ให้ผลล้มเหลวอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการทำลายทรัพย์สินของทางราชการให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ หนทางที่ดีที่สุดควรทดลองเลือกกำพวดตามคำแนะนำจากผู้รู้แล้วเก็บไว้ใช้ประจำตัวตลอดไป
2. ท่อและข้อต่อต่าง ๆ
1) ปัญหาที่พบรองลงมาจากกำพวดเกิดจากท่อต่างๆ ติดแน่นไม่สามารถ ถอดออกทำความสะอาดได้ ท่อเหล่านี้มีลักษณะโค้งงอขนาดต่างๆยากต่อการทำความสะอาด เมื่อเกิดปัญหานี้บางคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พยายามดึงออกจากกันทำให้เกิดการชำรุดเสียหายมากยิ่งขึ้น โดยที่ท่อเหล่านี้มีความเปราะบางและต่อกัน จะเกิดการโย้และบิดเบี้ยวโยงถึงกันทั้งคันอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขให้คืนสู่สภาพเดิมได้ ฉะนั้นส่วนท่อนี้จะต้องระมัดระวังให้มากที่สุด
2) ส่วนของท่อเลื่อนเพื่อใช้เทียบเสียงต้องอยู่ในสภาพเลื่อนเข้าออกได้โดยไม่ติดขัด ท่อส่วนนี้มีความจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ
3) ท่อเหล่านี้เมื่อไม่สามารถถอดออกได้ตามปกติ ต้องตรวจสอบโดยละเอียดว่า มีรอยบุบหรือบูดเบี้ยวผิดปกติจากรูปเดิมหรือไม่ รอยเชื่อมบัดกรียึดข้อต่อต่างๆหลุดออกจากกันหรือไม่ หากสงสัยประการใดหนทางที่ดีที่สุดควรส่งให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีดำเนินการ
3. กระเดื่องน้ำลาย
1) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลือง มีกระเดื่องน้ำลายมากน้อยต่างกันลักษณะเป็นก้านกระเดื่องบังคับด้วยสปริง ปลายด้านหนึ่งเป็นฝาบุด้วยไม้ก๊อก
ปิดรูเล็กๆใช้สำหรับเปิดระบายน้ำหรือน้ำลายที่ขังค้างอยู่ภายในเครื่องดนตรี เมื่อไม่ใช้จะปิดสนิท
2) ปัญหาจะเกิดเมื่อไม้ก๊อกขาดวิ่นหรือหลุดหายปิดได้ไม่สนิททำให้ลมรั่วออกได้ นักดนตรีทุกคนที่ปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองต้องได้รับการฝึกให้มีความสามารถทำการซ่อมได้และแก้ไขปัญหานี้ได้ทุกคน อุปกรณ์ที่ใช้มีไขควง ไม้ก๊อก (อาจเป็นจุกขวดก็ได้) และใบมีดที่คมตามขั้นตอน ดังนี้
(1) ใช้ไขควงขนาดพอเหมาะไขถอดกระเดื่องน้ำลายออกจากเครื่องดนตรีแล้วเอาไม้ก๊อกเก่าที่ผุออก
(2) เหลาไม้ก๊อกให้เป็นแท่งยาว และมีขนาดใหญ่กว่าฝาครอบกระเดื่องน้ำลายเล็กน้อย อัดลงไปในฝาครอบโดยไม่ต้องใช้กาวหรืออุปกรณ์อื่นใดอีก
(3) ใช้ใบมีดที่คมกริบเฉือนไม้ก๊อกให้เหนือกว่าขอบฝาครอบ เพียงเล็กน้อย
(4) ประกอบเข้าที่เดิมสปริงจะกดให้เข้าที่ได้เอง ซึ่งสปริงนี้มีกำลังพอเหมาะหากอ่อนเกินไปก็จะไม่สามารถปิดได้สนิท
4. ลูกสูบ
1) ลูกสูบมีลักษณะเป็นแท่งโลหะกลม-ยาว ภายในกลวงชุบด้วยโครเมียม ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางลม ด้วยการเพิ่มหรือลดความยาวของท่อเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงลูกสูบแต่ละลูกจะมีหมายเลขกำกับ ตรงกันกับหมาย เลขที่เสื้อสูบ แต่ละลูกสูบจะสลับที่กันไม่ได้ ด้านข้างลูกสูบจะมีลิ่มสลักบังคับเพื่อให้เข้ากับร่องของเสื้อสูบ บางคนเรียกว่า"นมหนู"ลิ่มสลักนี้อาจสึกหรอชำรุด ให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีเปลี่ยนให้ใหม่ได้
2) ปัญหาที่เกิดกับลูกสูบ คือ ลูกสูบติดแน่นกดไม่ลง หรือกดลงไปแล้วไม่ สามารถกลับคืนสู่ที่เดิมได้โดยทันที ประการแรกต้องตรวจสอบดูว่ามีน้ำมันหล่อลื่นลูกสูบเพียงพอหรือไม่ มีเศษสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ขัดขวางการทำงานของลูกสูบหรือไม่ สาเหตุเหล่านี้เนื่องมาจากความสกปรกหรือมิฉะนั้นก็เกิดจาก การใช้น้ำมันหล่อลื่นไม่ถูกชนิดตามที่กำหนด ตัวลูกสูบต้องสะอาดปราศจากรอยขูดขีดหรือบุบ ซึ่งหากมีเพียงเล็กน้อยจะติดหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวกทันที เกี่ยวกับลูกสูบนี้หากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นต้องให้ช่างตรวจสอบ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นจนสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้ ลูกสูบจำเป็นต้องมีน้ำมันหล่อเลี้ยงให้ลื่นอยู่เสมอด้วยน้ำมันซึ่งผลิตเพื่อใช้กับเครื่องดนตรีโดยเฉพาะเรียกว่า “น้ำมันหยอดแตร”
3) เครื่องดนตรีที่ยังใหม่อยู่นั้นลูกสูบหนึ่งใช้น้ำมันเพียงไม่กี่หยด ถ้าหากมีความเข้มข้นมากก็อาจใช้น้ำมันชนิดอื่นๆที่ใช้กับทรอมโบนซึ่งมีความใสมากกว่าได้ หลังจากการใช้งานไปนานๆลูกสูบจะหลวมมากขึ้นอาจเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้น ได้โดยผสมน้ำมันที่ใช้สำหรับหยอดจักรเย็บผ้าลงในน้ำมันหยอดแตรก็เป็นการสมควร
4) ความสกปรกที่ไม่สามารถทำความสะอาดหรือล้างด้วยวิธีธรรมดา เช่น คราบน้ำลายที่กลายเป็นหินปูน ให้แช่ลงในน้ำส้มชนิดที่ใช้ประกอบอาหารนานประมาณ 1 ถึง 8 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของน้ำส้ม ประกอบกับความสกปรกมากน้อยของลูกสูบ หลังจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดความเปรี้ยวแล้วเช็ดให้สะอาดและแห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่ม
5. ส่วนอื่น ๆ
1) ฝานิ้ว เป็นส่วนที่ติดกับก้านสูบมีเกลียว สามารถหมุนออกได้ และเพื่อป้องกันมิให้ฝานิ้วกระทบฝาบนของลูกสูบ ที่ด้านล่างของฝานิ้วหรือฝาบน ของลูกสูบจะมีไม้ก๊อกหรือแผ่นสักหลาดรูปวงแหวนฝังอยู่ในร่องที่จัดไว้
ข้อควรระวัง คือ ต้องหมั่นตรวจสอบฝานิ้วและฝาลูกสูบให้แน่นอยู่เสมอ พร้อมกับตรวจสอบวัสดุที่รองรับให้อยู่ในสภาพดี ความหนาของไม้ก๊อกหรือสักหลาดต้องอยู่ในมาตรฐานเดียวกันทุกลูกสูบ หากหนามากหรือบางเกินไป จะทำให้ระดับท่อภายในเหลื่อมกับกระแสลมเป่าภายในท่อถ่ายเทไม่สะดวก เป็นสาเหตุให้เสียงเพี้ยนและเป่าหนักแรงได้ ซึ่งทางที่ดีควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้งชุด
2) สปริง ด้านล่างของลูกสูบมีสปริงสำหรับทำหน้าที่ผลักดันให้ลูกสูบขึ้นสู่ระดับปกติเมื่อใช้ไปนานๆความยืดหยุ่นจะเปลี่ยนแปลง ควรมอบให้เป็น หน้าที่ของช่างซ่อมเครื่องดนตรีปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดีต่อไป ขอให้ระลึก
ไว้เสมอว่า น้ำลายเป็นตัวการสำคัญ ที่จะทำให้เกิด ความสกปรกและการนำไปสู่การผุกร่อนภายในโดยตลอด ตั้งแต่กำพวดจนถึงลำโพง ฉะนั้นจะต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไปได้ ประการสำคัญก่อนปฏิบัติเครื่องดนตรีควรบ้วนปาก หรือ แปรงฟันให้สะอาดเท่าที่จะทำได้ เพราะเศษอาหารเมื่อค้างอยู่ในท่อจะเป็นภัยต่อเครื่องดนตรีและสุขภาพของนักดนตรีอย่างร้ายแรง
6. การถอด
1) ก่อนทำการถอดเครื่องดนตรีออกเป็นชิ้นส่วน เพื่อทำความสะอาดจะต้องมี
การเตรียมการล่วงหน้าโดยมี
- โต๊ะพื้นเรียบ ไม่เอียงลาดด้านใดด้านหนึ่ง
- อ่างขนาดพอที่จะบรรจุชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ถอดออก
- น้ำอุ่นผสมผงซักฟอกหรือสบู่อย่างเจือจาง
- ผ้าฝ้ายสะอาด 2 ผืน เศษผ้า 2 ชิ้น
- เครื่องมือทำความสะอาดจำพวกแปรงขนอ่อน
3) ก่อนถอดท่อโค้งต่างๆออกจากเครื่องดนตรีให้กดนิ้วลูกสูบนั้นๆเสียก่อน แล้วดึงออกตรง ๆ และข้าง ๆ เพราะภายในท่อนั้นมีอากาศว่างเปล่าอยู่ ซึ่งถ้าถอดท่อลมนั้นออกด้วยกำลังแรงอากาศที่ว่างเปล่านั้นจะเกิดมีกำลังพอที่จะดึงดูดผิวโลหะบางๆที่ประกอบเป็นตัวลูกสูบ นานๆเข้าลูกสูบนั้นจะเกิดอาการบวมขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด
4) แยกส่วนที่เป็นไม้ก๊อกหรือสักหลาดออกต่างหาก ท่อโค้งต่างๆ ลูกสูบและส่วนอื่นๆที่เป็นโลหะทั้งหมดตลอดจนกำพวดและตัวเครื่องดนตรี รวมแช่ไว้ในน้ำอุ่นผสมผงซักฟอก หรือสบู่อย่างเจือจางที่เตรียมไว้ไม่น้อยกว่า 5 นาที ข้อควรระวัง คือ อย่าใช้น้ำที่ร้อนเกินไปเพราะจะทำให้ส่วนต่างๆที่ชุบไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านในของกำพวดหากใช้สบู่ก็ต้องเป็นสบู่ชนิดอ่อน เช่น สบู่ล้างหน้าหรือถูตัว
5) หลังจากแช่น้ำไว้แล้วสักครู่หนึ่ง ให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำเช็ดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกต่างๆออกให้หมดทั้งภายนอกและภายในแต่ละส่วน โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
- ท่อภายในกำพวด ใช้แปรงขนหางกระรอกรูปกรวยขนาดพอเหมาะกับท่อภายในกำพวด แยงเอาสิ่งสกปรกออกให้หมด โดยระวังอย่าให้ส่วนที่เป็นโลหะ เสียดสีกับภายในท่อและกำพวด
- ภายในท่อลมไม่สามารถจะแยงทะลุได้ ให้ใช้ก้านโลหะอลูมิเนียม ชนิดปลายมีรูสำหรับสอดผ้า แยงทำความสะอาดภายในโดยสอดผ้า (ผ้าพันแผล) เข้าไปในรูแล้วพันปลายผ้าม้วนพันลงมาถึงมือที่ถือ ในการแยงให้จับผ้าด้านที่ถือไว้ เพื่อป้องกันผ้าไปรวมอยู่ภายในท่อ
- ภายในท่อลมที่โค้งใช้แปลงขนแข็งชนิดที่สามารถไชโค้งไปตามท่อลมได้
- การล้างตัวลูกสูบต้องกระทำอย่างประณีตที่สุดเพราะช่องต่างๆที่ผ่านตัวลูกสูบใช้โลหะบางมาก อย่าใช้ของแข็งขูดหรืองัดแงะโลหะส่วนนี้เป็นอันขาด และไม่จำเป็นต้องขัดลูกสูบให้ขึ้นมัน ถ้ามีสนิมเขียวๆเกาะติดอยู่ตามตัวลูกสูบ ให้นำไปแช่ในน้ำส้มสายชูประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วแช่ในด่างโซดาอุ่นใช้ผ้าอ่อนๆหรือฟองน้ำขัดถูสนิมนั้นจะหลุดหายไป
- เสื้อสูบจากการเคลื่อนไหวของตัวลูกสูบที่สัมผัสกับเสื้อสูบอาจมีผงโลหะติดอยู่ส่วนก้นของกระบอกสูบอยู่บ้าง ผงโลหะนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้
ให้เกรอะกรัง นานเข้าจะเกิดสนิมทำให้ลูกสูบฝืดไม่ว่องไว ฉะนั้นจะต้องล้างให้สะอาดจริงๆ
6) เมื่อเช็ดถูคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกต่างๆออกหมดทั้งภายนอกและ ภายในแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วางชิ้นส่วนของเครื่องดนตรีบนผ้าปูโต๊ะ แล้วเช็ดให้แห้งสนิท ปล่อยผึ่งลมไว้
7) เครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่ เช่น ทรอมโบนหรือซูซาโฟน ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนตัวเครื่องให้ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่หรือผงซักฟอกเช็ดถูทั้งภายนอกและภายใน หรืออาจกรอกผ่านทางลำโพงให้ไหลผ่านออกอีกด้านหนึ่งหลายๆครั้งโดยใช้ภาชนะรองรับก็ได้เช่นเดียวกันและล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้ง
7. การประกอบ
1) ท่อต่างๆที่ต้องสวมสอดให้เข้าด้วยกัน ท่อนที่อยู่ภายในจะต้องทาด้วยวาสลินบางๆ ให้ทั่วเสียก่อน รวมทั้งฝาที่มีเกลียว เช่น ฝานิ้ว ฝาลูกสูบท่อนบน และล่าง สปริงลูกสูบ องทาด้วยวาสลินเช่นกัน
2) ก่อนที่จะประกอบลูกสูบเข้าที่เดิม ให้ทาน้ำมันสำหรับหยอดแตรให้ทั่ว ไม่จำเป็นต้องใช้มากเพียงแต่หยอดเพียงเล็กน้อยทุกครั้งก่อนใช้ เพียง 2 หรือ 3 หยดต่อลูกสูบ (เป็นการบรรเลงภายในอาคาร ถ้ากลางแจ้ง เช่นดนตรีสนาม ให้หยอดเพิ่มอีกเล็กน้อย เนื่องจากมีฝุ่นละอองมาก) และหลังจากเสร็จภารกิจแล้วแต่ละครั้งต้องเช็ดให้สะอาดอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเข้าเก็บ ข้อนี้เป็นความจำเป็น
3) การทำความสะอาดภายนอกให้ระวังให้มากที่สุด โดยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้วโดยเคร่งครัด ห้ามไม่ให้ใช้ยาขัดโลหะหรือเคมีภัณฑ์ใดๆใช้ขัดเครื่องดนตรีโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ส่วนที่ชุบไว้ลอกและจะดำน่าเกลียด หากมีความจำเป็นให้ใช้ดินสอพองละลายน้ำชะโลมบางๆทิ้งให้แห้งแล้วเช็ดเบาๆ เป็นหนทางเดียวที่ได้ผลดี ข้อนี้ผู้รับผิดชอบวงดนตรีจะต้องกำหนดหน้าที่และตัวบุคคล เพื่อควบคุมและป้องกันมิให้มีการฝ่าฝืน การใช้ยาขัดโลหะไม่ว่าชนิดใด จะเป็นการสูญเสียอย่างมาก เมื่อเครื่องดนตรีลอกหรือดำแล้วจะไม่มีหนทางใดแก้ไขได้
8. หีบสำหรับบรรจุเครื่องดนตรี
1) หีบบรรจุเครื่องดนตรีมักจะมีความชื้นสูง และสะสมฝุ่นละอองไว้มากให้ หมั่นนำออกผึ่งแดด แต้จะต้องไม่ทิ้งไว้นานจนเกินไป เพราะจะทำให้กาวหลุดละลายได้
2) ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่มีลักษณะเดียวกันกับยางลบหรือยางรัด ต้องไม่นำ เข้าไว้ในหีบเครื่องดนตรีโดยเด็ดขาด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีส่วนผสม ของกำมะถันซึ่งจะทำให้ส่วนที่ชุบลอกและดำ
3) อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเครื่องดนตรี เช่น คันคีบโน้ตต้องห่อหุ้ม
ให้มิดชิดและบรรจุไว้ในที่จัดไว้โดยเฉพาะมิเช่นนั้นจะเกิดการกระทบกระแทกทำให้เครื่องดนตรีเสียหายได้ ที่สำคัญที่สุดคือกำพวดซึ่งมีน้ำหนักมากหากไม่อยู่ในที่เก็บเมื่อกระทบกับเครื่องดนตรี เช่น ระหว่างการเดินทางจะอันตรายที่สุด
4) สิ่งอื่นๆ เช่น บทเพลงหนังสือต่างๆอย่าบรรจุไว้ในหีบห่อเครื่อง ดนตรีเป็นอันขาด
5) สภาพของหีบต้องอยู่ในสภาพดีเสมอ ต้องหมั่นตรวจสอบบานพับ หูหิ้วและอุปกรณ์บังคับการ เปิด ปิด ให้มีความมั่นคงไม่หลุดหรือเปิดได้ง่าย


เครื่องกระทบหรือเครื่องประกอบจังหวะ
เครื่องกระทบหรือเครื่องประกอบจังหวะ ไม่มีกลไกที่สลับซับซ้อนมากนัก แต่สิ่งที่ควรคำนึงคือเครื่องดนตรีประเภทนี้มีเป็นจำนวนมากมีทั้งประเภทให้จังหวะ และประเภทที่สามารถบรรเลงเป็นทำนองเพลงได้ ดังนั้นการปฏิบัติในการบำรุงรักษา จึงมีลักษณะอย่างเดียวกันกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆที่ กล่าวมาแล้ว
เครื่องดนตรีที่มีส่วนประกอบเป็นไม้
เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้เมื่อใช้งานแล้วก่อนเก็บใช้ต้องทำความสะอาดทุกครั้ง โดยใช้ผ้าที่แห้งสะอาดและเป็นผ้าชนิดอ่อนเช็ดเหงื่อให้แห้งสนิท พร้อมทั้งเครื่องกระเดื่องที่ประกอบอยู่กับตัวเครื่องด้วย ถ้าปล่อยให้เหงื่อจับเกรอะกรังกับส่วนที่เป็นโลหะแล้ว จะทำให้กระเดื่องเป็นสนิมเกิดการติดขัดชำรุดเสียหายได้อย่างง่ายดาย เฉพาะท่อนปากที่ใช้เป่าให้ใช้น้ำด่างทับทิมล้างแล้วเช็ดให้แห้ง ลิ้นปี่ก็ต้องเช็ดให้แห้งเช่นเดียวกัน และต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เฉพาะลิ้นปี่โอโบและลิ้นปี่บาสซูนให้ใช้ขนไก่เล็กๆ อ่อนๆ ที่สะอาดยอนเข้าไปในช่องลิ้น เพื่อให้สะอาดและแห้งเช่นเดียวกันเครื่องทองเหลือง หรือ เครื่องลมที่ทำด้วยทองเหลือง เมื่อใช้งานแล้วก่อนเก็บจะต้องคลายเกลียวฝาสูบออก แล้วชักลูกสูบออกมาอย่างระมัดระวัง ให้ใช้ผ้าที่สะอาดอ่อน ๆ แห้ง ๆ เช็ดตัวลูกสูบพร้อมทั้งเสื้อลูกสูบให้แห้งสนิท ต่อจากนั้นไปให้ชักข้อสูบทุกๆข้อ แล้วสลัดเหงื่อไอที่ขังอยู่ภายในท่อนั้นให้ออกจนหมดสิ้น ส่วนกำพวดหรือปากแตรที่เป่านั้นให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ล้างให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง หรือจะแช่ไว้ในขวดน้ำมันก๊าดก็ได้
เครื่องดนตรีที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ
เครื่องที่ประกอบด้วยหนัง เมื่อใช้แล้วก่อนเก็บต้องคลายเกลียวที่ขึงหนังกลองพร้อมทั้งสายสแนร์ให้หย่อนลงพอสมควร ในการคลายเกลียวหนังกลองนั้นต้องคลายพร้อมๆกันทั้งสองในด้านตรงข้าม และใช้ผ้าแห้งสะอาดอ่อนๆเช็ดถูทำความสะอาดให้เรียบร้อย ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะนั้นให้ทำความสะอาดเช่นเดียวกับการทำความสะอาดเครื่องทองเหลือง เครื่องตีเมื่อใช้แล้วก่อนเก็บจะต้องใช้ผ้าแห้งสะอาดอ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย สปริงหรือเส้นเชือกต่างๆที่ขึงตรึงอยู่กับเครื่องระฆัง และเครื่องตีอื่นๆให้ปลดลงเสียข้างหนึ่ง
การทำความสะอาดเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
ฟลู้ต (Flute), พิคโคโล (Piccolo)
ข้อควรระวังก่อนทำความสะอาด
1. จำไว้เสมอว่า ส่วนลิ้น ปากเป่า ท่อต่อปากเป่า ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพของนักดนตรีเอง
2. ส่วนที่เป็นกลไกของกระเดื่องต่างๆ และนวม ต้องรักษาให้แห้งอยู่เสมอ
3. เมื่อต้องการทำความส่วนที่เป็นโลหะ เงิน ให้ใช้ยาขัดโดยเฉพาะของโลหะชนิดนั้นๆ ให้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้
4. ต้องระวังอย่าให้ยาขัดที่ใช้ทำความสะอาดโดน และตกค้างอยู่ในส่วนต่างๆ ดังนี้
4.1 นวม
4.2 กระเดื่องนิ้วต่างๆ
4.3 หลักยึดกระเดื่องนิ้วต่างๆ
5. ถ้าส่วนใดของเครื่องมือติดขัด จนรู้สึกว่าต้องใช้แรงหมุน ถอด ควรส่งให้ช่างซ่อมดำเนินการ
การทำความสะอาดหลังจากเลิกปฏิบัติเครื่องมือทุกครั้ง
1. หลังจากถอดท่อออกจากกันแล้ว เช็ดภายในท่อให้สะอาดและทั่วถึงทุกๆท่อ
2. เช็ดรอยนิ้วมือ และส่วนที่เปียกชื้นจากเหงื่อ น้ำลาย ตามกระเดื่องนิ้ว และทั่วๆไปให้สะอาด
3. ใส่ที่ครอบข้อต่อต่างๆให้เรียบร้อย
การทำความสะอาดทุก ๆ สัปดาห์
1. ล้างท่อส่วน Head Joint ด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ และล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
2. เช็ดภายในท่อลำตัว (Body) และท่อต่อล่าง (Foot Joint) ให้แห้ง
3. ทำความสะอาดภายนอกด้วยผ้าแห้งให้สะอาด
4. ทำความสะอาดส่วนกระเดื่องนิ้ว ใต้กระเดื่องนิ้วให้สะอาด อาจใช้ผ้าหรือสำลีพันไม้ เพื่อเข้าถึงส่วนที่เป็นซอกเล็กๆได้ทั่วถึง
การทำความสะอาดทุก ๆ 6 - 8 สัปดาห์
1. ปฏิบัติเหมือนกับการทำความสะอาดทุกสัปดาห์
2. หยอดน้ำมัน โดยปฏิบัติด้งนี้
2.1 ใช้น้ำมันที่ดีและมีคุณภาพ ให้ตรงกับลักษณะการใช้ ของแต่ละส่วนของเครื่องดนตรี
2.2 หยอดน้ำมันตามจุดกระเดื่องนิ้วที่ต้องเสียดสีกัน เช่น บริเวณหลักยึด สปริงต่าง ๆ ด้วยน้ำมันที่ใช้หยอดโดยเฉพาะโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หรือ ไม้จิ้มฟัน ขณะหยอดน้ำมันให้ขยับกระเดื่องนิ้วส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.3 หยอดน้ำมันสำหรับหยอดกระเดื่องนิ้ว ตามส่วนที่เป็นสปริง เสายึด กระเดื่องนิ้ว น็อต สกรู อย่างบางๆให้ทั่วถึง เพื่อป้องกันเกิดสนิม
2.4 เช็ดน้ำมันส่วนที่ล้นเหลือออกมา หลังจากหยอดในส่วนต่างๆให้แห้ง ถ้าหยอดน้ำมันมากเกินไปจะเป็นการสะสมฝุ่นละอองต่างๆได้ง่าย และจะทำให้นวมเสื่อมคุณภาพ
2.5 อย่าให้นวมโดนน้ำมันที่ใช้หยอดส่วนต่างๆของเครื่องมือเป็นอันขาดตามข้อต่อต่างๆของลำตัว เครื่องมือที่ดี ถ้าได้รับการดูแลอย่างระมัด ระวังแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นใด ๆ เพราะการผลิตเครื่อง มือนั้นทำมาได้สัดส่วนพอดีแล้ว อย่างไรก็ดีควรใช้ครีมทาไม้ก๊อกโดยเฉพาะ ทาอย่างบาง ๆ และทั่วถึงจะเป็นการดี
การบำรุงรักษาเครื่องลมส่วนที่เป็นไม้
1. ควรใช้น้ำมันที่มีคุณภาพ ซึ่งผลิตมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องดนตรี ในการบำรุงรักษาส่วนที่เป็นไม้โดยเฉพาะ
2. การป้องกันความชื้นของลำตัวเครื่องดนตรีส่วนที่เป็นไม้กระทำได้โดยใช้ยาขัดพื้นไม้ ที่มีคุณภาพอย่างดีขัดภายในลำตัวเครื่องดนตรี ตามระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ
เศษผงและสิ่งสกปรกต่าง ๆ
เศษอาหาร หมากฝรั่ง จะเป็นสิงที่ทำให้เกิดการสะสมความสกปรกเกิดขึ้นได้ในเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะคราบน้ำตาลที่ผสมอยู่ในอาหารต่างๆ เช่น หมากฝรั่ง ลูกกวาด น้ำหวาน อาจเป็นเหตุให้เกิดความเหนียวหนืดกับชิ้นส่วนของนวมได้ จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. ก่อนปฏิบัติเครื่องมือ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จควรบ้วนปากให้สะอาดจะเป็นการรักษาเครื่องดนตรีให้มีอายุการใช้งานได้นาน ในสภาพที่ดียิ่งขึ้น
2. ในขณะปฏิบัติเครื่องดนตรี ไม่ควรรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม เคี้ยว หมากฝรั่ง จะเป็นการรักษาเครื่องดนตรีให้มีอายุการใช้งานได้นาน ในสภาพที่ดียิ่งขึ้น
3. หลังจากปฏิบัติเครื่องมือทุกครั้ง เช็ดน้ำลายออกให้แห้ง เช็ดรอยนิ้วมือ และส่วนต่างๆที่มีความชื้นอยู่
4. เช็ดข้อต่อต่างๆ และใส่ฝาครอบข้อต่อให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นการป้องกันในสิ่งต่อไปนี้ คือ
1) ไม่ให้ไม้มีรอยแตกและบวม
2) ไม่ให้นวมชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร
3) ไม่ให้รอยข้อต่อต่าง ๆ เสียหาย
4) ไม่ให้เกิดรอยคราบสกปรกต่าง ๆ
กระเดื่องนิ้ว
กระเดื่องนิ้วของฟลู้ต และพิคโคโล เป็นจุดที่บอบบางซึ่งอาจงอหรือหลุดออกจากที่ติดตั้งไว้ได้ง่าย ดังนั้นจึงควรปฏิบัติด้งนี้
1. ไม่ควรใช้แรงบิด หรือดึง เมื่อจะใส่หรือถอดข้อต่อส่วนต่างๆของเครื่องมือ ต้องระวังส่วนที่เป็นเดือย ข้อต่อ โดยทาหรือหยอดน้ำมันที่ใช้สำหรับส่วนนั้นๆโดยเฉพาะ จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
2. อย่าวางเครื่องมือโดยให้กระเดื่องนิ้วอยู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันความเสียหายในกลไกของกระเดื่องนิ้ว และป้องกันไม่ให้น้ำลายที่อาจจะไหลผ่านช่วงนิ้วลงสู่นวมทำให้เปียกและเสียได้
3. อย่าพยายามปรับแต่งแก้ไขระบบกระเดื่องนิ้วต่างๆถ้าไม่มีความชำนาญ ถ้ามีปัญหาก็ควรส่งให้ช่างผู้เชี่ยวชาญแก้ไข
4. อย่าไขน็อตสกรู ที่ระบบกระเดื่องนิ้วจนแน่นเกินไป อาจเป็นเหตุให้ระบบการทำงานผิดปกติ ติดขัดจนกระเดื่องนิ้วไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ
การใช้ยางรัดของ
การใช้ยางรัดของมาใช้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องดนตรี จึงมีข้อควรปฏิบัติ คือ
1. ไม่ควรใช้ยางรัดของกับเครื่องดนตรี นอกจากจำเป็นจริงๆเท่านั้น
2. แกะยางรัดของออกทันทีเมื่อเลิกใช้ เพราะกรดกำมะถันที่ผสมอยู่จะทำให้เกิดคราบมัวหมอง และกัดกินส่วนที่ชุบเงินกับที่เคลือบแล็คเกอร์ไว้
การสวมใส่ข้อต่อส่วนที่เป็นแบบสไลด์ของเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ
การสวมใส่ข้อต่อส่วนที่เป็นสไลด์ของเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง คือ
1. ต้องสวมเข้ากันได้พอดีตลอดเวลา
2. ในส่วนนี้นั้นมีลักษณะที่บอบบาง และสามารถที่จะบุบและงอได้โดยง่ายควรระวังเป็นพิเศษ
3. ต้องรักษาความสะอาดของส่วนสไลด์และฝาครอบให้สะอาด และทาวาสลินสำหรับทาไม้ก๊อกอย่างบางๆไว้เสมอ
4. ล่องใส่เครื่องดนตรี ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ และใส่ฝาครอบสไลด์ทุกครั้งเมื่อถอดเครื่องมือออกเก็บ
5. เมื่อจะประกอบเครื่องดนตรี หรือ ถอดออกจากกัน ต้องกระทำให้เป็นระดับเดียวกัน (เส้นตรง) ทุกครั้ง โดยหมุนได้เล็กน้อย
เดือย ข้อต่อ ของเครื่องลมไม้
เมื่อส่วนที่เป็นข้อต่อ และเดือยต่างๆเกิดความเสียหายจะทำให้เสียเวลาในการซ่อมและค่าใช้จ่ายแพงมาก โดยทั่วไปความเสียหายก็จะเนื่องมาจาก ความฝืด ติดขัด เพราะไม่ใช้น้ำมันหรือวาสลินหล่อลื่นตามระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
1. หยอดน้ำมัน หรือทาวาสลิน เพื่อให้การหล่อลื่นเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นการป้องกันความเสียหาย
2. ทาวาสลินที่ไม้ก๊อกแล้วแต่ข้อต่อต่างๆยังคับหรือหลวมเกินไป ก็ไม่ควรฝืนใส่โดยใช้แรงดันเพื่อให้เข้าที่ได้ ควรนำไปให้ช่างซ่อมแก้ไขโดยการตกแต่งให้ขนาดพอดี
3. การจะประกอบหรือถอดเครื่องดนตรีควรกระทำเป็นแนวเดียวกัน (เส้นตรง) และหมุนได้เล็กน้อย เช่นเดียวกับการใส่และถอดเครื่องดนตรีชนิดสวมข้อต่อแบบสไลด์
การซ่อมบำรุง
การซ่อมเครื่องดนตรี ควรกระทำโดยช่างผู้ชำนาญโดยตรง และใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาเล็กน้อยจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปได้ ดังนั้นอย่าพยายามทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. อย่าตบแต่งระบบกระเดื่องนิ้วด้วยตนเอง ถ้าไม่มีความรู้และความชำนาญ
2. ดัดแปลง งอ ตบแต่ง กระเดื่องนิ้วด้วยคีม
3. อย่าปรับแต่ง หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งของนวมเองโดยไม่มีความชำนาญ
4. อย่าบัดกรีในส่วนใดๆของเครื่องดนตรี
เมื่อมีความจำเป็นต้องนำเครื่องไปซ่อม ควรรวบรวมชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องดนตรีที่หักหลุดออกโดยเฉพาะกระเดื่องนิ้วให้ครบทุกส่วนนำไปให้ช่างดำเนินการ
อุณหภูมิ ความชื้น
ในที่ที่มีอากาศร้อน และความชื้นสูง จะทำให้เครื่องดนตรีเกิดความเสียหายได้ คือ
1. เนื้อไม้ และไม้ก๊อก โดยเฉพาะตามข้อต่อต่าง ๆ ของเครื่องลมไม้จะบวม
2. ทำให้เกิดสนิมได้ในส่วนต่างๆที่เป็นโลหะ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ ควรใส่ยากันชื้น หรือการบูร ไว้ในกล่องเครื่องดนตรี
ในที่ที่มีความชื้นต่ำ (อากาศแห้ง) จะทำให้ลำตัวของเครื่องดนตรี ไม้ก๊อกตามข้อต่อต่างๆ หดตัว อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น
1. เสายึดหลักกระเดื่องนิ้วหลวม
2. เดือยและข้อต่อต่างๆหลวมอาจหลุดออกได้ง่าย
การเปลี่ยนสถานที่ ที่มีลักษณะอุณหภูมิของอากาศต่างกันอย่างกระทันหัน อาจทำให้เครื่องลมไม้เกิดรอยแตกได้ และระดับเสียงต่าง ๆ จะเกิดปัญหา เช่น เสียงจะผิดเพี้ยนได้ ควรเปิดกล่องเครื่องมือไว้ชั่วครู่เพื่อให้เครื่องดนตรีปรับตัวได้ เข้ากับอุณหภูมิในสถานที่นั้นๆอย่างช้าๆ โดยปราศจากเครื่องช่วยต่างๆ เช่น ใช้ลมที่ร้อนๆเป่าที่เครื่องดนตรี และอย่าปฏิบัติเครื่องดนตรีทันทีจนกว่าเครื่องมือได้ปรับตัว ได้รับอุณหภูมิในบริเวณนั้นๆได้แล้วชั่วครู่
ข้อควรระวัง
1. อย่าเก็บเครื่องดนตรีบนพื้นที่ซึ่งเปียกชื้น อับ หรือบนเพดานซึ่งมีอากาศร้อน
2. ควรเก็บเครื่องดนตรีให้ไกลจากอุปกรณ์ที่เกิดความร้อนต่างๆหรือในที่ที่มีอากาศร้อน ซึ่งควรมีเครื่องวัดความชื้นของอากาศ เครื่องวัดอุณหภูมิของอากาศ ไว้ในห้องเก็บเครื่องดนตรี ในห้องควรมีอุณหภูมิประมาณ 72 องศาฟาเรนไฮท์ และความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็น
กล่อง หีบ ห่อ
กล่องเป็นส่วนที่ป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับเครื่องดนตรีได้ จึงควรปฏิบัติ
ดังนี้
1. ช่องเก็บเครื่องมือในกล่องควรพอดีกับเครื่องมือ ไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันการกระทบกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องมือ
2. กำพวด ควรเก็บอยู่ในช่องเก็บ โดยเก็บอย่างเรียบร้อย ซึ่งแน่ใจว่าไม่หลุดออกมากระทบกับเครื่องดนตรี จะทำให้เกิดความเสียหายได้

3. อย่าใส่สิ่งของใช้ต่างๆ ไว้จนแน่นกล่องใส่เครื่องมือ เพราะเวลาปิดกล่องจะทำให้ฝากล่องกดทับกับเครื่องมือทำให้เกิดความเสียหายได้
4. สายรัด ได้รัดเครื่องมืออยู่ในสภาพเรียบร้อยเมื่อเก็บเข้ากล่อง เพื่อป้องกันฝากล่องเปิดเมื่อเวลาหยิบยก และเครื่องมืออาจหลุดออกมาได้
การเคลื่อนย้าย
1. เมื่อต้องการย้ายเครื่องดนตรี จากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง จากพื้นที่ใดๆไปอีกพื้นที่หนึ่ง หรือจะเคลื่อนย้ายไปที่ใดก็ตาม จะต้องใส่กล่องให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องดนตรีได้
2. ก่อนจะหยิบ ยก กล่องที่มีเครื่องดนตรีบรรจุอยู่ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่ากล่องอยู่ในสภาพที่ปิดเรียบร้อย เครื่องดนตรีจะไม่หลุดออกมาในระหว่างหยิบยก
























กองดุริยางค์ทหารอากาศ (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์: ไม่ปรากฏเลขหน้า) กำหนดการตรวจสภาพเครื่องดนตรีต่างๆโดยใช้แบบฟอร์ม ดังนี้
แบบฟอร์มตรวจสภาพ ฟลู้ต, พิคโคโล

ชื่อ.............................………………เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน.............................. ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กระเดื่องนิ้ว
1.1 งอ หัก (โดยเฉพาะข้อต่อต่าง ๆ)
1.2 ส่วนที่มีน็อต (อยู่ครบ)
1.3 การทำงานทั่วไป (ไม่ฝืด ติดขัด คล่องตัว)
1.4 ไม้ก๊อก (สภาพดีครบทุกส่วน)
1.5 มีเสียงดังเมื่อกดกระเดื่องเนื่องจากไม้ก๊อกหลุดหาย
1.6 เข็ม สปริง (ทำงานปกติ อยู่ครบ)
2 ลำตัว
2.1 มีรอยแตก (สภาพทั่วไป)
2.2 รอยบิ่นในร่องนิ้วบังคับเสียง
2.3 ความสะอาดในส่วนนิ้วบังคับเสียง
2.4 ข้อต่อต่าง ๆ (แตก บิ่น หลวม)
2.5 เนื้อไม้ (สำหรับลำตัวที่ทำด้วยไม้ถ้ารู้สึกแห้งต้องเช็ด
ด้วยน้ำมันบาง ๆ
2.6 สภาพไม้ก๊อกของส่วนข้อต่อ
2.7 อื่น ๆ





รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3 นวม
3.1 นวม หลวม หลุด
3.2 สภาพ (ไม่ฉีกขาด แข็งเกินไป อาการหนืดเหนียว
ของนวม
4 กล่อง หีบ
4.1 สลักล็อค
4.2 หูหิ้ว มือถือ
4.3 บานพับ
4.4 ใส่เครื่องมือได้พอดี (ไม่คับ หลวมเกินไป)
4.5 ส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อย (ไม่หลุดออก
มาทำความเสียหายต่อเครื่องดนตรี
4.6 อื่น ๆ







ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......




หมายเหตุ การทำความสะอาดในบางหัวข้อใช้กับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ด้วย จึงเพิ่มเติมเฉพาะเรื่องที่มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
โอโบ (Oboe), คอร์อังเกลส์ (Cor Anglais)
การทำความสะอาดทุกสัปดาห์
1. ล้างลิ้นด้วนน้ำสบู่อ่อนๆ
2. ทำความสะอาดตามกระเดื่องนิ้วต่างๆ
การทำความสะอาดทุก 6 - 8 สัปดาห์
1. ถอดฝาครอบปากเป่า ที่รัดลิ้นจากปากเป่า ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ
2. ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดทุกส่วนให้แห้ง และทาด้วยวาสลินบางๆที่บริเวณน็อตสกรูของที่รัดลิ้น
3. ใส่ส่วนประกอบต่างๆลิ้น ที่รัดลิ้นเข้าที่เดิม ขันน็อตสกรูให้แน่นพอประมาณ และครอบฝาหัวปากเป่าให้เรียบร้อย
ลิ้นปี่
ลิ้นปี่ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ถ้าเก็บไว้ในที่มีอากาศร้อน หรือเปียกชื้นมากเกินไป เมื่อลิ้นแห้งก็จะเปราะแตกง่าย ดังนั้นไม่ควรเก็บลิ้นปี่ไว้มากเกินความจำเป็น และเก็บไว้ในกล่องที่เก็บลิ้น
กระเดื่องนิ้ว
กระเดื่องนิ้วเป็นส่วนที่บอบบาง ต้องการความประณีตในการบำรุงรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็นข้อต่อต่างๆต้องมีสภาพที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ และเที่ยงตรงเสมอ ซึ่งจะต้องระวังอย่างยิ่งในการจับถือที่ถูกต้อง
1. ในขณะที่ประกอบลำตัวปี่ท่อนต่างๆเข้าด้วยกัน ต้องระวังกระเดื่องนิ้วที่เชื่อมต่อกันระหว่างข้อต่อ (Top Joint) และท่อนล่าง (Bottom Joint) และลำโพง ต้องแน่ใจว่า
กระเดื่องที่จะรองรับต่อกันนั้น ไม่กระทบกันเมื่อจะต้องบิดลำตัวปี่มิฉะนั้นจะเกิดการบิดงอทำให้เสียหายได้
2. ควรอธิบาย และฝึกให้นักเรียนปฏิบัติการถอดการประกอบให้เข้าใจก่อนที่จะให้นักเรียนทำเองตามลำพังต่อไป
การใช้ยางรัดของ
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับเครื่องลมไม้เมื่อเครื่องมือต้องได้รับการซ่อม คือ การใช้ยางรัดกระเดื่องนิ้วที่ชำรุดแทนการส่งซ่อม
การติดขัดของกระเดื่องนิ้ว
สาเหตุ ฃองการติดขัดของกระเดื่องนิ้วเนื่องมาจากขาดการใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ วิธีแก้ไข คือ ต้องปรับเปลี่ยนกระเดื่องนิ้วใหม่ทั้งหมด วิธีป้องกัน ควรหยอดน้ำมันสำหรับหยอดกระเดื่องนิ้วเป็นประจำ




























แบบฟอร์มตรวจสภาพ โอโบ และ คอร์อังเกลส์
ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน...............................ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กระเดื่องนิ้ว
1.1 งอ หัก (โดยเฉพาะข้อต่อต่าง ๆ)
1.2 ส่วนที่มีน็อต (อยู่ครบ)
1.3 การทำงานทั่วไป (ไม่ฝืด ติดขัด คล่องตัว)
1.4 ไม้ก๊อก (สภาพดีครบทุกส่วน)
1.5 มีเสียงดังเมื่อกดกระเดื่องเนื่องจากไม้ก๊อกหลุดหาย
1.6 เข็ม สปริง (ทำงานปกติ อยู่ครบ)
2 ลำตัว
2.1 มีรอยแตก (สภาพทั่วไป)
2.2 รอยบิ่นในร่องนิ้วบังคับเสียง
2.3 ความสะอาดในส่วนนิ้วบังคับเสียง
2.4 ข้อต่อต่าง ๆ (แตก บิ่น หลวม)
2.5 เนื้อไม้ (สำหรับลำตัวที่ทำด้วยไม้ถ้ารู้สึกแห้งต้องเช็ด
ด้วยน้ำมันบาง ๆ
2.6 สภาพไม้ก๊อกของส่วนข้อต่อ
2.7 อื่น ๆ









รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3 นวม
3.1 นวม หลวม หลุด
3.2 สภาพ (ไม่ฉีกขาด แข็งเกินไป อาการหนืดเหนียว
ของนวม
4 กล่อง หีบ
4.1 สลักล็อค
4.2 หูหิ้ว มือถือ
4.3 บานพับ
4.4 ใส่เครื่องมือได้พอดี (ไม่คับ หลวมเกินไป)
4.5 ส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อย (ไม่หลุดออก
มาทำความเสียหายต่อเครื่องดนตรี
4.6 อื่น ๆ







ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......





คลาริเน็ต (Clarinet), แซกโซโฟน (Saxophone)
การใช้น้ำมัน และวาสลิน
ส่วนต่าง ๆ การปฏิบัติ
- ไม้ก๊อกส่วนปากเป่า - ทาวาสลินสำหรับทาไม้ก๊อก
- ไม้ก๊อกส่วนข้อต่าง ๆ - ทาวาสลินสำหรับทาไม้ก๊อก
- น็อต, สกรู ของที่รัดลิ้น - ทาวาสลินอย่างบาง ๆ
- กระเดื่องนิ้วต่าง ๆ - หยอดน้ำมันสำหรับกระเดื่องนิ้วอย่างดี
ระดับเสียงผิดปกติ
ถ้าเครื่องดนตรีมีระดับเสียงสูง หรือต่ำเกินไป มากกว่าระดับมาตรฐาน A=440 อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1. ท่อ Barrel ไม่ได้ขนาดมาตนฐาน ควรหาเครื่องมือชิ้นใหม่
2. เมื่อเสียงสูงเกินกว่ามาตรฐานควรเปลี่ยนเป็นปากเป่าที่ยาวกว่าหรือเปลี่ยนท่อ Barrel ที่ยาวกว่าใช้
3. เมื่อเสียงต่ำกว่ามาตรฐาน ควรเปลี่ยนปากเป่า หรือท่อ Barrel ที่สั้นกว่ามาใช้
ปากเป่า และ ลิ้น
1. การใช้ลิ้น และที่รัดลิ้น ควรใส่ที่รัดลิ้นที่ปากเป่าก่อน และใส่ลิ้นเป็นลำดับต่อไป ซึ่งแทนที่จะใส่ลิ้นก่อนที่รัดลิ้น จะเป็นการป้องกันลิ้นแตกจากการกระทบของที่รัดลิ้นเวลาสวมลงมาที่ปากเป่า
2. ใส่ฝาครอบที่เป่าทุกครั้งเมื่อไม่ได้เล่น เพื่อป้องกันปากเป่า และลิ้นเสียหาย (ควรทำให้ติดเป็นนิสัยจนเกิดความเคยชิน)
3. ควรไขน็อตสกรูที่รัดลิ้น ให้หลวมไว้เล็กน้อย เมื่อจะเก็บเครื่องดนตรีหลังจากที่เลิกปฏิบัติแล้ว
4. ควรเก็บลิ้นไว้ในกล่องที่ปิดได้สนิท
การซ่อมและบำรุงเครื่องดนตรี
1. อย่าเปลี่ยนนวมใหม่โดยวิธีใช้ความร้อน ลนที่ฝานวม ปิด เปิด เพื่อให้กาวหรือแชลแล็คละลายออก
2. เมื่อข้อต่อต่างๆต้องซ่อมโดยเปลี่ยนไม้ก๊อกใหม่ ต้องนำเครื่องมือไปให้ช่างทุกชิ้นส่วน จะได้ปรับให้เข้ากับส่วนที่จะปรับข้อต่อนั้นๆ เช่น จะซ่อมปากเป่าก็ต้องนำ Barrel ไปด้วย


























แบบฟอร์มตรวจสภาพคลาริเน็ต แซกโซโฟน

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน.............................. ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กระเดื่องนิ้ว
1.1 งอ หัก (โดยเฉพาะข้อต่อต่าง ๆ)
1.2 ส่วนที่มีน็อต (อยู่ครบ)
1.3 การทำงานทั่วไป (ไม่ฝืด ติดขัด คล่องตัว)
1.4 ไม้ก๊อก (สภาพดีครบทุกส่วน)
1.5 มีเสียงดังเมื่อกดกระเดื่องเนื่องจากไม้ก๊อกหลุดหาย
1.6 เข็ม สปริง (ทำงานปกติ อยู่ครบ)
2 ลำตัว
2.1 มีรอยแตก (สภาพทั่วไป)
2.2 รอยบิ่นในร่องนิ้วบังคับเสียง
2.3 ความสะอาดในส่วนนิ้วบังคับเสียง
2.4 ข้อต่อต่าง ๆ (แตก บิ่น หลวม)
2.5 เนื้อไม้ (สำหรับลำตัวที่ทำด้วยไม้ถ้ารู้สึกแห้งต้องเช็ด
ด้วยน้ำมันบาง ๆ
2.6 สภาพไม้ก๊อกของส่วนข้อต่อ
2.7 อื่น ๆ





รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3 นวม
3.1 นวม หลวม หลุด
3.2 สภาพ (ไม่ฉีกขาด แข็งเกินไป อาการหนืดเหนียว
ของนวม
4 กล่อง หีบ
4.1 สลักล็อค
4.2 หูหิ้ว มือถือ
4.3 บานพับ
4.4 ใส่เครื่องมือได้พอดี (ไม่คับ หลวมเกินไป)
4.5 ส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อย (ไม่หลุดออก
มาทำความเสียหายต่อเครื่องดนตรี
4.6 อื่น ๆ







ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......




บาสซูน (Bassoon)
การทำความสะอาดทุกๆ 6 - 8 สัปดาห์
1. ทำความสะอาด Whisper Key Hold (รูเล็กๆ บนท่อเป่า Bocal) ด้วยขนแปลงเล็กๆ
2. ล้างภายในท่อเป่าด้วยน้ำสะอาด
3. ทำความสะอาดรู ปิด เปิด นิ้วบังคับเสียงด้วยแปรงทำความสะอาด (ระวังอย่าให้เสียหายต่อเนื้อไม้)
4. ใช้แปรงขนอย่างดีทำความสะอาด ปัดฝุ่นผงต่างๆออกจากส่วนต่างๆของกระเดื่องนิ้วให้สะอาด
5. ใช้ผ้านุ่มๆ ที่สะอาด เช็ดทำความสะอาดลำตัวของเครื่องดนตรีให้สะอาด
6. ใช้น้ำมันหล่อลื่น หรือวาสลิน ตามระยะเวลาที่กำหนด
7. ใช้แล็คเกอร์ หรือยาล้างเล็บทาที่เชือกพันโคนลิ้นไว้
การรักษาเนื้อไม้ของเครื่องดนตรี
ในท่อของบาสซูนไม่จำเป็นต้องใช้ยาขัดพื้นอย่างดีเหมือนกับปี่คลาริเน็ต โอโบ และคอร์ อังเกลส์ เพราะโดยปกติทางโรงงานได้เคลือบยากันชื้นมาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามต้องระวังโดยการเทน้ำลายจากท่อต่างๆออกให้หมด หลังเลิกปฏิบัติเครื่องมือแล้วทุกครั้ง













แบบฟอร์มตรวจสภาพ บาสซูน

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน...............................ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 ท่อเป่า
1.1 Bocal
1.2 ไม้ก๊อก (พอดี, หลวม)
1.3 ความสะอาด
1.4 ลิ้น
1.5 อื่น ๆ
2 ลำตัว
2.1 มีรอยแตกส่วนใด ๆ บ้างหรือไม่
2.2 รอยบิ่นในร่องนิ้วบังคับเสียง
2.3 ความสะอาดตามลำตัว
2.4 ข้อต่อต่าง ๆ (ไม้ก๊อกแตก, บิ่น, หลวม, พอดี)
2.5 ที่พักวางนิ้วหัวแม่มือ (หลวม)
2.6 ความสะอาดตามร่องนิ้วบังคับเสียง
2.7 สภาพไม้ก๊อกของส่วนข้อต่อ
2.8 เนื้อไม้ (รู้สึกแห้งต้องเช็ดด้วยน้ำมันบาง ๆ)
2.9 อื่น ๆ




รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3 กระเดื่องนิ้ว
1.1 ทั่วไป (งอ, หัก หรือไม่)
1.2 ส่วนที่มีน็อต, สกรู (ครบ, สะอาด, หล่อลื่น)
1.3 สายรัด (ครบหรือไม่)
1.4 ไม้ก๊อก (สภาพดี, ครบทุกส่วน)
1.5 มีเสียงดังเมื่อกดกระเดื่อง เนื่องจากไม้ก๊อกหลุดหาย
1.6 เข็มสปริง (ครบ, ทำงานปกติ)
4 นวม
4.1 จำนวน (อยู่ครบหรือไม่)
4.2 สภาพทั่วไป (พอดีไม่หลวม, คับ, ฉีกขาด,เปื่อยหรือ
เหนียวหนืด)
4.3 อื่น ๆ
5 กล่อง, หีบ
5.1 สลักล็อค
5.2 หูหิ้ว, มือถือ
5.3 บานพับ
5.4 เครื่องมือใส่กล่องได้พอดี (ไม่คับ, หลวมเกินไป)
5.5 ส่วนที่เก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อย ไม่หลุดออกมาทำ
ความเสียหายกับเครื่องดนตรี


ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......

เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) ชนิด Rotary Valve
ฮอร์น (Horn) ทูบา (Tuba) ทรอมโบน (Trombone)
การทำความสะอาดประจำสัปดาห์
1. ใช้น้ำสะอาดกรอกผ่านตัวแตร และให้กดลูกสูบเพื่อให้น้ำผ่านท่อเลื่อนของแต่ละลูกสูบด้วย ซึ่งจะทำให้สิ่งสกปรก เศษผง เศษอาหารต่างๆซึ่งอาจติดอยู่ภายในเครื่องดนตรีหลุดออก ไป
2. ถอดท่อสไลด์ต่างๆเทน้ำออกให้หมด และเช็ดให้แห้ง
3. ทาวาสลินบางๆ บนท่อสไลด์ และใส่กลับเข้าที่เดิมอย่างระมัดระวัง โดยกดนิ้วลูกสูบที่เกี่ยวเนื่องกับท่อสไลด์นั้นไว้ด้วย
การบำรุงรักษาทุก 6 - 8 สัปดาห์
1. ถอดท่อสไลด์ และกำพวด แช่ลงในน้ำสบู่ค่อนข้างอุ่น
2. ทำความสะอาดท่อสไลด์โดยใช้น้ำสบู่อุ่นๆ ใส่ประมาณครึ่งของท่อเขย่าสักครู่
3. ล้างท่อลมสไลด์ด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
4. ทาวาสลินที่ท่อลมสไลด์อย่างบางๆให้ทั่วก่อนที่จะใส่กลับเข้าที่เดิม
5. ทำความสะอาดกำพวด ทั้งด้านนอกและด้านใน ล้างให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาวาสลินบางๆที่ปลายกำพวด เพื่อป้องกันการติดขัดเมื่อถอดกำพวด
การใช้น้ำมัน และ วาสลิน
ส่วนต่าง ๆ การใช้
ส่วนปลายกำพวด ทาวาสลินบางๆ
ท่อลมสไลด์ ทาวาสลินบางๆ
สปริงส่วนที่ติดกับวาวล์ หยอดน้ำมันบางๆ
สำหรับฮอร์นบางชนิดไม่มีที่ปล่อยน้ำลาย จะต้องถอดท่อลมสไลด์เพื่อเทน้ำลายออกบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องระมัดระวังดูแลท่อลมสไลด์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ และเมื่อวาวล์ติดขัดให้หยอดน้ำมันสำหรับวาวล์โดยเฉพาะ


ลูกสูบ และ ท่อสไลด์
ลูกสูบของทุกๆเครื่องมือเป็นจุดที่ละเอียดอ่อน ซึ่งสามารถเสียได้โดยง่ายถ้าใช้โดยไม่ถูกวิธี ซ่อมยากและค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงมาก ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้
1. การหยิบยกเครื่องมือ ให้จับส่วนที่เป็นท่อที่ใหญ่ และแข็งแรง อย่าหยิบยกโดยจับส่วนที่เป็นท่อสไลด์
2. การวางเครื่องมือ ให้กระเดื่องนิ้วอยู่ด้านบนเสมอ และระวังอย่าให้ลำโพงอยู่ใกล้ของแข็งที่อาจจะเกิดความเสียหายได้
ลำโพง (เครื่องดนตรีที่ถอดลำโพงได้)
เมื่อถอดลำโพงออกจากตัวเครื่องดนตรี ต้องแน่ใจว่าหมุนเกลียวออกหมดแล้ว และให้หมั่นทาวาสลินในส่วนที่เป็นเกลียวอยู่เสมอ
การซ่อม
การซ่อมต้องให้ผู้ชำนาญโดยตรง และใช้เครื่องมือซ่อมได้อย่างชำนาญ ซ่อมอย่างถูกวิธี
มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาที่อาจแก้ไขไม่ได้
ข้อควรปฏิบัติ
1. ถ้ากำพวดติดกับแตร อย่าหักโหมโดยใช้กำลังถอดออก ถ้าไม่สามารถทำได้ต้องส่งช่างซ่อม อย่าใช้คีมคีบกำพวดเพื่อดึงออกเป็นอันขาด
2. ระมัดระวังส่วนที่เป็นท่อสไลด์ ถ้าติดขัดไม่สามารถถอดออกได้ให้ส่งเครื่องมือให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีโดยตรงทำการซ่อม
3. เมื่อฝาลูกสูบ และลูกสูบเป็นสนิม ควรให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีทำการแก้ไข
4. การเปลี่ยนส่วนที่เป็นไม้ก๊อก สักหลาด ควรให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อความถูกต้องและพอดี
5. ถ้าปฏิบัติได้ตามข้อแนะนำในการบำรุงรักษาแล้ว จะไม่เกิดเหตุต่างๆ เช่น กำพวดติดท่อสไลด์ติดขัด ฝาปิดลูกสูบและตัวลูกสูบเป็นสนิม เป็นต้น
การทำความสะอาดเครื่องดนตรีวาวล์ ชนิดหมุน (Rotary Valve)
1. ข้อควรจำก่อนทำความสะอาด
1) อย่าถอดวาวล์ลูกสูบออก
2) อย่าใส่ไม้ก๊อกเพิ่มเติมจากของเดิมที่มีอยู่

3) ไม่ควรใส่สายเชือกโยงกระเดื่องนิ้วเอง
3. เมื่อจะถอด เลื่อนท่อสไลด์ใดๆต้องกดกระเดื่องนิ้วที่เกี่ยวเนื่องกับท่อสไลด์นั้นไว้ทุกครั้ง
4. เมื่อจะทำความสะอาดภายในท่อลมสไลด์ ไม่ควรใช้เชือกถ่วงน้ำหนักข้างหนึ่งกับผ้า (แบบที่ใช้ทำความสะอาดในลำตัวของปี่) อย่าพยายามดัน หรือ ยัด อุปกรณ์ทำความสะอาดใดๆลงในท่อสไลด์เพื่อทำความสะอาด นอกจากผู้ชำนาญจริงๆและควรปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้
1) สำหรับฮอร์น ควรระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีท่อที่ขนาดเล็กกว่าเครื่อง ดนตรีชนิดอื่นๆ
2) อย่าใช้ยาขัดโลหะขัดส่วนที่เคลือบแล็คเกอร์ไว้ ในการทำความสะอาดภายนอก
3) ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องดนตรีติดขัดโดยต้องใช้แรงมากๆ แสดงว่าควรส่งให้ช่างซ่อมเครื่องดนตรีดำเนินการแก้ไข
4) หลังจากนำเครื่องดนตรีออกมาปฏิบัติเสร็จแล้ว ต้องเทน้ำลายออกให้หมดก่อนนำเข้าเก็บเสมอ
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่จำเป็นสำหรับเครื่องทองเหลือง
1. เศษผ้าสะอาด
2. แปรงปลายขนพร้อมกับสายที่อ่อนตัวได้ ขนาดเหมาะกับเครื่องดนตรีแต่ละประเภท
3. น้ำมันหล่อลื่นสำหรับลูกสูบ วาวล์
4. วาสลิน ทาข้อต่อ ท่อสไลด์ต่างๆ








แบบฟอร์มตรวจสภาพ เครื่องทองเหลือง ชนิด Rotary Valve

ชื่อ.............................………………เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน...............................ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กำพวด
1.1 ความสะอาดภายใน - ภายนอก
1.2 ความเรียบร้อยส่วนท่อ (บุบ, บิด, งอ)
1.3 ส่วนปลายกำพวด (บุบ, ย่น)
1.4 อื่น ๆ
2 ท่อลมสไลด์
2.1 ติดขัด หรือไม่
2.2 การทาวาสลิน
2.3 ที่ปล่อยน้ำลาย (ปิดสนิท)
2.4 สปริงที่ปล่อยน้ำลาย
2.5 ไม้ก๊อกที่ปล่อยน้ำลายทิ้ง
2.6 รอยบุบ, ขีด, ข่วน, งอ
2.7 อื่น ๆ
3 ลูกสูบ
3.1 สภาพการทำงานของลูกสูบทั้งหมด
3.2 การทำงาน (คล่องไม่สะดุด)
3.3 กระเดื่องนิ้วอยู่ในระดับเดียวกัน
3.4 ฝาเกลียวปิดวาวล์ (ทำงานไม่ปกติ)
3.5 แรงดัน ดึงของสปริง (เท่ากัน)
3.6 อื่น ๆ


รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
4 กล่อง
4.1 ความเรียบร้อย - กุญแจ
4.2 ความเรียบร้อย - สลักต่าง ๆ
4.3 ความเรียบร้อย - บานพับ
4.4 ความเรียบร้อย - มือถือ
4.5 ความเรียบร้อย - หูหิ้ว
4.6 ความพอดีของช่องใส่เครื่องมือ (คับ, หลวม)
4.7 ส่วนที่เก็บของใช้ ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ (ไม่หลวม
หลุดออกมาทำความเสียหายแก่ส่วนอื่น ๆ)
5 ทั่ว ๆ ไป
5.1 รอยบุบ, งอ, ขีดข่วน ที่ต่าง ๆ
5.2 ส่วนที่ยึดระหว่างส่วนต่าง ๆ
5.3 น็อตขันคันคีบโน้ต
5.4 ความสะอาดทั่วไปภายใน - ภายนอก
5.5 อื่น ๆ






ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......


เครื่องทองเหลือง (Brass Instrument) ชนิดลูกสูบ (Valve)
ทรัมเป็ต (Trumpet), คอร์เน็ต (Cornet), บาริโทน (Baritone), ยูโฟเนียม (Euphonium) ทูบา (Tuba)
การทำความสะอาดเครื่องมือประเภทลูกสูบ
ข้อควรจำก่อนทำความสะอาด
1. ระวังอย่าทำลูกสูบตกหรือกระแทกกับของแข็ง จะทำให้บุบ งอ โดยง่ายเพราะข้างในลูกสูบมีสภาพกลวงทำการซ่อมยาก และอะไหล่มีราคาแพง
2. ก่อนถอดลูกสูบออกให้แน่ใจว่าจะต้องนำกลับมาใส่ในที่เดิมได้ถูกต้อง เพราะลูกสูบไม่สามารถที่จะสลับกันได้ ถ้านำมาใส่ผิดช่องก็ให้นำกลับมาใส่ให้ถูกต้องตามเดิม
3. ตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกสูบที่ใส่ลงไปนั้น ถูกทิศทางที่ถูกต้องก่อนปิดฝาด้านบน
4. ใช้ผ้าพันอุปกรณ์ที่จะทำความสะอาด ในกระบอกลูกสูบให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันความเสียหายของกระบอกสูบ ที่จะเกิดการเสียดสีกับตัวกระบอกสูบ
5. ระวังขนของผ้าที่ใช้ทำความสะอาด อาจจะติดค้างอยู่ภายใน ควรใช้ผ้านุ่มๆที่ไม่มีขนจะดีกว่า
6. ก่อนที่จะถอดหรือเลื่อนข้อสไลด์เลื่อน ให้กดนิ้วลูกสูบที่เกี่ยวข้องกับท่อสไลด์นั้นๆก่อน
7. เมื่อจะทำความสะอาดภายในท่อ ไม่ควรใช้เชือกถ่วงน้ำหนักกับผ้า (แบบที่ใช้ทำความสะอาดในลำตัวของปี่) อย่าพยายามดัน หรือ ยัด สิ่งของใด ๆ ลงในท่อสไลด์เพื่อทำความสะอาด นอกจากผู้ที่มีความชำนาญจริง ๆ แต่ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำที่จะกล่าวต่อไป
8. อย่าใช้ยาขัดโลหะขัดส่วนที่เคลือบแล็คเกอร์ ด้านนอกของเครื่องดนตรี
9. ถ้าส่วนใดๆติดขัดต้องใช้แรงมากๆ เป็นเครื่องแสดงว่าเครื่องมือควรส่งเข้ารับการตรวจซ่อม และแก้ไขจากช่างโดยตรง
10. ภายหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติให้ทำความสะอาด และเทน้ำลายออกให้หมดทุกครั้ง
การบำรุงรักษาทุกสัปดาห์
1. ใช้น้ำสะอาดกรอกผ่านตัวแตร และให้กดลูกสูบเพื่อให้น้ำผ่านท่อเลื่อนของแต่ละลูกสูบด้วย การทำเช่นนี้จะทำให้ป้องกันการสะสมของเศษอาหาร เศษผงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในเครื่องดนตรี
2. ถอดข้อต่อต่างๆ เทน้ำออกให้หมดและเช็ดให้แห้ง
3. ทาวาสลินอย่างบางๆ บนท่อสไลด์ และใส่กลับที่เดิม
การบำรุงรักษาทุก ๆ 6 - 8 สัปดาห์
1. ถอดลูกสูบ และท่อสไลด์ กำพวด แช่ลงในน้ำค่อนข้างอุ่นผสมสบู่อ่อนๆ
2. ล้างภายในกระบอกสูบ และล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
3. ล้างลูกสูบ ล้างด้วยน้ำสะอาด ส่วนท่อสไลด์และกำพวดให้แช่น้ำสบู่ไว้ก่อน เช็ดลูกสูบให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
4. หยอดน้ำมันอย่างดีๆที่สำหรับใช้กับลูกสูบ และใส่ลูกสูบเข้าที่เดิม
5. ทำความสะอาดท่อสไลด์ โดยใส่น้ำสบู่ลงในท่อประมาณ 1/2 ของท่อ และเขย่าไปมาสักครู่ (หรือใช้แปรงปลายขนที่ต่อกับสายอ่อนตัวได้ ตามขนาดของท่อสไลด์นั้นๆ สอดเข้าไปทำความสะอาด)
6. ล้างท่อสไลด์ด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง
7. ทาวาสลินบางๆบริเวณส่วนของท่อสไลด์ และสวมต่อท่อสไลด์ทีละข้างเลื่อนเข้าออกพร้อมกับหมุนเล็กน้อย 2 - 3 ครั้ง แล้วจึงใส่เข้าที่เดิมทั้งสองข้างพร้อมกัน และเช็ดวาสลินที่ล้นออกมาจากท่อสไลด์
8. ล้างทำความสะอาดกำพวด ทั้งภายในและภายนอก ล้างน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง
การใช้น้ำมัน และ วาสลิน
ส่วนต่าง ๆ การใช้
ส่วนปลายกำพวด ทาวาสลินบางๆ
เกลียวฝาปิดกระบอกสูบ (ด้านบน - ล่าง) ทาวาสลินบางๆ
ลูกสูบ หยอดน้ำมันลูกสูบบางๆ
ท่อสไลด์ทั้งหมด ทาวาสลินบางๆ
ข้อต่อลำโพงที่ถอดได้ ทาวาสลินบางๆ
สปริงที่ปล่อยน้ำลาย หยอดน้ำมันบางๆ
กำพวด
1. เมื่อใส่กำพวดเข้ากับตัวแตรต้องใส่อย่างระมัดระวังและหมุนเบาๆ การกระแทกกำพวดเข้ากับตัวแตรจนเป็นนิสัยจะเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย ทั้งกำพวดและตัวแตร
2. ให้ถอดกำพวดหลังจากเลิกปฏิบัติทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดขัดของกำพวด



แบบฟอร์มตรวจสภาพ เครื่องทองเหลือง ชนิด ลูกสูบ (Valve)

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน.............................. ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กำพวด
1.1 ความสะอาดภายใน - ภายนอก
1.2 ความเรียบร้อยส่วนท่อ (บุบ, บิด, งอ)
1.3 ส่วนปลายกำพวด (บุบ, ย่น)
1.4 อื่น ๆ
2 ท่อลมสไลด์
2.1 ติดขัด หรือไม่
2.2 การทาวาสลิน เรียบร้อยหรือไม่
2.3 ที่ปล่อยน้ำลาย (ปิดสนิท)
2.4 สปริงที่ปล่อยน้ำลาย
2.5 ไม้ก๊อกที่ปล่อยน้ำลายทิ้ง
2.6 รอยบุบ, ขีด, ข่วน, งอ
2.7 อื่น ๆ
3 ลูกสูบ
3.1 สภาพการทำงานของลูกสูบทั้งหมด ปกติหรือไม่
3.2 การทำงาน (คล่องไม่สะดุด)เมื่อกดและปล่อยลูกสูบ
3.3 กระเดื่องนิ้วอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่
3.4 ฝาเกลียวปิดลูกสูบด้านบนและล่างทำงานปกติหรือไม่



รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3.5 แรงดัน ดึงของสปริง (เท่ากัน) ทุกลูกสูบหรือไม่
3.6 ลูกสูบอยู่ในกระบอกสูบที่ถูกต้อง หรือไม่
4 กล่อง
4.1 ความเรียบร้อย - กุญแจ
4.2 ความเรียบร้อย - สลักต่าง ๆ
4.3 ความเรียบร้อย - บานพับ
4.4 ความเรียบร้อย - มือถือ
4.5 ความเรียบร้อย - หูหิ้ว
4.6 ความพอดีของช่องใส่เครื่องมือ (คับ, หลวม)
4.7 ส่วนที่เก็บของใช้ ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ (ไม่หลวม
หลุดออกมาทำความเสียหายแก่ส่วนอื่น ๆ)
5 ทั่ว ๆ ไป
5.1 รอยบุบ, งอ, ขีดข่วน ที่ต่าง ๆ
5.2 ส่วนที่ยึดระหว่างส่วนต่าง ๆ
5.3 น็อตขันคันคีบโน้ต
5.4 ความสะอาดทั่วไปภายใน - ภายนอก
5.5 อื่น ๆ


ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......




ทรอมโบน (Slide Trombone)
การทำความสะอาดทุกๆสัปดาห์
1. ใส่น้ำสะอาดในท่อ และเลื่อนสไลด์เข้า ออก แล้วเทน้ำออก ถ้าสกปรกมากให้ทำซ้ำอีก 2 - 3 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน) ระวังน้ำจะไหลออก เมื่อเลื่อนข้อสไลด์มาอยู่ในโพลิชั่นที่ 1
2. เช็ดท่อสไลด์ท่อในให้แห้ง ทาครีมสำหรับท่อสไลด์บางๆ ให้ทั่ว และสวมท่อนอกเข้าด้วยกัน เลื่อนเข้า ออก 2 -3 ครั้ง เพื่อให้ครีมกระจายไปทั่วท่อสไลด์ และเช็ดครีมส่วนที่เหลือออกมาให้หมด
3. ถอดท่อส่วนที่ใช้เทียบเสียงออก และเช็ดให้แห้ง ทาวาสลินบางๆ ให้ทั่วสวมเข้าที่เดิม และเช็ดวาสลินส่วนที่ล้นออกมาให้หมด
การทำความสะอาดทุก ๆ 6 - 8 สัปดาห์
1. ใช้น้ำผสมสบู่อ่อนๆ ใส่ลงในเครื่องมือ เลื่อนท่อสไลด์ เข้า ออก ให้น้ำไหลผ่านตลอดท่อสไลด์
2. ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้ง
3. แช่กำพวดลงในน้ำสบู่อ่อนๆ
4. เช็ดท่อสไลด์ท่อในให้แห้ง โดย
1) ทาด้วยครีมสำหรับท่อสไลด์บางๆ ให้ทั่ว
2) เลื่อนท่อสไลด์เข้า - ออก 2 - 3 ครั้ง ให้ครีมกระจายให้ทั่ว
3) เช็ดครีมส่วนที่ล้นออกมาให้หมด
5. ถอดท่อเทียบเสียงออกมาเทน้ำสบู่อ่อนลงไปครึ่งหนึ่งของท่อ และเขย่าไปมาสักครู่
6. ล้างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง
7. ทาวาสลินบางๆใส่ทีละข้างและเลื่อนเข้า ออก และหมุนไปด้านข้างเล็กน้อยขณะเลื่อนเข้าออก เช็ดวาสลินส่วนที่ล้นออกมาให้หมด
8. ทำความสะอาดกำพวด ทั้งด้านใน นอก ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
9. สำหรับ “เบสทรอมโบน” ก็ปฏิบัติลักษณะเดียวกัน อย่าถอดวาวล์หรือลูกสูบออก แต่ให้หยอดน้ำมันอยู่เสมอ



แบบฟอร์มตรวจสภาพ ทรอมโบน (Slide Trombone)

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน...............................ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 กำพวด
1.1 ความสะอาดภายใน - ภายนอก
1.2 ส่วนปลายมีรอยบุบ, ย่น หรือไม่
1.3 มีรอยลอกจนต้องชุบใหม่หรือไม่
1.4 บริเวณขอบกำพวดมีรอยแหว่งหรือไม่
1.5 อื่น ๆ
2 ท่อเทียบเสียง
2.1 ท่อสไลด์ใช้งานปกติหรือไม่
2.2 ทาวาสลินเพียงพอหรือไม่
2.3 มีรอยบุบ, งอ ในที่ต่าง ๆ หรือไม่
3. ข้อสไลด์
3.1 ใช้งานได้ปกติหรือไม่
3.2 มีอาการสะดุดเมื่อใช้งานหรือไม่
3.3 ท่อปล่อยน้ำลาย (สปริง, ไม้ก๊อก)
3.4 ที่ล็อคสไลด์ใช้งานได้ปกติหรือไม่
3.5 มีรอยลอกของการชุบท่อสไลด์หรือไม่
3.6 ความสะอาดภายในและนอกท่อ




รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
4 ทั่วไป
4.1 รอยบุบ, ขีดข่วน, งอ
4.2 ข้อยึดระหว่างท่อต่าง ๆ
4.3 ความสะอาดทั่วไป
4.4 น็อตที่ขันคันคีบโน้ต อยู่ครบหรือไม่
4.5 ความสะอาด สิ่งแปลกปลอม เศษผงต่าง ๆ ในกำพวด
4.6 น็อตขันตัวขอสำหรับเกี่ยวนิ้ว
4.7 อื่น ๆ
5 กล่อง
5.1 ความเรียบร้อยของ
- กุญแจ
- สลักต่าง ๆ
- มือถือ, หูหิ้ว
- บานพับ
5.2 ความพอดีของช่องใส่เครื่องมือ (ไม่คับ, หลวมเกิน)
5.3 ส่วนที่เก็บของที่ใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่หลวมหลุดออก
มาทำความเสียหายกับส่วนอื่นๆ
5.4 อื่น ๆ


ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......



เครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)
กลองเล็ก (Snare Drum) กลองเทเนอร์ (Tenor Drum) กลองใหญ่ (Bass Drum)
ข้อควรระวัง
1. ส่วนที่เป็นน็อตสกรู ควรทาวาสลินอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และติดขัด
2. สปริง สแนร์ ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ และใช้น้ำมันทาไว้บางๆ
3. การทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะ ให้ใช้ยาขัดเฉพาะให้ตรงกับชนิดโลหะนั้นๆ
4. ส่วนที่เป็นเนื้อไม้ ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาดอยู่เสมอ
5. อย่าให้กระเดื่องเปียกชื้น หรือในห้องที่มีอากาศ อบ ร้อน
6. ถ้ามีส่วนใดติดขัดจนรู้สึกว่าต้องใช้แรงหมุน ถอด ควรส่งช่างซ่อมทันที
การทำความสะอาดหลังจากเลิกปฏิบัติทุกครั้ง
1. เช็ดรอยนิ้วมือ เหงื่อ ความชื้นจากส่วนที่เป็นโลหะ และตามลำตัวของเครื่องดนตรีออกให้สะอาด
2. ผ่อนความตึงของหนังกลอง เมื่อเลิกปฏิบัติทุกครั้ง และเช็ดคราบต่างๆออกให้สะอาด
การทำความสะอาดทุกๆสัปดาห์
1. เช็ดทุกส่วนให้สะอาดด้วยผ้านุ่มๆ
2. ทาวาสลินบางๆบริเวณน็อต สกรู ต่างๆให้ทั่วเพื่อเป็นการป้องกันสนิม
3. ถ้าหนังกลองมีคราบดำสกปรกให้ใช้น้ำสบู่อ่อน ๆ เช็ดออกให้สะอาด
กล่อง หีบ ห่อ
กล่อง หีบ ห่อ เป็นส่วนที่ป้องกันความเสียหายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องดนตรีได้ จึงควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรพอดีกับเครื่องมือไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันการกระทบกันระหว่างชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องมือ
2. ไม้ตีกลอง สายสะพาย ควรอยู่ในช่องที่เก็บโดยเฉพาะอย่างเรียบร้อย ที่แน่ใจว่าจะหลุดออกมากระทบกับเครื่องดนตรี เมื่อจะเคลื่อนย้าย ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายได้
3. อย่าใส่สิ่งของต่างๆไว้จนแน่นกล่องเครื่องมือเพราะเมื่อปิดกล่องจะทำให้ ฝากล่องกดอัดกับเครื่องมือทำให้เสียหายได้


การเคลื่อนย้าย
1. เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องดนตรีจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง หรือนำไปที่ใดๆก็ตามต้องใส่กล่องให้เรียบร้อยทุกครั้ง ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องดนตรีได้
2. ก่อนหยิบ ยกกล่องที่มีเครื่องดนตรีบรรจุอยู่ต้องตรวจสอบ ล็อคสลักและกุญแจให้แน่ใจก่อนว่าปิดอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ไม่หลุดออกเมื่อหยิบยกหรือเคลื่อนย้ายไป





















แบบฟอร์มตรวจสภาพ กลองเล็ก กลองเทเนอร์ และกลองใหญ่

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน.............................. ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1 หนังกลองทั้ง 2 ด้าน
1.1 แตกหรือไม่
1.2 รอยขีด ข่วน ต่างๆ
1.3 ความสะอาด
1.4 มีเสียงผิดปกติ หรือไม่
1.5 ความขึงตึงของหนังกลองที่ถูกต้อง
1.6 ระดับเสียงทุกจุดที่น็อตยึดขอบกลอง
1.7 อื่นๆ
2. ตัวกลอง
2.1 น็อต ตัวยึดสกรู ต่างๆ (อยู่ครบหรือไม่)
2.2 น็อต ตัวยึดสกรู ต่างๆ (หลุดหลวมหรือไม่)
2.3 น็อต ตัวยึดสกรู ต่าง ๆ (สภาพปกติ)
2.4 สภาพทั่วไปของหนังกลอง
2.5ชุดเครื่องขึง ปล่อยสแนร์ ทำงานได้ปกติ หรือไม่ 2.6 อื่นๆ






รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
3. สแนร์
3.1 สายสแนร์ทุกสาย คด, งอ, ขาดหาย หรือไม่
3.2 สายสแนร์ทุกสาย ขึงอยู่บนหนังกลองเสมอกัน หรือไม่
4 ทั่วๆไป
4.1 เก็บกลองอยู่ในที่เหมาะสม ไม่ถูกแดดส่อง อากาศไม่
ชื้น
4.2 อากาศไม่ร้อนอบมากเกินไป
4.3 ถุงใส่กลองอยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ (ป้องกัน
ฝุ่นความเสียหายจากเหตุอื่นๆ ได้)
4.4 ที่วางกลอง (แสตนด์) อยู่ในสภาพที่ดี
4.5 หัวยางป้องกันส่วนต่าง ๆ
4.6 ไม้ตี
4.7 กุญแจไขตั้งหนังกลอง


ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......









แบบฟอร์มตรวจสภาพ ทิมปานี (Timpani)

ชื่อ.............................…………….เครื่องดนตรี.....………….....สี......……....หมายเลขเครื่อง............…….หมายเลขทะเบียน.............................. ประเทศที่ผลิต........................กลุ่มซ้อมที่.....อื่น ๆ...........................….

รายการตรวจสภาพ สภาพ หมายเหตุ
ดี ต้องแก้ไข
1. หนังกลองแตกหรือไม่
2. มีรอยขีดข่วนต่างๆบนหนังกลองหรือไม่
3. การขึงตึงระหว่างหนังกลองกับขอเกี่ยวยึดที่ตัวกลอง
4.. ความสะอาดของหนังกลอง
5. ขอเกี่ยวอยู่ในระดับเดียวกัน
6. ขอบของหนังกลองอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อขึงตึงอย่างน้อย
1/2 นิ้ว
7. มีเสียงผิดปกติเนื่องจากจุดที่ขึงตึงเกินไปหรือหย่อนเกิน
ไปหรือไม่
8 ลำตัวกลอง ขอเกี่ยวทุกตัวอยู่ครบ หรือไม่
9 แพดเดิลทำงานปกติ
10 แพดเดิล ไม่เกิดเสียงดัง เมื่อกดขึ้น ลง
11 ลูกล้อเลื่อนทำงานได้ปกติไม่ติดขัด
12 กุญแจสำหรับไขตั้งหนังกลอง
13 ถุงคลุม และแผ่นรองหนังกลอง

ผู้ตรวจ..............................…………....
(………………………………)
...../............./.......



การวางเครื่องดนตรี
การวางเครื่องดนตรีถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างหนึ่งของผู้ฝึก ในขณะที่พักการฝึกซ้อมและต้องไปทำภารกิจอื่น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางเครื่องดนตรี ซึ่งขอเสนอแนะวิธีการ 3วิธี เพื่อให้เครื่องดนตรีมีความปลอดภัยมากที่สุด คือ การวางในที่วางโดยเฉพาะเครื่อง การวางบนกล่องเครื่องดนตรี และการวางในพื้นเรียบ
1. การวางในที่วางโดยเฉพาะเครื่อง ในกรณีนี้น่าจะเหมาะกับหน่วยงานที่มีงบประมาณมากเพราะสินค้ามีราคาแพง ด้านการรักษาเครื่องดนตรีจัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แต่ในด้านความปลอดภัยจากสาเหตุต่างๆ น่าจะเป็นอันตรายมากที่สุด
2. การวางบนกล่องเครื่องดนตรี วิธีนี้ใช้กันโดยทั่วไป แต่ให้ข้อสังเกตว่าถ้าไม่มีกล่องในขณะนั้นๆ ก็ให้เลือกวิธีที่ 3 เป็นดีที่สุด
3. การวางในพื้นเรียบ เป็นวิธีที่ทำกันโดยทั่วไป ไม่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดแต่ต้องใช้วิธีนี้เพราะไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้
การวางในแบบที่ 2 และที่ 3 มีวิธีการวางที่เป็นแบบเดียวกันแต่ต่างกันที่พื้นที่ในการวางเท่านั้น หลักการวางไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ควรรูปแบบของเครื่องดนตรีเพราะอาจเปลี่ยนไปได้ตามยุคสมัย โดยมีหลักว่าการวางเครื่องดนตรีนั้นต้องให้ส่วนของเครื่องดนตรีสัมผัสพื้นที่วางให้น้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการวางด้านที่มีกลไกกระเดื่องกระทบพื้นเด็ดขาด แต่ในอดีตที่ผ่านมาครูผู้สอนมักบอกว่า “การวางคือการคว่ำเครื่องดนตรีลงอย่าหงายเพราะจะทำให้ท่อลมบุบ” แต่ยุคปัจจุบันการกล่าวรวมเช่นนี้ไม่สามารถทำได้กับเครื่องดนตรีทุกชิ้น เนื่องจากกลไกต่างๆเปลี่ยนรูปแบบไป จึงควรพิจารณาเป็นเครื่องๆไป แต่ก็ต้องเน้นให้มากว่า “เครื่องดนตรีควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้น ถ้าจำเป็นก็ให้น้อยที่สุด”
การวางเครื่องดนตรีที่กล่าวมาไม่ว่าจะวางเครื่องดนตรีแบบใดก็ตาม ถือว่าไม่เกิดความปลอดภัยทั้งสิ้นถ้าหากผู้ฝึกไม่มีความระมัดระวัง










การวางเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องลมไม้
ตัวอย่าง การวางเครื่องไว้บนกล่อง หรือบนพื้น ต้องให้ส่วนที่เป็นกลไกต่างๆอยู่ด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้ระเดื่องและกลไกกระทบพื้นที่วาง ซึ่งอาจเป็นอันตรายที่ก่อให้เกิดความเสียต่อเครื่องดนตรีได้

1 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดเลยครับ ทำให้ผมมีแนวทางสอบไฟนอล ผ่านแน่เลยครับ

    ตอบลบ